สคน. เผย 3 เหตุผล ภาวะเงินฝืดยังมีโอกาสน้อยที่จะเกิดในไทย

สืบเนื่องจากเหตุการณ์วิกฤต รัสเซีย-ยูเครน ที่บานปลายสู่สงครามทางการทหารระหว่างสองประเทศ และสงครามเศรษฐกิจระหว่างนานาชาติที่เข้าแซงชั่นรัสเซีย จนตลาดสินทรัพย์ทั่วโลกปั่นป่วน ในขณะที่คอมโมดิตี้ พลังงาน และน้ำมันโลกพุ่งทะยาน สร้างความกังวลต่อประชาชนไทยว่าอาจได้รับผลกระทบนำไปสู่เศรษฐกิจภายในประเทศถดถอย และภาวะเงินฝืด หรือ Stagflation




คุณอาจสนใจ

ความกังนี้ นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. เปิดเผยว่าความกังวลเรื่อง เศรษฐกิจไทยถดถอย ความต้องการสินค้าและบริการลดลง คนกลับไปว่างงาน และเกิดภาวะเงินฝืดนั้น ยังมีโอกาสน้อยที่จะลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย

1. วิกฤต รัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มคลี่คลาย

สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ดูไม่น่ายืดเยื้อจากที่มีรายงานว่าทั้ง 2 ประเทศมีความพยายามที่จะนัดเจรจาอยู่เรื่อย ๆ แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่อย่างน้อยก็แสดงความต้องการที่จะเจรจาให้เห็น ในขณะที่สหรัฐอเมริกาก็ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่เข้าร่วมสงครามนี้ จึงเล็งเห็นว่า สงคราม รัสเซีย-ยูเครน จะไม่บานปลานเป็น สงครามโลกครั้งที่ 3

2. อัตราการว่างงานในไทยลดลง

ตัวเลข ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม เป็นหนึ่งในตัวเลขที่ภาครัฐใช้ประเมินจำนวนผู้ว่างงานของประเทศ พบว่า สถานการณ์การว่างงาน เดือน ต.ค. 2563 มีคนไทยว่างงานจำนวน 491,662 คน ซึ่งสอดคล้องกับช่วงโควิดระบาดอย่างรุนแรง ในขณะที่เดือน ต.ค. 2564 มีผู้ว่างงานจำนวน 281,820 คน ลดลง -42.68% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2563

ที่มา กลุ่มงานนโยบายเศรษฐกิจแรงงานมหาภาค


3. เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น

สนค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 มีโอกาสขยายตัวได้ 3.5-4.5% จากปี 64 ที่ขยายตัว 1.6% จากผลของนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศของภาครัฐ ทั้งการขับเคลื่อนการใช้จ่ายภายในประเทศ การส่งออก และการส่งเสริมการลงทุน ควบคู่กับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และรัฐบาลประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลงตามเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น จากไตรมาสที่ 4 ปี 64 อยู่ที่ 1.64% ลดลงจาก 2.25% ในไตรมาสก่อนหน้า และเฉลี่ยทั้งปี 64 อยู่ที่ 1.93%

ภาพประกอบ: suzukii xingfu from Pexels