คุณ Sheji Ho ประธานบริหารด้านการตลาดกลุ่มบริษัท aCommerce ,ผู้ให้บริการ E-Commerce Solution รายใหญ่ของเอเชีย, ได้วิเคราะห์และมองสถานการณ์ธุรกิจและการตลาดออนไลน์ปี 2018 โดยเฉพาะในแถบเอเชียและเอเชียผ่านทางสื่อทั้ง aCommerce , และ Technode ที่นี่ และ ที่นี่ อย่างน่าติดตาม CEOblog จึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้
เป็นที่ทราบกันดีว่ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นมหาศาลในปี 2017 ที่ผ่านมา และในปีนี้ยังคงจะมีการลงทุนเพิ่มเติมเข้ามาในภูมิภาคนี้กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดมาจากสองทุนใหญ่ที่เป็นคู่แข่งร่วมชาติกัน อย่าง Alibaba และ Tencent ทั้งสองต่างขนเงินจำนวนมหาศาลมาทุ่มตลาดในภูมิภาคนี้ โดยมีเป้าหมายที่ประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย
ส่วนกลุ่มทุนใหญ่จากฝั่งสหรัฐอเมริกา ก็นำโดย Amazon ที่ยึดฐานที่มั่นอยู่ที่สิงคโปร์เพื่อปักหลักชิงพื้นที่ในภูมิภาคอาเซียนนี้ ที่มีประชากรกว่า 600 ล้านคน และมีเป้าหมายการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซที่สูงมาก
ทางฝั่ง Alibaba ในปีนี้จะมีการลงทุนเพิ่มจาก 51% เป็น 83% เพื่อผลักดันให้ สามารถผูกขาดตลาดในอินโดนีเซียให้ได้ เนื่องจากตอนนี้ Alibaba ที่ลงทุนทั้งใน Tokopedia เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ในอินโดนีเซีย และ Alibaba ยังเป็นเจ้าของ เว็บไซต์ Lazada ที่เป็นอันดับ 2 ในอินโดนีเซียด้วย แม้ทั้งสองจะเป็นเว็บคู่แข่งกัน แต่ก็มีเบื้องหลังเป็นอาลีบาบาด้วยกันทั้งคู่ จึงง่ายต่อการผูกขาดตลาดในอินโดนีเซีย
ส่วน Tencent นั้น ต่อสู้ด้วยการลงทุนใน JD.com และ ลงทุนใน Garena (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น SEA) ที่มีทั้งเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee และ เพลตฟอร์มการชำระเงินอย่าง AirPay นอกจากนี้ยังลงทุนใน Go-Jek, Traveloka , Pomelo และ Tiki.vn เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของเวียดนาม และยังมีอีคอมเมิร์ซจากฝั่งเกาหลีใต้ที่ตอนนี้แม้จะถอนการลงทุนออกไปบางส่วนแล้ว แต่ก็ยังคงปักหลักอยู่ในมาเลเซียและไทย โดย SK Planet เจ้าของเว็บไซต์ 11Street ได้ทำการขายเว็บไซต์ Elevenia ในอินโดนีเซีย ให้กับ Salim Group Salim Group
ต่อไปนี้จะเป็น 10 เทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ในปี 2018 นี้ ซึ่งต้องบอกว่าเรากำลังเดินตามรอยประเทศจีนเมื่อ 10 ปีก่อน และกำลังจะถูกนำพาไปสู่ยุคโลกไร้เงินสดอย่างเต็มตัว คำแนะนำเพิ่มเติมต่อจากนี้คือ หากคุณยังไม่เคยเรียรู้ภาษจีน ตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดแล้ว
1. อีคอมเมิร์ซ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเติบโตขึ้นจากการแข่งขันของ 2 ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba และ Tencent โดยเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซท้องถิ่นจะถูกผลักลงไปเป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น
Source: http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-1/
ด้วยความคล้ายคลึงในหลายๆด้านกับประเทศจีนเมื่อ 10 ปี ก่อน ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นชัยภูมิที่สำคัญ ที่ต้องรีบเข้าชิงพื้นที่ให้ได้ จึงไม่น่าแปลกที่ Alibaba และ Tencent ต่างระดมทุกสรรพกำลัง เข้าแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาคนี้ หากประเทศจีนมีประชากร 1 พันล้านคน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีประชากรรวมกันถึง 600 ล้านคน การขยายขอบเขตการลงทุนของจีนลงมาสู่ภูมิภาคนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง
ในปีที่ผ่านมา Alibaba ได้เข้าซื้อกิจการ Lazada อย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้อาลีบาบาได้อาวุธสำคัญ คือฐานข้อมูลของลูกค้าจำวนวนมหาศาลไปครอบครอง และยังนำเงินจำนวน 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปลงทุนใน Tokopedia เว็บไซตือีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ของ อินโดนีเซียอีกด้วย ยิ่งทำให้ฐานข้อมูลลูกค้ามีมากขึ้นไปอีก โดย แจ็ค หม่า หมายมั่นปั้นมือที่จะให้ Lazada และ Tokopedia เป็นเหมือนกับ Tmall และ Taobao ของจีนเลยทีเดียว
ในขณะเดียวกัน Tencent ได้พยายามทำซ้ำในสูตรสามขา ที่เคยประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับอาลีบาบาในจีนมาแล้วจนทำให้ โพนี่ หม่า ก้าวขึ้นเป็นชายที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชียเหนือ แจ็ค หม่า ได้สำเร็จสูตรสามขาก็คือ เกม แชต และการชำระเงิน ซึ่งการลงทุนใน SEA (Garena เดิม) ก็มีโมเดลสามขานี้เช่นกัน แต่เก็น เกม อีคอมเมิร์ซ และการชำระเงินแทน โดย ในปีที่ผ่านมา SEA โฟกัสไปที่ อีคอมเมิร์ซ คือ Shopee เป็นอย่างมาก เพราะชูจุดเด่นให้เป็น โมบายคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบ และลงทุนอัดฉีดงบการตลาดไปเป็นอย่างมาก หวังจะขึ้นมาครองส่วนแบ่งในภูมิภาคอาเซียนให้ได้ แม้จะมีคู่แข่งสำคัญอย่าง Lazada และ Tokopedia ของ Alibaba ก็ตาม
ส่วนเรื่องระบบแชตนั้น Alibaba ไม่มีเพลตฟอร์มที่จะมาแข่งด้วย Tencent ยังคงต้องต่อสู้กับความคุ้นเคยของคนในภูมิภาค อย่างในประเทศไทยก็จะคุ้นชินกับ Line มากที่สุด รองลงมาก็เป็น Facebook Messenger ซึ่งแม้จะเคยส่ง Wechat เข้ามาทำตลาดในไทยแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ในประเทศอื่น อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีการใช้ Wechat และ Wechat Pay อย่างแพร่หลาย อาจจะเป็นเพราะว่าประเทศเหล่านี้มีย่านคนจีนอาศัยอยู่จำนวนมาก
Source: http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-1/
สิ่งที่ Alibaba และ Tencent จะทำในปี 2018 นี้ คือขยายการลงทุนเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพื่อกลืนกินทั้งระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ให้ได้มากที่สุด เพราะหากเชื่อมโยงกันได้สำเร็จ ก็จะสามารถครองตลาดมูลค่ามหาศาลของทั้งภูมิภาคนี้ได้
2. Amazon.com คู่แข่งจากอเมริกาที่น่าจับตามอง
ในขณะที่สองยักษ์ใหญ่จากแดนมังกร ไปเปิดฉากสู้รบกันกลางสนาม ที่อินโดนีเซีย และไทย Amazon กลับขอหลบมุม และเริ่มกลืนกินพื้นที่เล็ก ๆ อย่างสิงคโปร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ทั้งสองมองข้ามไป และกลับกลายเป็นว่าครั้งนี้ Amazon เริ่มต้นได้ดีในภูมิภาคอาเซียน เพราะสามารถเข้าถึงและมัดใจลูกค้าในสิงคโปร์ได้เป็นอย่างดี ชาวสิงคโปร์ให้การต้อนรับ เทรนด์และเทคโนโลยีจากฝั่งอเมริกา ซึ่งสิงคโปร์นั้นถือเป็นประเทศที่มีความเจริญในทุก ๆ ด้าน แม้จะเป็นประเทศที่เล็กเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ทั้งขนาดประเทศและจำนวนประชากร แต่ด้วยเทคโนโลยีของสิงคโปร์ และกำลังซื้อจากฐานประชากร ทำให้ Amazon เร่งขยายการลงทุนไปที่สิงคโปร์เพื่อหวังจะยึดเป็นฐานที่มั่นสำคัญให้ได้
การเข้ามาทำตลาดของ Amazon ในครั้งนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ Alibaba และ Tencent ซึ่งในปี 2018 นี้ Amazon จะลงทุนเพิ่ม อาจจะมีการซื้อเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซท้องถิ่น เพื่อให้เข้าถึงฐานข้อมูลลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
3. เทรนด์ O2O จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
ในขณะที่ห้างค้าปลีกแบบดั้งเดิม เช่น Central ของประเทศไทย หรือ Matahari ของอินโดนีเซีย พร้อมใจกันมุ่งเข้าสู่ออนไลน์ และต้องการกระตุ้นให้ไปใช้จ่ายที่หน้าร้านออฟไลน์
Source: http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-1/
ทางด้าน Pomelo ที่ JD.com ลงทุนไป 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ได้เปิดช็อปป๊อปอัพ ที่ใหญ่ที่สุด ที่สยามสแควร์ ซึงเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ แล้วมาลองชุดจริงๆที่หน้าร้าน ซึ่งสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแบบได้เลยหากไม่พอใจสินค้า หรือทางด้าน UNICOL แบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ก็เปิดให้สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บไซต์แล้วเลือกเดินทางมารับสินค้าในสาขาที่ใกล้ที่สุดได้เลย
เทรนด์ของ O2O คือ Offline to Online นั้น จะมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี 2018 นี้
4. บริษัท สตาร์ทอัพ อีคอมเมิร์ซ จะใช้ ICOs ในการระดมทุนเพื่อต่อสู้กับยักษ์ใหญ่
Source: http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-1/
ในการต่อสู้กับยักษ์ใหญ่ มีตัวอย่างของสตาร์ทอัพ ที่เริ่มต้นก่อตั้งในประเทศไทยที่น่าสนใจอย่าง Omise ที่ใช้ Initial Coin Offerings (ICOs) ในการระดมทุนได้สำเร็จ โดยสามารถระดมทุนได้สูงถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาระบบการรับชำระเงินได้ ถือเป็นสตาร์ทอัพในกลุ่ม Fintech ของไทยที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก
ในปี 2018 นี้ จะมีการะดมทุนในลักษณะนี้อีกมากมาย ซึ่งจะเป็นการโยกสินทรัพย์จาก ICO เข้ามาสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เนื่องจาก การลงทุนผ่าน ICO ไม่มีค่าธรรมเนียมไม่มีค่านายหน้า และหลังจากนี้จะมีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหน้าใหม่ที่จะเติบโตจาก ICOs รวมถึงกลุ่ม fintech ที่จะตามมาอีกมาก หากฟองสบู่ของ Cryptocurrency ไม่แตกไปเสียก่อน
5 กลุ่มอีคอมเมิร์ซท้องถิ่นกลุ่มสุดท้ายจะเริ่มปรับตัวรับมือกับการแข่งขันในตลาดโลกได้
ในปี 2015-2016 มีการล้มหายตายจากของบริษัทอีคอมเมิร์ซมากมายในภูมิภาคนี้ เริ่มจาก Rakuten ที่ขายทุกอย่างแล้วกลับไปที่ญี่ปุ่น รายต่อมาก็คือ Rocket Internet ที่ขาย Zalora ในไทยและเวียดนาม ให้กับกลุ่มเซนทรัล และในฟิลิปปินส์ให้กับกลุ่ม Ayala (แต่ยังคงถือครองในอินโดนีเซียอยู่) (ก่อนหน้านั้นได้ขาย Lazada ทั้งหมดให้กับอาลีบาบาไปแล้ว)
ในประเทศไทยตอนนี้ Ascend Group ที่มี WeLoveShopping และ WeMall ก็กำลังโฟกัสไปที่การทำ Fintech หรือระบบการจ่ายเงินของตนเอง อย่าง Turemonet Turewallet ทางด้าน SK Planet ก็ได้ขายหุ้น Elevenia ให้กับ Salim Group เพื่อนำเงินไปโฟกัสในประเทศไทย ทางด้าน telco Indosat Ooredoo ของอินโดนีเซีย ก็ต้องปิดตัวเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ Cipika ของตนเองลง ส่วน Alfamart ห้างค้าปลีกของอินโดนีเซีย ก็จำเป็นต้องลดขนาดของระบบการดำเนินการลง เพื่อผลักดันอีคอมเมิร์ซของตนเองมากขึ้น
โดยในปี 2018 นี้ เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซท้องถิ่นที่ยังคงเหลือรอดอยู่ จะเริ่มปรับตัวได้และสร้างฐานข้อมูลลูกค้าของตนเองได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากบัตรสมาชิก หรือจากฐานข้อมูลบัตรเครดิตก็ตาม
6. Go-Pay จะเริ่มลงทุนนอกประเทศอินโดนีเซีย ผ่าน SEA Traveloka และ JD เพื่อเป็น Wechat Pay ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Source: http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-2/
อีคอมเมิร์ซในอินโดนีเซียมีรูปแบบการเติบโตคล้ายกับประเทศจีนเมื่อปี 2008 ในช่วงแรกแทบไม่มีใครใช้เพลตฟอร์ม Go-jek และกระเป๋าสตางค์ Go-Pay แต่ถัดมาเพียง 6 เดือน ทุกคนในจาการ์ต้า ก็ใช้ Go-Pay เพื่อโอนเงินแบบ Peer-to-Peer และจ่ายค่าสินค้าและบริการ
เพียงแต่ในภูมิภาคนี้ ผู้คนยังนิยมจับจ่ายด้วยรูปแบบเดิม ๆ ที่ต้องพึ่งพาบัตรเครดิต และ Fintech ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ก็นิยมไปในรูปแบบ Payment Gateway มากกว่า ส่วนการสร้างกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-wallet นั้นก็ยังต้องผูกกับบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต จึงไม่น่าแปลกใจที่รูปแบบการชำระเงินในการซื้อสินค้าออนไลน์ กว่า 70% ยังคงเป็นแบบ COD หรือเก็บเงินปลายทาง
แต่รูปแบบกระเป๋าเงินบนมือถือจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ Go-Pay จะเปิดให้ผู้ใช้สามารถเติมเงินเข้าระบบได้ โดยเติมกับผู้ขับขี่ Go-jek ที่ทำหน้าที่เหมือนตู้เอทีเอ็มเคลื่อนที่ (ซึ่งเมื่อคุณจ่ายเงินสดให้คนขับ Go-jek คนขับก็จะทำการโอนเงินเข้าไปที่ Go-Pay ของคุณ เช่นเดียวกัน คุณสามารถโอนเงิน Go-Pay ให้คนขับ Go-Jek เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เช่นกัน)
แต่คู่แข่งคนสำคัญของ Go-Pay คือ Grab ที่มีฐานผู้ใช้มากถึง 2.5 ล้านคนต่อวัน ทั่วภูมิภาคอาเซียนนี้ ซึ่ง Grab ก็ได้เปิดตัว Grab Pay และพยายามจะนำพาสิงคโปร์เข้าสู่สังคมไร้เงินสดให้ได้
แต่ความน่าสนใจยังอยู่ที่ Go-Jek เนื่องจากได้ Tencent เป็นผู้หนุนหลัง ซึ่งหาก Tencent เปลี่ยนแผนไม่ผลักดัน Wechat Pay แต่ใช้ Go-Pay นำหน้าแทน ก้จะทำให้สมรภูมินี้ดุเดือดยิ่งกว่าเดิม แม้ว่าในประเทศไทยจะมี e-wallet มากมายแล้วก็ตาม แต่ด้วยความที่ Tencent นั้นได้สร้างระบบนิเวศของตนเองไว้หมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น SEA(Garena) เกม, Shopee อีคอมเมิร์ซ , Traveloka บริการจองที่พักจองตั๋วเครื่องบินและการเดินทาง รวมถึง Go-jek (เหมือนกับ Grab และ Uber) เหล่านี้จะทำให้ Go-Pay เติบโตได้อย่างรวดเร็ว
7. ตลาดยังคงต้องการเว็บไซต์เสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ เป็นโอกาสของ Zalora
Source: http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-2/
Zalora ก่อตั้งขึ้นโดย Rocket Internet ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ แต่หลังจากการมาถึงของ Alibaba ทำให้ Rocket Internet ขายเว็บไซต์ Lazada ออกไป และยังรวมถึง บางส่วนของ Zalora ในประเทศไทย และเวียดนาม ให้กับกลุ่มเซ็นทรัลกรุ๊ป (ที่ตอนนี้ได้เปลี่ยนชื่อไปเป็น Looksi แล้ว) และ ขาย Zalora ในฟิลิปปินส์ให้หับกลุ่ม Ayala แต่ยังคงเหลือ Zalora ในอินโดนีเซียไว้
แม้ว่าในภูมิภาคนี้จะมี Market Place Online มากมายอยู่แล้ว ในรูปแบบ B2C ไม่ว่าจะเป็น Lazada หรือ Shopee แต่ตลาดก็ยังคงต้องการ Market Place ที่เป็นตลาดสำหรับเสื้อผ้าแฟชั่น ที่รู้ลึกรู้จริง ซึ่ง Zalora เป็นหนึ่งในนั้นที่ยังคงเหลืออยู่
เพราะแม้แต่ในประเทศจีนเอง JD.com และ Alibaba ก็มีความพยายามจะสร้างแบรนด์เว็บไซต์แฟชั่นออนไลน์มาแล้ว แต่ก้ยังไม่สำเร็จ
ตอนนี้ในภูมิภาคอาเซียนมีแบรนด์ที่น่าสนใจอย่าง Zilingo ที่ได้เงินทุน $18ล้านดอลลาร์เข้าสู่ซีรีส์B แล้ว และ Goxip สตาร์ทอัพจากฮ่องกง ที่ระดมทุนได้ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าสู่ซีรีส์ A ทั้งสองจะบุกเข้าทำตลาดในไทย ส่วนในอินโดนีเซีย มี LYKE ที่ก่อตั้งขึ้นโดยผู้บุกเบิก Zaloraนั่นเอง
ด้วยจำนวนประชากร และขนาดตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นในภูมิภาคนี้เป็นตลาดที่ใหญ่มาก ทำให้มีความน่าสนใจในการลงทุนจากนักลงทุนมากมาย เพื่อผลักดันให้เกิดเพลตฟอร์มสำหรับแฟชั่นออนไลน์โดยเฉพาะ ในปี 2018 นี้อาจจะได้เห็นการแข่งขันในด้านนี้กันอย่างเต็มที่
8. ตลาดจะเติบโตขึ้น ในขณะที่สินค้าสีเทาจะค่อย ๆ หายไปถูกแทนที่ด้วยสินค้าที่มีแบรนด์
Source: http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-2/
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเติบโตของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้เริ่มต้นด้วยการมุ่งไปที่สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเทคโนโลยีราคาถูก ที่มักจะมีปัญหาสินค้าลอกเลียนแบบ หรือละเมิดลิขสิทธิ์ หรือลักลอบนำเข้า และหนีภาษี ซึ่งส่วนหนึ่งสามารถทำให้ตลาดเติบโตและมีมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจริง
แต่หลังจากนี้เป็นต้นไป ทั้ง Lazada Shopee และเว็บไซต์อื่น ๆ ต้องเข้มงวดและเอาจริงเอาจังในการปราบปรามสินค้าละเมิดเหล่านี้ และผลักดันสินค้าที่มีแบรนด์จากผุ้ผลิตที่ได้มาตรฐานมากขึ้น เช่นกันกับทางอาลีบาบา ที่เมื่อ2ปีที่ผ่านมาได้เริ่มจริงจังกับร้านค้าที่ขายสินค้าใน Tmall และ Taobao โดยไม่สนับสนุนร้านค้าเหล่านี้ หากใครทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีนคงทราบดี สิ่งเหล่านี้ก็กำลังจะเกิดขึ้นในอาเซียนเช่นกัน
อีกทางหนึ่ง การที่แบรนด์หลักไม่นำสินค้าของตนเองขึ้นมาขายบน Market Place เช่น Nike เคยแสดงตัวว่าจะไม่นำสินค้ามาขายบน Amazon แต่เมื่อตลาดมีความต้องการ จึงทำให้เกิดตลาดสีเทา ที่มีผู้จำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต นำรองเท้า Nike มาขายบน Amazon ในราคาที่ถูกกว่าซื้อที่ร้าน ในส่วนนี้จึงเกิดตลาดสีเทาหรือ Grey Market เกิดขึ้น ซึ่งเพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้ง Lazada และ Shopee ก็จะต้องจัดการกับเรื่องนี้เช่นกัน เพราะเจ้าของแบรนดืจะลงมาทำตลาดขายเองในเพลตฟอร์มดังกล่าวมากขึ้น คนที่เตรียมรับผลกระทบได้เลยคือ คนที่เล่นในตลาดสีเทานี้
9. Market Place และ E-Tailers จะทำสินค้าในแบรนด์ของตัวเองออกจำหน่ายในเว็บไซต์ของตนเอง
สิ่งที่มีค่าและทรงพลังมากที่สุดในตลาดอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่สินค้า หรือโปรโมชั่น แต่เป็นฐานข้อมูลของลูกค้าจำนวนมหาศาล และ Market Place มีฐานข้อมูลว่า อะไรขายดี ผู้ชายชอบอะไร ผู้หญิงชอบอะไร สินค้าใดขายดีในเดือนไหน ต้องช่วงราคาเท่าไหร่ แพคเกจจิ้งแบบไหน รูปภาพสีสันแบบไหนถึงขายดี ข้อมูลเหล่านี้ แม้แต่เจ้าของแบรนด์เองก็ยังไม่มีทางรู้ แต่เจ้าของ Market Place มีข้อมูลทั้งหมด และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแปลงเป็นรายได้เพิ่มได้อีก จุดประสงค์ไม่ได้หวังทดแทนแบรนด์หลัก แต่มาเพื่อแชร์ส่วนแบ่งรายได้
โดยเริ่มจาก Amazon ที่มีข่าวว่าจะเปิดตัวสินค้าแบรนด์ของตัวเองในปี 2018 ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ การเปิดตัวสินค้าในแบรนด์ตัวเองไม่ใช่เรื่องใหม่ เราเองก็คงคุ้นเคยกันดีอย่างเฮาส์แบรนด์ของเทสโก้ โลตัส หรือ แมคโคร หรือแม้แต่ 7-11 ก็ผลิตสินค้าที่ขายดีในร้าน ให้เป็นแบรนด์ของตัวเอง เพื่อมาแชร์ส่วนแบ่งการตลาด เพราะมีข้อมูลอยู่ว่า สินค้าชนิดขายดี มีคนชอบ ต้องเติมสต็อกอยู่ตลอดเวลา รู้กระทั่งว่า สต็อกมักจะขาดช่วงไหน และนั่นคือช่องว่างที่จะเอาเฮาส์แบรนด์ของตัวเองเข้าไปแทรก
ในส่วนของ Lazada และ Shopee อาจจะเปิดระบบการลงโฆษณาให้กับผู้ค้าใช้ เป็นแบจ่ายรายคลิก (Pay per Click) ในปีนี้
10. ธุรกิจ B2B ออนไลน์ จะทำลายตัวแทนจำหน่ายออฟไลน์ แล้วสร้างจุดกระจายสินค้ารูปแบบใหม่ขึ้น
แม้ในภูมิภาคนี้จะยังไม่มีอีคอมเมิร์ซที่เป็น B2B ชัดเจนมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็น B2C อย่างไรก็ตามจะมีการผลักดันให้เกิดระบบค้าส่งผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในปีนี้ ซึ่งหากทำให้เกิดขึ้นได้ จะทำให้ร้านค้าส่งแบบ ออฟไลน์ได้รับผลกระทบทันที
มีตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างเว็บไซต์ Zilingo Asia Mall ที่เป็น Market Place แบบ B2B ที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก เพื่อให้ได้ในราคาขายส่ง เปรียบเหมือน Alibaba.com ในภาคแฟชั่นเลยทีเดียว
ในส่วนของ Shopee ก็เปิดหมวดสำหรับการขายส่งแล้ว ทำให้มีแนวโน้มว่า ในปีนี้ อีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และทุกคนสามารถทำการค้าได้ผ่านระบบออนไลน์ โดยโมเดลจะคล้ายกับที่อาลีบาบาเคยทำในประเทศจีนคือ เว็บไซต์ขายส่ง 1688.com เว็บไซต์ขายปลีก คือ Taobao.com และ Tmall.com ซึ่งก็มีคนจีนจำนวนมาก สั่งซื้อสินค้าจาก 1688 มาขายใน Taobao ในอนาคตก็จะมีคนไทยสั่งซื้อสินค้าจาก Zilingo wholesale มาขายใน Shopee หรือ Lazada เช่นกัน
สรุปสิ่งที่ผู้ขายของออนไลน์ต้องปรับตัว
ในปี 2018 นี้ กลุ่มทุนจากจีนจะไหลบ่าเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากยิ่งขึ้น ตรงนี้จะมีส่วนช่วยให้ตลาดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว หากคุณเป็นผู้ขายสินค้าออนไลน์ แบบซื้อมาขายไป ต้องปรับตัวในการหาสินค้ามาขาย และอาจจะต้องพบกับผู้ค้าชาวจีนที่บุกมาเจาะตลาดถึงหน้าประตูบ้าน หนทางแก้ไขคือ ต้องเร่งพัฒนาสินค้าของตนเอง และสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด ไม่เช่นนั้นก็จะต้องหาสินค้ามาขายไปเรื่อย ๆ
ในส่วนของผู้ที่มีแบรนด์อยู่แล้ว ควรศึกษาช่องทาง Market Place เพื่อขยายตลาดออกไป นอกเหนือจากในประเทศ คุณสามารถขยายไปทั่วภูมิภาคได้เช่นกัน และต้องไม่ลืมศึกษาช่องทางการชำระเงินด้วย เพราะในปีนี้จะมี Payment Gateway ต่าง ๆ มากมาย รวมถึงรูปแบบการจ่ายเงินใหม่ ๆ ซึ่งหากคุณทำธุรกิจออนไลน์ก็ยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอด
อย่ามองข้ามหน้าร้านแบบออฟไลน์ หากคุณมีแบรนด์แล้ว มีสินค้าที่ดี มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ดีแล้ว O2O ก็เป็นอีก 1 เทรนด์ที่คุณไม่ควรมองข้าม เพราะจะช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าของคุณโดยที่คู่แข่งอาจจะทำไม่ได้
หากคุณจำหน่ายสินค้าในตลาดสีเทา ควรหาทางสำรองไว้ เพราะในดลกออนไลน์ต่อจากนี้ เจ้าของแบรนด์จะไม่ยอมให้คุณทำแบบนี้อีกแล้ว
ถ้าคุณเป็นแบรนด์เล็ก ก็ต้องเตรียมตัวรับมือกับเฮาส์แบรนด์ของแต่ละเพลตฟอร์มไว้ด้วย เพราะปี 2018 นี้ จะมีแบรนด์ใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นโดยฐานข้อมูลที่แน่นปึ๊ก นี่คือสิ่งที่คุณจะต้องต่อสู้กับเจ้าบ้าน ในฐานะผู้อาศัย
สุดท้ายคือ แม้คุณจะขายสินค้าผ่าน Market Place แต่ก็ต้องพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ให้ได้มากที่สุด สินค้ารุ่นไหนขายดี ขายดีในช่วงไหน ลูกค้าเป็นใคร เพศอายุโดยเฉลี่ยเท่าไหร่ ยอดการซื้อโดยเฉลี่ยต่อครั้งเป้นเท่าไหร่ สินค้าที่ขายดีที่สุดในช่วงราคาไหน แม้ว่าคุณจะไม่มีระบบ Data Analysis ก็ตาม ก้ต้องพยายามรวบรวมข้อมูลแล้ววิเคราะห์ด้วยตนเอง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด
Source:
http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-1/
http://technode.com/2018/01/02/10-e-commerce-trends-will-shape-southeast-asia-2018-part-2/