lego employees

บริษัท“เลโก้” กดปุ่มรีเซ็ต ปลดพนักงาน 1,400 คน หลังยอดขายตกครั้งแรกในรอบ 10 ปี

บริษัท เลโก้ (Lego) สั่งปลดพนักงาน 1,400 ตำแหน่ง หลังจากยอดขายร่วงเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ยอร์เกน วิก คนุดสตอร์ป  (Jorgen Vig Knudstorp) ประธานบริษัทเลโก้ แถลงว่า รายรับช่วงครึ่งแรกของปี 2017 อยู่ที่ 14,900 ล้านโครนเดนมาร์ก (ราว ๆ 2,380 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) แม้จะเป็นตัวเลขที่สูงกว่ายอดขายในธุรกิจเดียวกันอย่าง ฮาสโบร์ อิงก์ผู้ผลิต “มายลิตเติ้ล โพนี่” ที่มีรายรับ 1,820 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และบริษัทแมทเทล อิงก์ผู้ผลิต ตุ๊กตา “บาร์บี้” ซึ่งมีรายรับ 1,710 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

Jorgen Vig Knudstorp
Image credit: Jorgen Vig Knudstorp

ในขณะเดียวกัน Lego ระบุว่า ผลกำไรในรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้ก็ลดลง 3% มาอยู่ที่ 544 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งยอดขายที่ลดลงนี้ มาจากตลาดในอเมริกาและบางประเทศในยุโรป แต่ในตลาดเอเชียอย่างจีนยังมีการเติบโตต่อเนื่อง

และเพื่อกอบกู้วิกฤติครั้งนี้ ยอร์เกน จึงได้ตัดสินใจลดตำแหน่งงานลง 1,400 ตำแหน่ง และวางแผนจะทำให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2017 นี้ จากปัจจุบันที่ Lego มีพนักงานทั่วโลกรวมกันประมาณ 18,200 คน นับเป็น 8%ของพนักงานทั้งหมด

“เราเสียใจมากที่ต้องดำเนินการเปลี่ยงแปลงในลักษณะนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อชีวิตของเพื่อร่วมงานของเราจำนวนมาก” “เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากแต่ก็จำเป็น”  Jorgen Vig Knudstorp กล่าว

“เรารู้สึกผิดหวังกับรายได้ที่ลดลง ในตลาดที่มีความมั่นคงที่สุดของเรา แต่เราได้เข้าไปแก้ไขปัญหาแล้ว ตอนนี้เราได้กดปุ่มรีเซ็ตทั้งสำหรับทั้งกลุ่มแล้ว”

การรีเซ็ตองค์กรของ Lego ครั้งนี้มาจากอะไร? ทำไมต้องปลดพนักงานมากถึง 1,400 ตำแหน่ง ?

Jorgen Vig Knudstorp ทั้งหมดเกิดจากที่บริษัทของเราเติบโตเร็วมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อบริษัทเติบโตสูง ก็จะลงทุนสูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้จากมีการเพิ่มตำแหน่งงานถึง 7,000 ตำแหน่งในช่วง ปี 2012-2016

วันนี้ เราตระหนักแล้วว่าที่ผ่านมาบริษัทลงทุนสูงเกินไป จนทำให้โครงสร้างองค์กรมีความซับซ้อน ยากต่อการสร้างศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจได้ และการลงทุนที่สูงเกินไปนั้น ยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวดอกผลได้กลับมาอย่างเป็นรูปธรรม และขณะนี้เรายังไม่สามารถคาดการณ์ถึงการเติบโตในอีก 2 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นการปรับลดขนาดองค์กรในครั้งนี้ เราได้กดปุ่ม Reset ของทั้งกลุ่มบริษัทแล้ว

ทำไมบริษัทเติบโตเร็วแล้วจึงเกิดวิกฤติเช่นนี้? อธิบาย คือ เมื่อ Lego เติบโตเร็ว จึงมีการจ้างงานมากขึ้น และหลายตำแหน่งอาจมีการซ้อนทับกัน และบางตำแหน่งอาจซ้อนกันจนเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นปัญหาในด้านการบริหารจัดการ ที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในบริษัทสูงมากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัท ดังนั้นการกดปุ่มรีเซ็ตของ Lego ในครั้งนี้ คือการปรับผังโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อให้บริษัมีความคล่องตัวมากขึ้น และมีความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

ไม่เพียงแต่การขยายตัวขององค์กร และการลงทุนที่สูงเกินความจำเป็นเท่านั้น Lego ยังต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แม้ว่าจะมีเด็กเกิดใหม่ทุกวัน แต่เด็กในยุคนี้ต่างจากเด็กยุคก่อนๆ เพราะพวกเขามีสื่อดิจิตอล และของเล่นต่างๆมากมายที่จะมาแย่งความสนใจไปจาก Lego และเด็กยุคนี้มีทางเลือกที่มากขึ้น

แม้ว่า Lego จะพยายามปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตอลแล้วก็ตาม เช่นการเปิดตัว Lego Boost เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานหุ่นยนต์ได้เอง แต่โจทย์ใหม่ที่ท้าทาย Lego อยู่นั้นคือเด็กรุ่นใหม่จะให้ความสนใจกับของเล่นอย่าง Lego ลดน้อยลงไปเรื่อย แต่ Lego ก็ต้องปรับตัวโดยที่ยังต้องคงเอกลักษณ์ของตัวต่อนี้ไว้ต่อไป

สรุป-ข่าวการปลดพนักงานออกของ Lego

รายได้ที่ลดลง มีสาเหตุมาจากเด็กยุคใหม่ให้ความสนใจกับสื่อและของเล่นดิจิตอลมากขึ้น และพ่อกับแม่ที่เป็นคนจ่ายเงินก็ทนความเรียกร้องของลูกไม่ไหว การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของ Lego จึงเป็นความยากลำบาก เพราะสิ่งใดที่ลูกไม่อยากเล่น พ่อแม่ก็จะไม่ซื้อให้ โจทย์นี้ท้าทายฝ่ายผลิตของบริษัท ที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างไร ให้เด็กอยากเล่นจนพ่อแม่ต้องยอมจ่าย

ซึ่งแยกส่วนกับ ผลกำไรที่ลดลง ในส่วนนี้มาจากภาระค่าใช้จ่ายในบริษัทที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการบริหารที่ผิดพลาด เพราะเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทเติบโตและมีกำไรดี จึงนำเงินไปลงทุนเพิ่ม จ้างงานเพิ่ม แต่กลายเป็นจ้างงานซ้ำซ้อนหลายตำแหน่ง บริษัทจึงแบกค่าใช้จ่ายไว้มากเกินความจำเป็น จึงเป็นสาเหตุของการปลดพนักงานออก 1,400 ตำแหน่ง แน่นอนว่าจะเป็นแนวโน้มที่ดีที่จะทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มมากขึ้น

แต่ก็เพราะปัญหาที่เกิดจากฝ่ายบริหารนี้เอง Lego จึงปลด CEO บาลี แพดดา ออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่เข้ารับตำแหน่งได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น