Devid Packgard and Bill Hewlett

วิถีแห่ง HP ที่ทำให้ขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอันดับ 1 ของโลกอีกครั้ง

HP มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Hewlett-Packard (ฮิวเลตต์-แพคการ์ด) ซึ่งได้ชื่อมาจากสองผู้ก่อตั้ง คือ Bill Hewlett (บิล ฮิวเลตต์) และ Devid Packgard (เดวิด แพคการ์ด) ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับแบรนด์ HP ในฐานะเครื่องปริ้นท์ซะมากกว่า แต่อันที่จริงแล้ว HP นั้น ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และบริการด้านไอที ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองแพโล แอลโต(Palo Alto) รัฐแคลิฟอร์เนีย(California) ประเทศสหรัฐอเมริกา

Devid Packgard and Bill Hewlett
ซ้ายมือคือ Devid Packgard และขวาคือ Bill Hewlett – Image credit: booksnstars.com

ถ้ากล่าวถึงในกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ส่วนมากเราจะนึกถึง สตีฟ จ็อปส์ หรือบิล เกตส์ ซะมากกว่า แต่หารู้ไม่ว่าบิล ฮิวเลตต์ และเดวิด แพคการ์ด นั้นก็เริ่มก่อตั้งในปี 1939 โดยมีเงินทุนเริ่มต้นธุรกิจเพียง 500 ดอลล่าร์สหรัฐฯ เท่านั้น และถือได้ว่าเป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านไอทีที่มูลค่าแตะหลักพันล้านที่เริ่มต้นบริษัทจากในโรงรถได้สำเร็จ ทำให้กลายเป็นตำนานของซิลิคอนวัลเลย์ ก่อนที่สตีฟ จ็อปส์ และบิล เกตส์ จะรุ่งเรืองในเวลาหลายสิบปีต่อมา (นี่มันสตาร์ทอัพตัวพ่อชัด ๆ)

The garage in Palo Alto where Hewlett and Packard began their company
โรงรถที่เป็นจุดเริ่มต้นของ HP ที่ บิล ฮิวเลตต์ กับ เดวิด แพคการ์ด ใช้เป็นฐานทัพ Image credit: wikipedia

แม้ว่าในยุคที่ผ่านมานั้น HP จะมีชื่อเสียงเลื่องลือจากการที่เป็นผู้นำด้านปริ้นเตอร์อิงค์เจ็ต และเลเซอร์ปริ้นเตอร์ ซึ่งต่อมา HP ได้ขยายตัวและหันมาจับตลาดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเข้าซื้อกิจการของ COMPAQ ในปี 2002 โดยมีดีลในครั้งนี้สูงถึง 25 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

และจากการดำเนินงานแบบวิถี HP ที่ทำให้ยิ่งใหญ่อย่างทุกวันนี้ก็คือ The HP Way

เชื่อมั่นและเชื่อใจในทีมงานของ HP

ธุรกิจที่ดีคือธุรกิจที่สามารถดึงดูดคนที่ดี เก่ง และมีความสามารถ เข้ามาร่วมทำงานกับองค์กรได้ ดังนั้น HP จึงเน้นที่การทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อและแข็งแกร่ง และคอยซับพอร์ททีมงานด้วยเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยเน้นให้คนภายในองค์กรสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และฉลองความสำเร็จไปด้วยกัน

สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้สมกับความคาดหวังของลูกค้า

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์แล้วนั้น ความคาดหวังจากลูกค้าก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคุณภาพสินค้า, การบริการ นวัตกรรมใหม่ ๆ รวมไปถึงความคงทนในการใช้งาน ดังนั้น สิ่งที่ HP จะต้องทำก็คือ จะต้องกำชับกับผู้นำในองค์กรให้มีความกระตือรือร้นที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่จะต้องตอบสนองให้ทันกับความต้องการของลูกค้า และคอยย้ำเตือนอยู่เสมอว่า “สิ่งที่เวิร์คในวันนี้ อาจไม่เวิร์คในวันพรุ่งนี้” ซึ่งทำให้องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

บรรลุวัตถุสงค์ขององค์กรด้วยการทำงานเป็นทีม

เนื่องจาก HP เป็นองค์กรที่มีพนักงานอยู่ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้น มนุษย์คือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด และทุก ๆ คนในองค์กรทั่วโลกจะต้องร่วมมือกัน เพื่อเติมเต็มและสนองความต้องการแก่ลูกค้า ผู้ถือหุ้น รวมไปถึงบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน

ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถอ่านแบบเจาะลึกเพิ่มเติมได้ที่หนังสือที่ชื่อว่า The HP Way ที่เขียนโดย David Packard หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งของ HP

The HP Way
Image credit: The HP Way

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า HP เป็นองค์กรที่ให้อิสระกับตัวบุคคลเป็นอย่างมาก โดยเคยมีเหตุการณ์หนึ่งที่ บิล ฮิวเลตต์ เกิดไอเดียใหม่ ๆ ผุดเข้ามาในหัว เขาจึงเข้าไปทำงานในบริษัทในวันหยุด แต่ก็พบว่ามีกุญแจล็อคห้องเก็บของเอาไว้อยู่ เขาจึงทุบกุญแจที่ล่ามโซ่นั้นออกอยู่ แล้วประกาศว่า นับตั้งแต่นี้ ห้ามล็อคกุญแจห้องเก็บของอีก ด้วยเหตุผลที่ว่า หากมีพนักงานคนใดที่จู่ ๆ ก็มีไอเดียดี ๆ ผุดขึ้นมา แล้วต้องการเข้ามาทำงานในวันหยุด ก็จะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ และทำงานได้ทันที

และหลังจากนั้นก็มีอีกหลายเหตุการณ์ ที่ทำให้พนักงานภายในองค์กร กล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำอย่างอิสระ อย่างกรณีหนึ่งที่เคยมีวิศวกรของ HP ได้พัฒนาจอภาพคอมพิวเตอร์ที่คาดว่าเป็นสิ่งที่จะต้องตอบโจทย์และเป็นที่ต้องการของลูกค้า แต่เดวิด แพคการ์ด ไม่เห็นด้วยจึงสั่งยกเลิกโครงการนั้นไป ซึ่งในท้ายที่สุดตัวของวิศวกรเองก็สามารถโน้มน้าวให้หัวหน้าของเขาส่งโปรเจคนี้เข้าสู่กระบวนการผลิต เพราะพวกเขารู้ดีว่าสินค้ามันเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า และก็เป็นไปตามที่คาดว่า โปรเจคนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้า HP เป็นอย่างมาก เดวิด แพคการ์ด จึงให้รางวัลความดีความชอบแก่วิศกรคนนั้นโดยสิ่งที่ทำให้ได้รางวัลก็เพราะ เป็นพนักงานที่ดื้อด้านจนได้ดี


นี่คืออีกก้าวของ HP ที่นอกจากจะผลิตสินค้าที่คนทั่วไป(ลูกค้า Consumer)ใช้งานแล้ว ยังมีสินค้าสำหรับธุรกิจ(ลูกค้า Commercial) ซึ่งจะเข้ามาช่วยซับพอร์ทธุรกิจ StartUp และ SMB (Small and Medium Business) ที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางโดยเฉพาะ ซึ่งมาในคอนเซ็ปต์หลัก 3 ข้อ คือ

  • Design: ให้ความสำคัญกับการออกแบบ ดีไซน์ที่เรียบหรูดูดีมีระดับ พร้อมกับใช้วัสดุที่แข็งแรงกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นทั่ว ๆ ไป และเพิ่มภาพลักษณ์ให้กับบริษัทรุ่นใหม่อย่างบริษัท StartUp
  • Security: เน้นที่ความปลอดภัยสำหรับองค์กรโดยเฉพาะ ที่มี BIOS ที่สามารถตรวจสอบความผิดปกติที่อาจเกิดมาจากแฮคเกอร์ เว็บฟิชชิ่ง, ไวรัส และโปรแกรมมัลแวร์ต่าง ๆ ที่พยายามจะเจาะเข้ามาในระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทาง BIOS หาก BIOS ตรวจสอบแล้วพบความผิดปกติที่เพี้ยนไปจากโรงงาน มันก็จะทำหน้าที่รีเซ็ทให้โดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันข้อมูลขององค์กรรั่วไหลไปสู่ภายนอกได้
  • Collaboration: เนื่องจากการทำงานกันเป็นองค์กร ต้องอาศัยทีมเวิร์คที่ดี และยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่อยู่ในยุคของอินเตอร์เน็ตนั้น ตัวของ HP ก็จะมีฟังก์ชั่นคอยซับพอร์ทการติดต่อสื่อสารทางไกลกันระหว่างทีมงาน ยกตัวอย่างเช่นเพิ่มฟังก์ชั่นการติดต่อเพื่อให้ซับพอร์ทกับโปรแกรมอย่าง Skype โดยเฉพาะ เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ราบรื่นและง่ายดาย นอกจากนี้ยังมี HP PhoneWise รับสายเรียกเข้าและตอบข้อความผ่านพีซีของคุณด้วย iOS หรือ Android

โดยล่าสุด HP ได้ออกคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรที่เป็นตัวท็อปรุ่นใหม่ล่าสุดที่ใช้ 2 รุ่น คือ

  • HP EliteOne 1000 All-in-One Desktop PC (คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบออลอินวัน)
  • HP EliteBook x360 Notebook (คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป)

HP EliteOne 1000 All-in-One

HP EliteOne 1000 All-in-One desktop

มาดูกันที่ตัวแรกกันก่อนเลย ก็คือ HP EliteOne 1000 All-in-One ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ที่สามารถสังเกตได้ทันทีเลยว่า จะเป็นรุ่นที่จอกว้างและโค้งรับกับสายตา และไม่มีเคสคอมพิวเตอร์ ให้เกะกะ ไม่เปลืองพื้นที่โต๊ะทำงาน และออฟฟิศ เพราะทุกอย่างถูกมัดรวมไว้ในฐานตั้งจอเรียบร้อยแล้ว เรียกง่าย ๆ ว่า ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์, สายไฟ, ช่องเสียบ USB ต่าง ๆ ถูกออกแบบให้อยู่ในฐานตั้งจอทั้งหมด แถมหากต้องการเปลี่ยนจอ ก็สามารถถอดขาตั้งออกแล้วเสียบจอใหม่เข้าไปได้ในทันที โดยมีขนาดจอให้เลือก 3 ขนาด คือ 23.8 นิ้ว (ซึ่งมีทั้งระบบ Touch และ Non-Touch), 27 นิ้ว และ 34 นิ้ว

HP EliteOne 1000 All-in-One desktop FHD Camera

ส่วนเวลาที่ต้องการประชุมหรือพูดคุยกับทีมงาน ก็สามารถกดให้กล้องที่อยู่ด้านบนของขอบจอขึ้นมาได้อีกด้วยซึ่งภาพที่ออกมานั้นก็จะเป็นกล้องวีดีโอแบบ Full HD

HP EliteOne 1000 All-in-One desktop FHD Camera conference

และนอกจากนั้นที่ตัวฐานของจอ ก็จะมีปุ่มคีย์ลัด ที่สามารถประชุมทางไกลผ่านวีดีโอได้ในทันที ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงตัวไมค์ที่มีระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้างได้เป็นอย่างดี

HP EliteBook x360

HP EliteBook x360

ทีนี้ก็มาดูรุ่นของแล็ปท็อปหรือคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คกันบ้างในรุ่นที่ชื่อว่า HP EliteBook x360 ซึ่งจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ตามชื่อ x360 ซึ่งมันสามารถหมุนจอได้แบบ 360 องศา ซึ่งสามารถหมุนได้ทั้งหมด 5 รูปแบบ (โหมดทำงาน, พรีเซ็นต์, ประชุม, ดูหนังฟังเพลงและแท็ปเล็ตเขียนได้) แล้วแต่การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นแบบที่เหมาะสำหรับพรีเซ็นต์งานลูกค้าหรือเป็นโหมดรับชมเพื่อความบันเทิง แถมยังได้รับรางวัลด้านการออกแบบที่เป็น Best Convertible Hybrid Laptop ประจำปี 2017 อีกด้วย

นอกจากนั้นเรื่องความอึดของแบตรุ่นนี้ ที่สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องนานกว่า 15  ชั่วโมง จากการชาร์ตเพียงครั้งเดียว* ซึ่งแน่นอนว่าคุณสมบัติที่ติดตัวเจ้าเครื่องนี้มานั้น เทียบเท่ากับรุ่นของคอมแบบตั้งโต๊ะเลย ไม่ว่าจะเป็น ระบบ BIOS เพื่อป้องกันโปรแกรมมัลแวร์จากเหล่าบรรดาแฮเกอร์, กล้อง webcam แบบ IR Camera HD, ไมค์ที่สามารถกรองเสียงรบกวนรอบข้าง, ปุ่ม Shortcut สำหรับประชุมทางไกล

ในส่วนของจอของแล็ปท็อปนั้นเป็นแบบระบบสัมผัสมีให้เลือกทั้งแบบ FHD IPS หรือแบบ 4K IPS รองรับการใช้งานร่วมกับปากกา Active Pen รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดที่สามารถผูกเข้ากับ Smartphone ที่เมื่อใดก็ตามที่สมาร์ทโฟนที่พกติดตัวเราห่างออกจากแล็ปท็อป มันก็จะทำการล็อคหน้าจอโดยอัตโนมัติหรือจะตั้งค่าการเข้าใช้งานโดยใช้ลายนิ้วมือก็สามารถทำได้เช่นกัน รวมไปถึงหากต้องการความเป็นส่วนตัว โดยที่เราไม่ต้องการให้คนที่นั่งข้าง ๆ เห็นหน้าจอของเราก็สามารถปรับเปลี่ยนโหมดหน้าจอแบบ Privacy ได้

และนี่ก็คืออีกหนึ่งนวัตกรรมหนึ่งที่ HP ตั้งใจที่จะออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มของนักธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง(SMB) รวมไปถึงเหล่าบรรดาสตาร์ทอัพ ที่ต้องการดีไซน์ที่เรียบหรูดูดีมีระดับ แข็งแรงทนทาน, มีความปลอดภัยสูง, สามารถติดต่อประชุมทางไกลได้อย่างง่ายดาย, ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง ในราคาที่เอื้อมถึง หากใครที่กำลังมองหาคอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจหรือกำลังที่จะขยับขยายกิจการ การเลือกคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับองค์กรโดยเฉพาะก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HP Commercial (คอมพิวเตอร์สำหรับองค์กร) ก็สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ตัวแทนจำหน่าย HP ได้ทั่วประเทศ หรือไปที่เว็บไซต์ https://www.hpstorethailand.com/

*Windows 10 MM14 battery life will vary depending on various factors including product model, configuration, loaded applications, features, use, wireless functionality, and power management settings.  The maximum capacity of the battery will naturally decrease with time and usage. See www.bapco.com for additional details.

ทิ้งทวนกันด้วยข้อคิดดี ๆ ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จระดับพันล้านที่เริ่มต้นในโรงรถจากสองผู้ก่อตั้งผู้ยิ่งใหญ่ของ HP บิล ฮิวเลตต์ และ เดวิด แพคการ์ด

10 ข้อคิดจาก Bill Hewlett และ David Packard

Bill and Dave during the war years. Photo courtesy of Hewlett Packard Company.
Image credit: Bill and Dave
  1. ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจะวิ่งเข้าหาบุคคลที่ไม่กลัวการล้มเหลวต่อหน้าผู้คนนับล้าน
  2. หากคุณต้องการประสบความสำเร็จ คุณต้องออกไปสร้างบริษัทและมีส่วนร่วมกับมันอย่างเต็มที่ อย่ารอโชคลาภ หรือหวังพึ่งดวง คุณจะต้องออกไปไขว่คว้าด้วยตัวของคุณเอง
  3. การบริหารองค์กรที่ดีที่สุดคือการผสมผสานระหว่างความยิ่งใหญ่ขององค์กรกับความซื่อสัตย์และจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กร
  4. ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทำธุรกิจก็คือ การตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ดีสุดในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
  5. บริษัทที่มุ่งเน้นที่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ในท้ายที่สุดแล้วนั้นพวกเขาจะทรยศทั้งต่อลูกค้าและต่อบริษัทของตัวเอง
  6. การปรับปรุงและพัฒนาองค์กร ควรเริ่มต้นด้วยเหตุที่ต้องการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไม่ใช่มาจากโครงสร้างของการเงิน
  7. พนักงานที่มีทัศคติที่แย่ต่อองค์กร เป็นภัยคุกคามมากกว่าใครสักคนที่รู้สึกไม่พอใจต่อสินค้าหรือบริการของบริษัทคุณ
  8. หัวหน้าที่ดีต้องคอยซับพอร์ททีมงานอย่างเต็มที่ และควรร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน ไม่ใช่สักแต่ว่าจะชี้นิ้วสั่งเพียงอย่างเดียว
  9. หัวหน้าที่ดี จะต้องปฏิบัติต่อทีมงานอย่างเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย ไม่ว่าคุณจะเป็นหัวหน้าของแผนกไหนก็ตาม แต่สิ่งที่หัวหน้าทุกคนต้องพึงกระทำให้ดีที่สุดก็คือ การเป็นหัวหน้าฝ่ายบุคคล เพราะไม่ว่าจะเป็นแผนกใด ก็จำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้น ทักษะที่สำคัญที่สุดที่หัวหน้าทุกคนจะต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลาก็คือ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  10. การลงทุนในการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นในไลน์ผลิตเดิมหรือไลน์ผลิตใหม่ มันเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดแต่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเช่นกัน

Resources: