Buyer

Buyer อาชีพของคนรู้แหล่งซื้อและต้นทุนสินค้า เอื้อโอกาสเป็นนายตัวเอง

Buyer หรือ จัดซื้อ เป็นอาชีพที่เอื้อต่อการต่อยอดไปเป็นนายตัวเองได้คือ Sales executive รู้ใจตลาด รู้จักลูกค้า รู้ว่าขายอะไรดี และอีกอาชีพคือ Buyer รู้ว่าอะไรขายได้ รู้แหล่งซื้อ รู้ต้นทุน

ธุรกิจทั้งหลายวนเวียนอยู่กับการค้าๆขาย ๆ หากคุณรู้แหล่งซื้อกับรู้การขายโอกาสการเป็นนายตัวเองก็ใกล้ตัว คุณต้องการสองอย่างนี้ในการสตาร์ทอัพธุรกิจส่วนตัวเล็ก ๆ ตำแหน่งอื่น ๆ จ้างได้เมื่อธุรกิจโต

บัณฑิตจบใหม่ที่ไม่ได้มาสายเฉพาะทางอย่าง แพทย์ หรือ วิศวกร หากกำลังลังเลว่าจะทำงานอะไรดีก็ลองพิจาณาสองอาชีพนี้ไว้ หากไม่อยากออกไปขายของ ก็ลองจัดซื้อ

โมเดลตำแหน่งงานจัดซื้อ

งานจัดซื้อมีลำดับบังคับบัญชาไล่ตั้งแต่ Senior buying manager, Buying manager, Buyer, Assistant buyer หรือ Buyer admin ฯลฯ แล้วแต่โครงสร้างบริษัท ดังนั้นหากคุณคือบัณฑิตใหม่ที่ต้องการเป็นจัดซื้อ จุดเริ่มต้นของคุณคือ Buyer admin แล้วเก็บประสบการณ์เลื่อนขั้นหรือลาออกไปอัพตำแหน่งที่อื่น

Buyer admin อาจต้องการประสบการณ์ทำงานระหว่าง 0-3 ปี อาจเป็นงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้ แต่อาจต้องคล่องงาน Microsoft Words/ Excel

รายได้ของจัดซื้อระดับ admin ก็ราว ๆ 12,000-15,000 บาท ระดับ Middle ก็ 25,000-45,000 บาท ส่วนระดับ Management ก็ 50,000-100,000 บาท เป็นต้น

จัดซื้อแบบ Buyer

ลักษณะงานจะค่อนข้าง Passive คือ Supplier จะเป็นฝ่ายเข้าหา หรือระดับผู้บริหารจะเป็นผู้ไปดีล Supplier เข้ามาให้แล้วส่งมอบให้จัดซื้อเป็นผู้ดูแลประสานงานกับ Supplier เป็นราย ๆ ไป

ในส่วนของการสั่งของ อาจมีทีมงาน Operation (กรณีอุตสาหกรรม) หรือ Sales executive (กรณีค้าปลีก) เป็นผู้แจ้งรายการสินค้าที่ต้องการสั่ง (Purchase request)

หน้าที่ของจัดซื้อแบบนี้คือการดูแลความถูกต้องของรายการสั่ง จำนวนสั่งซื้อเหมาะสมกับสต็อกคงเหลือและงบประมาณของบริษัทหรือไม่ จากนั้นคือการประสานงานระหว่างจัดซ้อกับ Supplier ในการผลิตและส่งมอบสินค้าให้เป็นไปตามเงื่อนไข โดยยึดถือ Purchase Order เป็นสื่อกลางสำคัญ

ส่วนงานต่อรองก็ยังมีอยู่ เช่น ต่อรองราคา ต่อรองเครดิตเทอม เพื่อให้บริษัทที่เราทำงานอยู่ได้รับประโยชน์เหมาะสมที่สุด มีต้นทุนต่ำลง หรือยืดอายุการชำระเงินมากขึ้น เป็นต้น

จัดซื้อแบบ Sourcing

เป็นการจัดซื้อแบบ Proactive คุณต้องบุกสรรหาสินค้าและบริการมาป้อนบริษัท จัดซื้อลักษณะนี้ไม่ยึด Supplier เจ้าใดเจ้าหนึ่ง แต่จะต่อรองเพื่อให้ได้ Supplier ที่ราคาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมากใช้กับอุตสาหกรรม Food service เช่นธุรกิจร้านอาหาร และอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการชิ้นส่วนมาประกอบเป็น Finished product ขายปริมาณมาก ๆ

จัดซื้อในกรณีนี้ต้องมีความรอบรู้ใน Spec สินค้าและรู้ราคาตลาด มีความสามารถในการต่อรองมาก

อุตสาหกรรมในการจัดซื้อ

Retailer/ Modern Trade

จัดซื้อธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต โดยมากเป็นลักษณะBuyer

จัดซื้อจะแบ่งกันดูแลแยกเป็น Category สินค้า รู้ราคาทุน ทำราคาขาย ดูแลสต็อกและยอดขาย สั่งซื้อให้เหมาะสมกับงบประมาณ โดยมาก Supplier จะเป็นฝ่ายเข้ามาหาเอง จัดซื้อก็นัดคุยตามลำดับ

Whole seller/ Supplier

ธุรกิจค้าส่งอาจเป็นการจัดซื้อแบบ Buyer หรือ Sourcing หรือทั้งสองรวมกันในคนเดียว แล้วแต่โครงสร้างบริษัท สรรหาและสั่งซื้อสินค้าเป็นปริมาณมากเพื่อขายต่อยังผู้ค้าปลีก

ร้านค้าปลีกจะค่อนข้าง Fixed เรื่องราคาส่ง ทำให้การจัดซื้อในอุตสาหกรรมค้าส่งต้องอาศัยการทำกำไรจากการลดต้นทุนสินค้าโดยการต่อรองราคากับผู้ผลิตอีกทีและการบริหารโลจิสติกส์ให้ได้ต้นทุนต่ำ

Food Service

จัดซื้อธุรกิจอาหาร อาจเป็นจัดซื้อภายในธุรกิจร้านอาหารโดยตรง หรือเป็นจัดซื้อให้ผู้ค้าส่งอาหารให้ร้านอาหารอีกที

จัดซื้อ Food service มักมีหน้าที่แบบ Sourcing มากกว่า เพราะไม่ขึ้นตรงกับแบรนด์หรือ Supplier ใดเป็นหลัก เน้นหาผู้ค้าส่งที่ให้ราคาถูกและคุณภาพดีที่สุด จึงมีการสรรหาคู่ค้าไปเรื่อย ๆ เพื่อเก็บลง Portfolio และเปรียบเทียบราคา

Industrial/ Parts and Equipment

จัดซื้ออุตสาหกรรม ชิ้นส่วน หรืออะไหล่ เป็นจัดซื้อให้แก่โรงงาน ทำหน้าที่ Sourcing ผู้ค้าส่งส่วนประกอบสินค้าให้ได้ราคาถูกและคุณภาพดีที่สุด เพื่อนำมาประกอบเป็น Finished product ที่มีราคาต้นทุนต่ำเพื่อให้เหลือส่วนต่างกำไรจากการขายปลีกสูงต่อผู้ประกอบการ

Office supply/ Outsource

มีลักษณะเป็นจัดซื้อ Non-commercial สรรหาและจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน และการสรรหาผู้ให้บริการต่าง ๆ ให้แก่บริษัท เช่น สรรหาติดต่อผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัย, บริการแม่บ้าน, บริการติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นต้น

จัดซื้อลักษณะนี้ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบในการทำเอกสารสัญญา Outsource ต่าง ๆ มีการพูดคุยเจรจาค่อนข้างมากในการตกลงจ้าง Outsource เข้ามาทำงาน

ธุรกิจที่พักอาศัย คอนโด และโรงแรมก็ใช้จัดซื้อลักษณะนี้เช่นกัน

อาชีพจัดซื้อ ต่อยอดสู่นายตัวเอง

จุดเด่นของอาชีพนี้คือการได้รู้จักแหล่งซื้อสินค้าและราคาทุน นอกจากนั้นยังได้รู้ราคาปลีกและสินค้าขายดี อัตรากำไร รวมไปถึงขายที่ไหนและขายให้ใคร

ประสบการณ์เหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงลึกในธุรกิจที่สามารถช่วยให้ผู้ทำงานนำไปพัฒนาธุรกิจส่วนตัวได้หากเขาต้องการจะทำ

ส่วนข้อดีข้อเสียเปรียบเทียบระหว่างงานประจำและธุรกิจส่วนตัวต่อยอดจากการเป็นจัดซื้อคือ

งานประจำ เจ้าของวางระบบไว้ให้คุณหมดแล้ว มีทีมขายและการตลาดคอยสนับสนุนขาขาย มีงบประมาณการจัดซื้อ หน้าที่ของคุณคือเข้ามาดูแลภาค Buying และ Sourcing ให้แก่นายจ้าง บางครั้ง การพัฒนาตัวเองให้ไปถึงระดับ Senior manager กินเงินเดือนหลักแสนบาท อาจสนุกและมีความสุขกับการทำงานแบบ Active มากกว่าการเป็นเจ้าของกิจการด้วยตัวเอง

เจ้าของกิจการ การผันจากลูกจ้างไปเป็นเจ้าของในช่วงเริ่มต้นย่อมมีอุปสรรคด้านงบประมาณและทีมงานที่จำกัด คุณต้องดูแลทั้งขาซื้อและขาขายด้วยตนเองในช่วงปีสองปีแรก คุณต้องทำงานหนักกว่าลูกจ้างแน่นอนหากจะนำพาธุรกิจก้าวผ่านช่วงสตาร์ทอัพไปให้ได้ และแน่นอนว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง รายได้ของคุณมีโอกาสทะยานสู่หลักล้านต่อเดือน มีทีมงานพร้อมสรรพทำงานแทนคุณ และกลายเป็น Passive business model ในที่สุด


และหากคุณชอบใน Content ที่ทาง CEO Blog ได้นำเสนอ ในเร็ว ๆ นี้ ทาง CEO Blog ของเรานั้น กำลังจะมีโปรเจค CEO Premium Content ซึ่งเป็น Content ด้านการค้าปลีกออนไลน์ แบบพรีเมี่ยม ที่หาอ่านไม่ได้บน Blog ปกติของ CEO Blog โดยจะเปิดรับสมัครสมาชิกพรีเมี่ยมในเร็ว ๆ นี้

หากคุณไม่อยากพลาด Content ระดับ Premium สามารถลงทะเบียนเพื่อรับแจ้งข่าวสารได้ที่นี่ก่อนใครเลยครับ รับรองได้เลยว่ามันเป็น Content ระดับพรีเมี่ยมในราคาที่คุ้มสุด ๆ อย่างแน่นอน >>> ลงทะเบียนรับข่าวสารที่นี่ก่อนใครceo premium content