เกิดอะไรขึ้นกับการตลาดเฟสบุ๊คในปี 2019 นี้

เกิดอะไรขึ้นกับกับทำการตลาดบนเฟสบุ๊คในปี 2019? ผมเฝ้าติดตามแบรนด์ประมาณไม่น้อยกว่า 10 แบรนด์ไทย ไซส์ SME คละประเภทธุรกิจ เช่น แบรนด์สื่อ, อีคอมเมิร์ซ ฯลฯ ที่ใช้เฟสบุ๊ค ‘เป็นหลัก’ ในการทำธุรกิจ และแบรนด์ที่ใช้เฟสบุ๊ค ‘เป็นทางผ่าน’ ไปสู่เว็บไซต์ในการทำธุรกิจ อย่างต่อเนื่องแบบ 1 ปีขึ้นไป พบว่า:

– แบรนด์ที่ใช้เฟสบุ๊คเป็นหลัก อัตราการเติบโตของเพจ (Engagement, etc.) อยู่ในระดับคงที่

– แบรนด์ที่ใช้เฟสบุ๊คเป็นทางผ่าน อัตราการเติบโตของเพจคงที่เช่นกัน แต่อัตราการเติบโตในเว็บไซต์ (Web traffic) บางแบรนด์โตเกิน 300% บางแบรนด์โต 80 – 100%

ทั้ง 2 กลุ่มนี้มีการทำงานสม่ำเสมอเหมือนกัน ทำคอนเทนต์ทุกวัน เผยแพร่คอนเทนต์ทุกวัน ทำครบทุกประเภท อาทิ บทความ รูปภาพ วีดีโอ ฯลฯ แบรนด์กลุ่มแรก ทำตามที่เฟสบุ๊คบอกทุกอย่าง แต่ผลลัพธ์คงที่

แบรนด์กลุ่มที่ 2 ทำในสิ่งที่เฟสบุ๊คไม่น่าจะชอบ นั่นคือ ส่งลิงค์ออกไปที่เว็บตัวเอง แต่โตสูงสุดกว่า 300% (จากกลุ่มตัวอย่าง) และ หนึ่งในกลุ่มตัวอย่างมีคนรู้จักเคยเล่าให้ฟังว่า เขาทำเว็บไซต์สร้างรายได้จาก Affiliate marketing และเม็ดเงินที่สะพัดระหว่างเว็บไซต์ปีละหลัก 100 ล้านบาท โดยที่ไม่ยิงโฆษณาเฟสบุ๊คมาเป็นปี ๆ แล้ว

บางคนที่ไม่คุ้นเคยกับการทำเว็บไซต์และ SEO (Search engine marketing) มาก่อนฟังแล้วอาจจะตกใจ แต่ผมได้ยินเหตุการณ์ลักษณะนี้มาพอประมาณ เพราะหลักการสร้างรายได้จากเว็บไซต์มีคอนเซปต์ง่าย ๆ และใช้ได้ตลอดกาล คือ Traffic = Money มีทราฟฟิก ก็มีรายได้ และทราฟฟิกมาในหลายรูปแบบ อาทิ:

แบบที่ 1 คนทั่วไปรู้จักดี คือ Paid traffic หรือ การซื้อทราฟฟิก ได้แก่ Boost post ยิงแอด ต่าง ๆ

แบบที่ 2 Search traffic คือ ทราฟฟิก ที่มาจากการค้นหาบน Google ทราฟฟิกฟรี แต่ทรงพลังอย่างคาดไม่ถึง เพราะเป็น Buyer traffic คือ คนเกิดความต้องการในใจจึงเข้าไปค้นหาสินค้าในกูเกิล ที่เหลือคือการวาง Customer journey ที่พาคนเดินไปสู่การปิดการขาย

แบบที่ 3 Direct traffic นี่ถือเป็น ราชันแห่งทราฟฟิกทั้งปวง เจ้าของ E-Commerce ที่ร่ำรวยอันดับต้น ๆ ของโลก รวยเพราะ Direct traffic ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Zappos, Alibaba, Lazada, Agoda, หรือแม้แต่เว็บสื่ออย่าง HuffPost ฯลฯ

หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่า คนที่ประสบความสำเร็จในการทำ E-Commerce อย่างสูงในระยะยาว ย้ำว่าในระยะยาวนะครับ Range 3 ปีขึ้นไป กลับเป็นกลุ่มที่ 2 และ 3 และในระยะยาวพวกเขา ‘เสียเงินค่าโฆษณาออนไลน์’ น้อยลงเรื่อย ๆ

สรุป เกิดอะไรขึ้นกับเฟสบุ๊ค?

เฟสบุ๊ค เกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นโซเชียลมีเดีย และมันก็ทำหน้าที่ของมันได้ดี แต่ด้วยความที่ธรรมชาติโซเชียลมีเดียมีความเป็น Emotion สูง ดังนั้น กลยุทธ์การตลาดที่ทำสำเร็จวันนี้ อาจไม่ได้ผลในวันพรุ่งนี้ ฉะนั้นไม่ต้องงงว่าเฟสฯ เป็นอะไร เพราะธรรมชาติของมันเป็น Emotional และ Proactive หรือ มีการเปลี่ยนแปลงและต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา

ส่วนช่องทาง อาทิ Google, Youtube (เป็นของ Google), และ Website มีความเป็น Mechanics สูง แม้จะเริ่มต้นยากและมีเรื่องคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้องพอสมควร แต่เมื่อระบบเดินเครื่องแล้ว ผลลัพธ์ทำซ้ำได้ และเป็น Passive

ถึงจุดนี้ก็ต้องหยิบข้อความของ Brandon McCormick โฆษกเฟสบุ๊คตั้งแต่ปี 2014 มาทบทวน “…Advertisers should think of fans as a means to an end, not as the end in themselves…”

———-

สมัคร Free training สอนเคล็ดลับการตลาดออนไลน์แบบ Sales Funnel ที่ลดต้นทุนค่าโฆษณาเฟสบุ๊คสูงสุดถึง 90% คลิกที่นี่เพื่อรับลิงค์วีดีโอทางกล่องข้อความเฟสบุ๊ค

พรพรหม กฤดากร ผู้ก่อตั้ง THE CEO BLOG