PCSL เจาะสูตรสร้างธุรกิจส่วนตัวบนโลกออนไลน์

การตลาดออนไลน์ เป็นอะไรที่กว้างมาก สำหรับคนเพิ่งเริ่มอาจจะจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะเริ่มจากจุดไหน CEOblog จึงสรุปมาเป็นสูตรใช้ง่าย จำง่ายดังนี้

P- Platform

Platform หรือ แพลทฟอร์ม คืออะไร ขออุปมาอุปมัยให้เห็นภาพตัวอย่างก่อน…

วิวัฒนาการของ Platform อาจเริ่มจาก Stage แรกสุด คือตัวผู้ประกอบการยังไม่มีทุน แต่มีทักษะในการผลิตชิ้นงานบางอย่าง เช่น ออกแบบ, ผลิตงานไม้ด้วยตัวคนเดียว, แปลเอกสาร, เขียนโปรแกรม ฯลฯ จึงรับงานในรูปแบบ Freelance

Stage ที่ 2 เมื่อผู้ประกอบการมี Connection มากขึ้นทั้งในฝั่งลูกค้า คู่ค้า และคนที่ทำ Freelance ในสาขาเดียวกันและต่างสาขา จึงเริ่มเป็นคนกลางในการรับโครงการจากลูกค้ามาบริหารต่อในรูปแบบของ Project manager กรณีนี้เริ่มพัฒนามาเป็น Agency โดยการทำงานยังอาศัยการจัดการส่วนตัวโดยอาจมีระบบหรือซอฟต์แวร์บางอย่างในการช่วยบริหารงาน

Stage ที่ 3 คือการสร้าง Platform ส่วนกลางขึ้นมาแล้วให้ผู้ใช้งาน ทั้งในฝั่งของ ลูกค้า และ คู่ค้า หรือ ลูกค้า หรือ ผู้ปฏิบัติงาน มาอยู่ในระบบและทำงานทั้งหมดจนกระบวนการชำระเงินผ่านระบบ โดยเจ้าของ Platform มีรายได้เป็น % จากโครงการนั้น ๆ

Platform เป็นส่วนที่พัฒนายากที่สุด เพราะต้องอาศัยผู้ใช้งานจำนวนมากพอ ทั้งสองฝั่ง ได้แก่ ลูกค้า และ คู่ค้า ให้โตอยู่ในระบบพร้อม ๆ กัน แต่หากทำสำเร็จ Platform จะเป็นเครื่องจักรทำเงินอัตโนมัติให้แก่เจ้าของกิจการ และสามารถใช้ความรู้และเทคโนโลยีไปปั้ม Platform ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้อีกด้วย!

ยกตัวอย่าง Platform แบบดั้งเดิม ได้แก่ Central Department Store, Big C, Tops Supermarket และ 7/11 หรือ ชายสี่หมี่เกี๊ยว

ตัวอย่าง Platform ในยุคอินเตอร์เน็ต

ส่วนด้านล่างคือตัวอย่าง Platform ในสมัยใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยี และอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดขึ้น

ceoblog-pcsl-01

UpWork 

เป็น Platform สำหรับผู้ประกอบการเข้ามาโพสต์ประกาศ และสรรหางานผู้ทำงานแบบฟรีแลนซ์ และฟรีแลนซ์เข้ามาหางาน หรือรับงานที่ลงประกาศไว้ การรับงาน จ่ายเงิน รับเงินจะดำเนินการผ่านระบบ UpWork ทั้งหมด อำนวยความสะดวกแก่ ผู้ประกอบการและคนทำงานฟรีแลนซ์อย่างมาก

ceoblog-pcsl-02

Ebay

เป็นที่รู้จักดีสำหรับคนไทย และคนทั่วโลก Platform ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งมือหนึ่งและมือสองด้วยระบบ ประมูล — แรกเริ่ม Ebay เป็นที่สำหรับคนซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามือสองแบบ C2C หรือ Customer to Customer แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากเริ่มเข้ามาค้าขายสินค้ามือหนึ่งในรูปแบบ B2C หรือ Business to Customer เป็นจำนวนมาก อีกเว็บไซต์ที่คล้ายกันแต่เป็น B2C 100% คือ Amazon.com

ceoblog-pcsl-03

Alibaba

เป็นที่รู้จักดีสำหรับคนไทยเช่นกัน Alibaba เป็น Platform ค้าส่ง ที่ ๆ ผู้ค้าส่งเข้ามาโพสต์สินค้า และผู้ซื้อเข้ามาสรรหาสินค้าและซัพพลายเออร์ เป็นรูปแบบ B2B หรือ Business to Business

Platform เหล่านี้เกี่ยวอะไรกับคุณ

กลับมาที่ตัวคุณผู้ต้องการทำธุรกิจออนไลน์
การใช้ Social media อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, Line@ เป็นการใช้ Platform ของคนอื่น ในขณะที่การสร้างเว็บไซต์เปรียบเสมือนการสร้าง Platform ของตัวเองซึ่งคุณสามารถทำอะไรได้มากมาย ไม่ว่าจะบรรจุระบบ E-Commerce บรรจุระบบ Lead generations ใส่เครื่องมือวัดผลการตลาดออนไลน์ หรือพัฒนาหาโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ มาลงในเว็บไซต์ก็ทำได้ ในขณะที่การใช้พื้นที่ของคนอื่น คุณไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่่ หรือได้ทั้งหมด

เว็บไซต์ เปรียบเสมือนสำนักงานใหญ่บนโลกออนไลน์ของคุณ — ทำธุรกิจ Offline ยังต้องมีสำนักงานใหญ่ แล้วทำ Online จะไม่มีสำนักงานใหญ่ของตัวเองได้อย่างไร!

C- Channels

เว็บไซต์ เป็น Platform และเปรียบเสมือนสำนักงานใหญ่บนโลกออนไลน์ ส่วน Channels คือช่องทางอื่น ๆ เปรียบเสมือนสาขาที่ขยายศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณ

Channels หรือช่องทาง ได้แก่ Facebook, Line@, Instagram, Youtube, Twitter, Linked-In หรือหากคุณมีทรัพยากรมากพออาจลงทุนสร้างเว็บไซต์ย่อย ๆ และ Facebook page เฉพาะของเว็บไซต์ย่อยนั้นแตกออกมาอีกเพื่อเป็นสื่อ หรือ Media ของตัวเองและใช้เป็นฐานประชาสัมพันธ์เว็บไซต์หลักก็ยังได้

ยกตัวอย่าง Chris Drucker

ceoblog-pcsl-04

ceoblog-pcsl-05

ceoblog-pcsl-06

จาก 3 รูปด้านบนจะเห็นว่า รูปที่ 1 และ 2 เป็นเว็บไซต์ www.chrisdrucker.com ซึ่งเขาใช้เป็น Personal branding ในการพูดถึงเรื่องธุรกิจและการบริหารธุรกิจต่าง ๆ โดยในบทความของเขาจะ Tie-in สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ รวมถึงการติดป้ายแบนเนอร์ธุรกิจของตนเองไว้ในเว็บไซต์

รูปที่ 2 ตรงวงกลมสีแดง คืออีกธุรกิจของเขา ชื่อว่า Virtual Staff Finder ซึ่งหากคลิ๊กเข้าไป จะส่งไปยังหน้าเว็บไซต์ www.virtualstafffinder.com — กล่าวคือ เขาใช้เว็บไซต์ Chris Drucker เป็นทั้ง Platform และ Channels ในการเป็นสื่อ และทำการตลาดให้กับ Platform ธุรกิจอื่น ๆ ที่เขามีอยู่ในมือ

กลับมาที่คุณ…

ทั้งนี้ คุณไม่จำเป็นต้องครอบครองทุกช่องทาง โดยเฉพาะในช่วงแรกหากทรัพยากรยังมีจำกัดให้โฟกัสในช่องทางที่ถนัดสัก 2 ช่องทาง มีตัวหลัก และตัวรอง อาทิ มี Facebook และ Line@ หรือจะมี Facebook และ Youtube เป็นต้น เพราะกฎของการทำ Content คือต้องสม่ำเสมอ หากมีหลายช่องทางคุณอาจดูแลไม่ทัน

S- Search Engine

ในช่วงแรกคุณอาจใช้ Social media เป็นช่องทางสร้างการรับรู้ แต่ในระยะยาวคุณต้องการให้คนเป็นฝ่ายอยากรู้จัก หรือค้นหาคุณเจอด้วยตัวของพวกเขาเอง ดังนั้นการที่เนื้อหาใด ๆ ของคุณติด Search engine หน้าต้น ๆ หรืออันดับแรก ๆ จะช่วยนำพา Organic search traffic เข้าเว็บไซต์คุณฟรี ๆ ตลอดไป

หนึ่งในวิธีทำให้ข้อมูลธุรกิจของคุณติด Search engine คือการมีเนื้อหาบรรจุลงเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ

ถามว่า เขียนเนื้อหาลง Facebook มีโอกาสติด Search engine ไหม — มี.. แต่น้อย — เพราะ Google search engine ไม่นิยมแสดงผลเนื้อหาที่มาจาก Facebook จะแสดงประปราย และแสดงหน้าโปรไฟล์ หรือหน้า Facebook Page หลัก ๆ ของคุณ แต่จะไม่เก็บข้อมูลและไม่แสดงรายละเอียดบทความดี ๆ ที่คุณเขียนลง Facebook page ตลอดปี ๆ ที่ผ่านมา

ดังนั้น.. หากต้องการให้ธุรกิจของคุณถูกหาเจอบน Google search engine ต้องสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายและบันทึกลงเว็บบไซต์ของคุณเป็นหลัก หากต้องเผยแพร่ลง Facebook ให้ใช้วิธี Linked post ลง Facebook ส่งคนเข้าเว็บไซต์ ได้ทั้ง Traffic เข้าเว็บไซต์ และสามารถเอา Traffic ไปเก็บเป็น Facebook conversion pixel เพื่อทำโฆษณาแบบ Re-Targeting ต่อได้

L- Lead Generation

แปลว่ากระบวนการทำให้ผู้มุ่งหวังเป็นฝ่ายอยากรู้จัก อยากได้ข้อมูลจากคุณด้วยตัวของเขาเอง อันจะต่างจากการ Cold call ที่คุณกดโทรศัพท์ไปหาคนไม่รู้จักเพื่อเสนอขายสินค้าและบริการ

การ Cold call มีอัตรา Conversion rate ที่ต่ำ จึงเป็นกระบวนการที่อาศัยจำนวนในการโทรออกไปหาผู้คนเป็นหลัก ในขณะที่ Lead generation จะมีขั้นตอนการสร้างการรับรู้ สนใจ และเชื่อใจพอที่จะขอรับข้อเสนอบางอย่างจากคุณ เช่น คู่มือ วีดีโอคลิป ล็อกอินเข้าชม Webinar ฟรี หรือรับ Session ที่ปรึกษาฟรี 30 นาที ฯลฯ เป็นต้น เพื่อแลกกับ ชื่อ เบอร์โทร และอีเมล์ของพวกเขา หลังจากนั้นคุณจะสามารถโทรไปเสนอขายสินค้าและบริการอื่น ๆ จากเขาได้โดยไม่ต้องคอยยิงโฆษณาทาง Facebook หรือ Google AdWord อยู่เรื่อยไป

Lead Generation เป็นกระบวนการทำงานที่อเมริกานิยมมาก ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ค่อยนิยมทำ หากคุณวางระบบดี ๆ เว็บไซต์และธุรกิจออนไลน์ของคุณจะมีความเป็นระบบมากขึ้น

ตัวอย่าง Lead Generations

1. โพสต์โฆษณาสินค้าและบริการด้วยคีย์เวิร์ด FREE ลงใน Facebook เพื่อส่งคนเข้าเว็บไซต์

ldg-01

2. หน้าเว็บไซต์นี้เรียกว่า Landing page ยังไม่มีการขายใด ๆ แต่เป็นไปเพื่อเก็บ Contact list ของผู้สนใจ ปุ่ม ‘Send Me On Board’ สีส้ม นักการตลาดเรียกว่า Call-to-Action

ldg-02

3. เมื่อกดปุ่ม Call-to-Action หรือ CTA ดังกล่าว จะปรากฏกล่องใส่ข้อมูลผู้สนใจ อันนี้เรียกว่า Opt-in Form โดยฟอร์มนี้มีผู้ให้บริการฟอร์มสำเร็จรูปมากมายในอินเตอร์เน็ต อาทิ Unbounce, Lead Pages เป็นต้น

ส่วนระบบเก็บอีเมล์ จะแยกกันโดยคุณสมัครกับผู้ให้บริการ Email Marketing Provider อาทิ Get Response, Mail Chimp, Convert Kit เป็นต้น — ปล. Email marketing provider ก็มีฟอร์มสำเร็จรูปให้คุณใช้
ldg-03

เมื่อได้ Contact มาแล้ว คุณสามารถสื่อสารกับผู้สนใจผ่านทางอีเมล์ หรือโทรศัพท์โดยไม่ต้องคอยยิงโฆษณาซ้ำ ๆ ไปหากลุ่มคนเดิม ๆ ทุกครั้งไป