อาการหัวเราะและร้องไห้ เป็นอาการปกติในชีวิตมนุษย์เมื่อพบเจอกับเรื่องขำขันและเรื่องเสียใจ เมื่อมีเหตุการณ์มากระทบอารมณ์ไม่ว่าจะตลกหรือเศร้า ทุกคนย่อมหัวเราะหรือร้องไห้ไปตามความรู้ แต่หากคุณพบเห็นคนที่แสดงอาการโดยไม่สัมพันธ์กับความรู้สึก เช่น เจอเรื่องตลกแต่กลับร้องไห้ หรือ เจอเรื่องเศร้าแต่กลับหัวเราะอย่างควบคุมตัวเองไม่ได้ คนเหล่านั้นอาจกำลัง ป่วยเป็นโรค PBA
โรค PBA คืออะไร
PBA ย่อมาจาก Pseudobulbar affect ในอเมริกามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 1 ล้านคน; โรค PBA คือ อาการ หัวเราะ หรือ ร้องไห้ อย่างควบคุมไม่ได้ และไม่สัมพันธ์กับอารมณ์ในขณะนั้น อาการที่เด่นชัดมี 5 อาการ ได้แก่ :
- อาการ หัวเราะ หรือ ร้องไห้ อย่างรุนแรงและควบคุมไม่ได้
- หัวเราะ หรือ ร้องไห้ โดยไม่สัมพันธ์กับอารมณ์และสถาการณ์ในขณะนั้น
- แสดงอาการต่อเนื่องนานอย่างผิดปกติ
- ตามมาด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวอันไม่สัมพันธ์กับอากัปกิริยาที่กำลังเป็นอยู่
- การแสดงออกทางสีหน้าอันไม่สัมพันธ์กับอากัปกิริยาที่กำลังเป็นอยู่
- อาการเกิดขึ้นหลายครั้งในแต่ละวัน
อาการทั้งหมดนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน กล่าวคือ ไม่ต้องมีเรื่องตลกหรือเศร้างก็เกิดอาการได้ นอกจากนั้นยังสามารถ หัวเราะในขณะที่กำลังเผชิญเรื่องเศร้าได้เช่นกัน เป็นเหตุให้ผู้ป่วยโรคนี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น โรคเศร้าซึม หรือ แม้แต่ โรคไบโพลา
PBA อาจไม่ได้สร้างความเจ็บปวดต่อร่างกายมากนัก แต่ส่งผลกระทบรุนแรงทางใจมากกว่า ได้แก่ ทำให้บุคคลมีความอับอาย ขาดความมั่นใจ วิตกจริต ปฏิเสธสังคม เก็บตัว และกลายเป็นโรคทางจิตใจอื่น ๆ ตามมา เช่น เศร้าซึม เป็นต้น
โรค PBA มีสาเหตุจากอะไร
โรค PBA เกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วน Prefrontal cortex ซึ่งควบคุม อารมณ์ โดยความผิดปกติอาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ ความผิดปกติของสารเคมีในระบบประสาทที่ทำหน้าเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์, การได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง, และโรคที่เกี่ยวกับสมองที่รักษาโรคหลักเสร็จแล้วกลับไปมีผลข้างเคียงให้พัฒนาไปสู่ PBA
6 สาเหตุอันดับต้น ๆ นำไปสู่โรค PBA ที่พบบ่อย ได้แก่ :
- เนื้องอกของสมอง
- โรคจิตเสื่อม (Dementia)
- โรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple sclerosis)
- รู้จักโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS)
- โรค พาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- การกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง
วิธีรักษาโรค PBA
โรค PBA อาจวินิจฉัยยากเพราะมักสับสนกับโรค เศร้าซึม และ ไบโพลา ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยจะทำการ สัมภาษณ์พฤติกรรมและเข้าเครื่องสแกนกระแสไฟฟ้าในสมองเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข้าข่ายเป็นโรค PBA ก่อนเข้ารับการรักษาอย่างเป็นทางการ โดยในสหรัฐอเมริกา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะรักษาด้วยยา Dextromethorphan/ Quinidine (Nuedexta) ซึ่งเป็นตัวยาที่ได้รับการรับรองโดย องค์การอาหารและยาสหรัฐ ตั้งแต่เมื่อปี 2010
วิธีดูแลและบำบัดตัวเองสำหรับผู้ป่วย PBA (ประกอบการรักษาของแพทย์)
- บอกกับผู้คนรอบข้างเพื่อให้พวกเขาเข้าใจล่วงหน้าว่าคุณป่วย
- เมื่อรู้สึกตัวว่ากำลังจะมีอาการ ให้เปลี่ยนอิริยาบท เช่น ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปมาอย่างผ่อนคลาย
- ประคองสติ หายใจเข้าและออกอย่างช้า ๆ ผ่อนคลาย เพื่อลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
อ่านเพิ่มเติม :
6 สัญญาณเสี่ยงเป็นโรค PBA; โรคหัวเราะไม่หยุด
โจ๊กเกอร์ เป็นโรคอะไร : ทำความรู้จัก PBA โรคหัวเราะไม่หยุด
==========
Appendix : webmd.com