3 สิ่งที่คุณเรียนรู้จาก Warren Buffett หลังฉีกกฏการลงทุนสู่ธุรกิจไฮเทค

Warren Buffett’ ฉายา ‘Oracle of Omaha’ เป็นที่ยอมรับในฐานะพ่อมดแห่งโลกการลงทุนผู้หยิบจับหุ้นตัวใดก็เป็นเงินเป็นทองไปเสียหมด เขาเป็นเจ้าของบริษัท Berkshire Hathway ธุรกิจที่เข้าไปถือครองหุ้นในธุรกิจต่าง ๆ ทั้ง Public และ Private Sector บริหารหุ้นเอาชนะ S&P 500 และกองทุนต่าง ๆ แบบขาดลอยตลอดช่วงอายุการดำเนินงาน ปัจจุบันมูลคค่าทรัพย์สินของเขาประมาณ 65 พันล้านเหรียญ หรือกว่า 2 ล้านล้านบาท เป็นคนรวยอันดับท็อป 5 ของโลกมานับทศวรรษ

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา Warren Buffett ขึ้นชื่อเรื่องความสันโดษและสมถะ อาศัยอยู่ในบ้านหลังเก่าที่ซื้อไว้เมื่อปี 1958 ขับรถเก๋งธรรมดา ๆ กินเบอร์เกอร์และโค้ก ใช้สินค้าอุปโภคบริโภคจากผู้ผลิตที่เขาลงทุนด้วย ไม่นิยมอุปกรณ์ไฮเทค ชอบอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์และอ่านงบการเงินบริษัทต่าง ๆ ด้วยตนเอง

หลีกเลี่ยงหุ้นไฮเทคมาโดยตลอด

ความสมถะสะท้อนออกมายังแนวทางการลงทุน โดยเขาชอบลงทุนในหุ้นธุรกิจเก่าแก่ เข้าใจง่าย เป็นสิ่งที่คนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ที่โกนหนวด เครื่องปรับอากาศ ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการเงินและประกันภัย ฯลฯ และมักหลีกเลี่ยงการลงทุนในธุรกิจไฮเทคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

ความเป็นพ่อมดแห่งตลาดหุ้นยิ่งฉายชัด ในช่วง Dot Com Bubble ของอเมริกา หรือระหว่าง 1995-2001 หุ้นไฮเทคและธุรกิจอินเตอร์เน็ตจำนวนมากจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้น ราคาหุ้นขึ้นสูง เกิดเศรษฐีรวยหุ้นใหม่จำนวนมาก แต่ Warren Buffett ยังคงรักษาจุดยืนตนเองอย่างเข้มแข็ง ไม่กระโดดเข้าไปเล่นหุ้นไฮเทค และเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่รอดพ้นการล่มสลายของหุ้นในช่วงพังทลายของ Dot Com Crash

แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Warren Buffett เริ่มมีการลงทุนในธุรกิจไฮเทค ธุรกิจที่เกิดใน Silicon Valley (แหล่งรวมบริษัทสตาร์ทอัพอันดับต้น ๆ ของโลก) มากขึ้นจนเป็นสนใจของผู้ติดตาม และเกิดเป็น 3 สิ่งที่ผู้ติดตามได้วิเคราะห์และเรียนรู้กัน

1. เล่นเกมส์ที่ตนถนัด แต่อย่าลืมอัพเลเวลตามประสบการณ์

Warren Buffett เป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่า (Value investor) หลักการลงทุนคือ หาหุ้นที่มีราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของธุรกิจ และซื้อเก็บไว้เพื่อรอวันที่ราคาตลาดจะสะท้อนมูลค่าพื้นฐาน โดยระหว่างรออาจมีรายได้จากเงินปันผล หุ้นเหล่านี้มักอยู่ในกลุ่มธุรกิจเก่าแก่และเป็นปัจจัยพื้นฐานของสังคมดังที่ยกตัวอย่างไป ได้แก่ ของกินของใช้ในชีวิตประจำวัน และเขาประสบความสำเร็จในการลงทุนลักษณะอย่างมาก โดยอาศัย ความอดทน ในการรอโอกาส และมีหัวใจที่ทนต่อการเห็นความผันผวนของหุ้นตนเอง และทนต่อความล่อใจของหุ้นในกลุ่มที่ร้อนแรงกว่าราคาดีดขึ้นเอา ๆ ในหลายช่วงเวลาระหว่างรอคอย

การทุ่มซื้อหุ้น Apple

ในแต่ในที่สุด Warren Buffett ก็ขยับมาเล่นกลุ่มไฮเทค โดยลงทุนนับพันล้านเหรียญในหุ้นบริษัท IBM และ Verizon รวมไปถึงการลงทุนถึง 1 พันล้านเหรียญเพียว ๆ กับบริษัท Apple ในปี 2011

ผู้ติดตามการลงทุนของ Warren Buffett สันนิษฐานว่า แม้ Apple จะเป็นธุรกิจไฮเทค และครั้งหนึ่งเคยเป็นหุ้นกลุ่ม Growth Stock แต่ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยาวนานของบวกกับสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอย่าง ‘แบรนด์ ของ Apple’ ที่แข็งแกร่งอย่างสัมผัสได้ ทำให้วันนี้มันกำลังเข้าสู่การเป็นบริษัทที่มีความเสถียร และน่ามีไว้ในพอร์ตโฟลิโอยาว ๆ

การลงทุนในธุรกิจ Wearable Tech

Wearable Tech คืออะไร?…
คือผลิตภัณฑ์สวมใส่ ได้แก่ เสื้อผ้า นาฬิกา แว่นตา รองเท้า ส่วน Wearable tech คือเครื่องสวมใส่ดังกล่าวที่เพิ่มอุปกรณ์ไฮเทคอยู่ภายใน ยกตัวอย่าง Apple Watch, Google Glass, Nike Fuelband Fitness Tracker เป็นต้น

กรณีของ Warren Buffett ได้มีการขยับไปลงทุนใน Wearable Tech แต่เจาะย่อยลงไปในกลุ่ม Smart Jewellry ผ่านหุ้นของบริษัท Richline Group โดยตัวเขาให้เหตุผลผ่านสื่อ CNBC ในทำนองว่า..

แม้จะลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี แต่ Richline Group มีความเป็นธุรกิจเครื่องประดับเป็นแก่น มีการต่อยอดสู่เทคโนโลยีเป็นกิ่งก้านสาขา Richline Group ทำสิ่งที่เก่งอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น โดยประโยคเป๊ะ ๆ ที่เขาบอกกับ CNBC คือ…

“…Jewelry is a centuries-old business that isn’t going anywhere, so it’s a safe bet. With the addition of technology, we’re simply updating something everyone knows and loves to better fit our modern age…”

(Source: http://www.cnbc.com/2017/02/08/warren-buffett-berkshire-hathaway-wearables-era.html)

แปลว่า… “เครื่องประดับเป็นธุรกิจเก่าแก่ของโลก และมันจะไม่หายสาปสูญไปไหน ดังนั้นมันจึงเป็นธุรกิจที่ปลอดภัย และเมื่อมาประกอบกับเทคโนโลยี มันก็เป็นการทำในสิ่งที่คนชอบอยู่แล้วให้เขาชอบยิ่งขึ้นโดยปรับให้ทันกับยุคสมัยใหม่”

จะเห็นได้ชัดว่า Warren Buffett และ Richline ต่างเล่นในเกมส์ที่ตนเองถนัด แต่แค่ยกระดับ หรือ Level Up ตัวเองขึ้นตามประสบการณ์และยุคสมัย

2. เรียนรู้จากความผิดพลาด

พ่อของ Warren Buffett เป็นนักลงทุนอยู่แล้วและเปิดบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำให้ตัวของ Warren Buffett เองมีโอกาสได้ลงทุนครั้งแรกตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี โดยซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งในราคา 38 เหรียญและขายออกไปในราคา 40 เหรียญ หลังจากนั้นหุ้นก็พุ่งต่อไปที่ 200 เหรียญ ทำให้เขาได้บทเรียนครั้งแรกทันทีจากการเสียโอกาสเพราะขายหุ้นเร็วเกินไป เป็นบทเรียนที่สอนให้เขารู้จักคำว่า ‘อดทน’

ต่อมาเขาซื้อหุ้นธุรกิจ Hochschild Kohn เพราะเขาพบว่ามันเป็นธุรกิจที่โอเคในราคาที่ถูกแสนถูก แต่หลังจากถือครองมาถึง 3 ปี ราคามูลค่าไปขยับไปไหน ไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น และต้องขายออกไปในราคาเดิม

Hochschild Kohn คือบทเรียนที่สอนให้เขารู้ว่าการลงทุนแบบ Value Investor จ๋าจนเกินไปแบบ Ben Graham ผู้เป็นอาจารย์ของเขาอาจไม่เหมาะกับยุคสมัย เขาจึงเรียนรู้ที่จะสนใจหุ้นที่มีโอกาสเติบโตดีกว่าจนถึงกับบอกว่า เขายินดีที่จะลงทุนในกิจการที่ยอดเยี่ยมในราคาที่พอรับได้ มากกว่าที่จะลงทุนในกิจการที่พอรับได้ในราคาที่ยอดเยี่ยม

ด้วยบทเรียนทั้งสองที่เขาเจอมา ทำให้เขาพัฒนาสู่การเป็นลูกผสมระหว่าง Value investor บวกกับ Growth investor กล่าวคือการดูตัวเลขทางการเงินอย่างละเอียด แต่ก็ไม่ลืมที่จะดูในแง่ของโอกาสและการเติบโตในอนาคตของกิจการ รวมไปถึงการนำสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่าง แบรนด์ เข้ามาพิจารณาด้วย

3. รวยแล้วต้องทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น

Warren Buffett เป็นคนประหยัด แต่ไม่ใช่การตระหนี่
เขารู้จักการใช้เงินในชีวิตประจำวันและสะท้อนในพฤติกรรมการลงทุน แต่ในเรื่องการพัฒนาสังคม เขาเป็นคนที่ลุยเต็มที่กับเรื่องภาษีคนรวย การบริจาคเงินเพื่อช่วยให้คนมีโอกาส และร่วมสร้างสังคมให้น่าอยู่

Warren Buffett มีความเชื่อพร้อมกับสนับสนุนให้คนรวยควรจ่ายภาษีอย่างเต็มที่ ชอบสนับสนุนงานสังคมสงเคราะห์และงานมูลนิธิต่าง ๆ ต่อมาในปี 2010 เขาพัฒนาโครงการ The Giving Pledge รวมกับ Bill และ Melinda Gates เพื่อผลักดันให้คนรวยในอเมริกาหันมาบริจาคเงินผู้ช่วยเหลือคนด้อยโอกาสในทุก ๆ ด้าน อาทิ เด็กด้อยโอกาสการศึกษาเพราะยากจน, ผู้ขาดโอกาสการศึกษาเพราะติดคุก, คนยากจนไร้บ้าน, สัตว์ที่เจ็บป่วยถูกทำร้าย ฯลฯ

โครงการ The Giving Pledge ได้รับการตอบรับจากเศรษฐีมากมาย อาทิ Mark Zuckerberg, George Lucas ผู้สร้าง Star Wars, Hamdi Ulukaya เจ้าของแบรนด์โยเกิร์ต Chobani และ Brad Keywell ผู้ร่วมก่อตั้ง Groupon ฯลฯ อีกมากมาย


และหากคุณชอบใน Content ที่ทาง CEO Blog ได้นำเสนอ ในเร็ว ๆ นี้ ทาง CEO Blog ของเรานั้น กำลังจะมีโปรเจค CEO Premium Content ซึ่งเป็น Content ด้านการค้าปลีกออนไลน์ แบบพรีเมี่ยม ที่หาอ่านไม่ได้บน Blog ปกติของ CEO Blog โดยจะเปิดรับสมัครสมาชิกพรีเมี่ยมในเร็ว ๆ นี้

หากคุณไม่อยากพลาด Content ระดับ Premium สามารถลงทะเบียนเพื่อรับแจ้งข่าวสารได้ที่นี่ก่อนใครเลยครับ รับรองได้เลยว่ามันเป็น Content ระดับพรีเมี่ยมในราคาที่คุ้มสุด ๆ อย่างแน่นอน >>> ลงทะเบียนรับข่าวสารที่นี่ก่อนใครceo premium content