Travis Kalanick ผู้ให้กำเนิด Uber อาจจะเทขายกิจการที่สร้างมากับมือทั้งหมด

วันที่ 18/12/19 Forbes รายงาน Travis Kalanick ผู้ร่วมก่อตั้ง และ อดีตซีอีโอ Uber ธุรกิจแอพพลิเคชั่นเรียกรถบริการรายใหญ่ที่สุดของโลก เทขายหุ้น Uber ไปแล้วถึง 90% และอาจมีความเป็นไปได้ที่จะขายต่อจนไม่เหลือแม้แต่หุ้นเดียว

สืบเนื่องจากกรณี Uber ทำ Initial Public Offering (IPO) เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2019 โดยกฏระเบียบของ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดว่า กลุ่มผลประโยชน์ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการตั้งแต่ก่อนการ IPO อาทิ ผู้ร่วมก่อตั้ง และ นักลงทุนนอกตลาด จะต้องถูกควบคุมอยู่ภายใต้สถานะ Lockup Period คือ ห้ามซื้อขายหุ้นในตลาด เป็นเวลา 180 วัน

กรณีนี้ กลุ่มผลประโยชน์ ของ Uber สิ้นสุด Lockup period ไปเมื่อ ต้นเดือน พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ Travis Kalanick ผู้ร่วมก่อตั้ง และ อดีตซีอีโอ ของ Uber เริ่มเทขายหุ้นทันที โดย 2 ล็อตแรกถูกเทขายเป็นมูลค่าสูงถึง 711 ล้านดอลลาร์

ล่าสุด Forbes รายงานว่าตั้งแต่ ต้นเดือนพฤศจิกายน จนถึง กลางเดือนธันวาคม 2019 Travis Kalanick เทขายหุ้น Uber สะสมกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 90 ล้านหุ้น คิดเป็น สัดส่วน 90% ของหุ้นที่เขามีอยู่

ทางด้านผู้ร่วมก่อตั้งอีกคน ชื่อ Garrett Camp ก็ได้เทขายหุ้น Uber จำนวน 50 ล้านดอลลาร์ และ แจกจ่ายหุ้นจำนวน 225 ล้านดอลลาร์ ให้แก่หน่วยงานที่ไม่ถูกเปิดเผย

Forbes แสดงความเห็นว่ากิจกรรมการขายหุ้นอย่างมโหฬารของผู้ร่วมก่อตั้งทั้งสองเป็นเรื่องที่ผิดวิสัย และอาจมีความเป็นไปได้ว่า Travis Kalanick จะเทขายหุ้นทั้งหมดจนไม่เหลือความเป็นเจ้าของบริษัท Uber อีกต่อไป

อย่างไรก็ดี ทั้ง Travis Kalanick และ Garrett Camp ต่างไม่แสดงความเห็นใด ๆ ต่อสื่อเกี่ยวกับการขายหุ้นจนเกือบหมดหน้าตักของพวกเขา

ส่วนทางด้าน Uber เอง — หลังเข้าตลาดหลักทรัพน์ก็มีเรื่องไม่สู้ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นข่าวการถูกแบนการทำกิจการในประเทศต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ และ ราคาหุ้นที่ต่ำกว่าราคา IPO มานับตั้งแต่เข้าตลาด ในขณะที่ Travis Kalanick กลับมีความเคลื่อนไหวในการเปิดธุรกิจใหม่ ๆ อย่างมีนับสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นข่าวจับมือกับนายทุนใหญ่ก่อตั้งกองทุนสตาร์ทอัพ ชื่อ กองทุน 10100 และการก่อตั้งธุรกิจกสตาร์ทอัพตัวใหม่ ชื่อ Cloud Kitchen ที่มีโมเดลธุรกิจคล้าย UberEats ในเครือ Uber อย่างมาก

การเทขายหุ้นราวกับจะทิ้งบริษัทในครั้งนี้มี 3 ข้อสันนิษฐาน ได้แก่ :

  • ความขัดแย้งภายในจน Kalanick ถูกกดดันให้ลาออกจากการเป็น ซีอีโอ ของบริษัทตัวเองในปี 2017 ที่อย่างไม่จางหายไปในใจของเขา
  • กอปรกับ Kalanick อาจมองเห็นอนาคตบางอย่างของบริษัท Uber
  • และต้องการเงินลงทุนจำนวนมากในการสร้างกิจการใหม่ของตัวเอง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ Travis Kalanick

อดีตซีอีโอ Uber เทขายหุ้นกว่า 700 ล้านดอลลาร์ มูลค่า Uber ร่วงระเบิดเทิดเทิง 35%

Travis Kalanick อดีตซีอีโอ Uber ระดมทุน 400 ล้านดอลลาร์ เปิดธุรกิจใหม่แข่งกับ Uber Eats 

Travis Kalanick ก่อตั้งบริษัทกองทุน เล็งปูพรมซื้อกิจการในจีนและอินเดีย

Travis Kalanick ทิ้ง Uber เผยนักลงทุนรุมกดดันให้ลาออกจากบริษัทที่ตนปั้นมากับมือ



อ้างอิง

https://www.forbes.com/sites/bizcarson/2019/12/18/uber-travis-kalanick-sells-most-of-his-shares/https://www.forbes.com/sites/bizcarson/2019/12/18/uber-travis-kalanick-sells-most-of-his-shares/