Travis Kalanick ทิ้ง Uber เผยนักลงทุนรุมกดดันให้ลาออกจากบริษัทที่ตนปั้นมากับมือ

สำนักข่าวใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ The New York Times และ CNBC รวมไปถึงสำนักข่าวอื่น ๆ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า Travis Kalanick ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ผู้เป็นหัวหอกคนสำคัญของบริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าทางธุรกิจคิดเป็นเงินไทยโดยประมาณมากกว่า ‘2 ล้านล้าน-บาท’ ได้ตัดสินใจ ลาออกจากการเป็น CEO ของ Uber แล้วเมื่อวันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2017 (มูลค่าธุรกิจ สันนิษฐานโดย CNBC ณ ปี ค.ศ. 2016 )

Travis Kalanick เผยแก่ผู้สื่อข่าวว่า การลาออกในครั้งนี้เกิดจากแรงกดดันอย่างรุนแรงโดยกลุ่มผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 5 กลุ่มได้รวมตัวกันและเห็นชอบให้เขาลาออกจากการบริหาร ซึ่งล้วนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของ Uber ทั้งสิ้น โดยหนึ่งในนั้นมีบริษัท Benchmark Venture Capital Firm, ที่เป็นนายทุนระดับตัวท็อปของบริษัทและสนิทกับกลุ่มประธานบอร์ดของบริษัทอยู่ด้วย

กลุ่มนักลงทุนต่าง ๆ ที่ต้องการขับไล่ Travis เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนหุ้นสูงถึง 40% ของบริษัท ทำให้มีอำนาจเสียงมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริหารบางอย่าง

กลุ่มนักลงทุนได้ทำหนังสือเรื่องการขอให้ Travis Kalanick ลาออกจากตำแหน่งตรง ๆ ส่งไปหาเขาในขณะที่เขากำลังลาพักร้อนเพื่อรักษาสภาพจิตใจจากปัญหาที่เผชิญมาตลอดทั้งปีที่ผ่านมา Travis ใช้เวลาปรึกษากับประธานบอร์ดของบริษัทไม่นานก็ ตกลง และตัดสินใจยุติบทบาทของตนในตำแหน่ง CEO ของบริษัท โดยเขาเผยความในใจเป็นครั้งสุดท้ายต่อสื่อว่า…

“…I love Uber more than anything in the world and at this difficult moment in my personal life I have accepted the investor’s request to step aside so that Uber can go back to building rather than be distracted with another fight…”

สาเหตุการลาออก

Uber ก่อตั้งในปี 2009 โดย Travis Kalanick และ Garrett Camp เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่ได้รับการกล่าวถึงในแง่ของการเติบโตเร็ว และได้รับการจัดอันดับให้เป็นสตาร์ทอัพระดับ Unicorn คือมีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญขึ้นไปโดยที่ยังไม่ได้เข้าตลาดหุ้น แต่หลังม่านความสำเร็จกลับเต็มไปด้วยปัญหาเรื้อรังมากมาย ได้แก่

ปัญหาในองค์กร :

ด้วยขนาดองค์กรที่ใหญ่และเติบโตเร็วจึงมีปัญหาเรื่องการปรับตัวของคน Uber เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนของคนจำนวนมาก แม้แต่บุคลากรในระดับบริหารก็ยังถูกไล่ออกหรือลาออกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี รวมไปถึงปัญหาเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นภายใต้ชายคา Uber ที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ปัญหาละเมิดลิขสิทธ์ :

Waymo บริษัทลูกของ Google ได้ทำการฟ้องร้อง Uber ข้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ก่อให้เกิดการเพ่งเล็งเรื่องความซื่อสัตย์โปรงใสของแบรนด์ตามมา ซึ่งบริษัทแรกในชีวิตที่ Travis เคยร่วมก่อตั้งก็โดนคดีละเมิดลิขสิทธิ์จนถึงขั้นต้องตั้งสถานะล้มละลายให้บริษัทตนเองเพื่อให้พ้นคดีกันทีเดียว

ปัญหาด้านกฏหมาย :

Uber มีปัญหาด้านกฏหมายมากมายในหลายประเทศ ปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขและเริ่มเรื้อรัง อาทิ ในประเทศไทยก็ยังมีปัญหากับภาครัฐ และเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแท็กซี่และคนขับ Uber ที่ฝังรากลึกจนเกินเยียวยา

ปัญหาด้านการเงิน :

เป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ เพราะแม้จะมีมูลค่า หรือ Valuation สูงแค่ไหนแต่หากบริษัทไม่ทำกำไร สุดท้าย มูลค่า นั้นก็จะพังทลายลงมาพร้อมกับเงินของนักลงทุนก็จะมลายหายไปเช่นกัน โดยตลอดเวลา 8 ปีนับจากก่อตั้งจนวันที่ Travis K. ลาออก บริษัทได้ระดมทุนไปแล้วถึง 11,000 ล้านเหรียญฯ หรือราว ๆ 370,00 -390,000 ล้านบาท บริษัทประสบความสำเร็จในแง่ของการ Scale หรือขยายธุรกิจ แต่บริษัทยังไม่ทำกำไร และมีอัตรการขาดทุนอย่างหนักติดต่อกันตั้งแต่ปี 2012

ผลประกอบการรายงานโดย Bloomberg ระบุว่าในปี ค.ศ 2016…

  • Uber มี Gross bookings: 20,000 ล้านเหรียญฯ เติบโต 2 เท่าเทียบกับปี 2015
  • โดยมี Net revenue: 6,500 ล้านเหรียญฯ ยังไม่รวมรายได้ในประเทศจีน
  • แต่ขาดทุนสุทธิ 2,800 ล้านเหรียญฯ

รายได้แต่ละไตรมาสของแต่ละปี
(หน่วย : ล้านเหรียญ)

Image: http://uk.businessinsider.com/uber-leaked-finances-accounts-revenues-profits-2017-2

ยอดขาดทุนของแต่ละปี
(หน่วย : ล้านเหรียญ)

Image: http://uk.businessinsider.com/uber-leaked-finances-accounts-revenues-profits-2017-2

ประวัติย่อ Travis Kalanick

Travis Kalanick เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1976 โดยตัวเขาเป็นหนึ่งในแก๊ง School Dropout หรือ โดดเรียนมารวย เช่นเดียวกับ ฺBill Gates, Steve Jobs, และ Mark Zuckerberg

Travis ดรอปจาก University of California, Los Angeles เมื่อตอนอายุ 22 ปีเพื่อมาช่วยเพื่อนก่อตั้ง Scour ซึ่งเป็นเว็บไซต์ประเภทฝากและแลกเปลี่ยนไฟล์ออนไลน์ แต่ภายหลังดำเนินกิจการได้ 2 ปีก็ถูกบริษัท the Motion Picture Association of America, บริษัท the Recording Industry Association of America (RIAA), และบริษัท the National Music Publishers Association รวมตัวกันฟ้องข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์สูงถึง 250,000 ล้านเหรียญ ทำให้ Scour ต้องปิดตัวและทำสถานะล้มละลายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกฟ้อง

ปี 2001 Travis ร่วมก่อตั้ง Red Swoosh เว็บไซต์ประเภทฝากและแลกเปลี่ยนไฟล์ออนไลน์ แม้คราวนี้จะไม่มีปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์และสามารถขยายฐานผู้ใช้งานได้ แต่พวกเขาไม่มีรายได้เข้ามาเลยตลอด 3 ปีแรก ไม่มีเงินเดือน ต้องอาศัยอยู่กินกับพ่อแม่ ฯลฯ จนกระทั่งในปี 2007 บริษัท Akamai Technologies ได้เข้าซื้อบริษัทในราคา 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปี 2008 เกิดไอเดียทำ Uber ในขณะที่ Travis Kalanick และ Garrett Camp กำลังเดินทางอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาประสบปัญหาในการเรียนรถแท็กซี่และเกิดความว่าคงจะดีถ้าสามารถเรียกแท็กซี่ได้ดั่งใจนึกเพียงแค่จิ้มปุ่มบนสมาร์ทโฟน และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่พวกเขานำกลับมาคิดต่อยอดสู่ Application Uber บริการ Share-ride ที่เติบโตเร็วและขยายตัวไปทั่วโลก

Uber เป็น Startup Unicorn หรือบริษัทที่มีมูลค่าธุรกิจหลัก ‘พันล้านเหรียญ’ โดยที่ยังไม่เข้าตลาดหุ้น ในขณะที่ Travis Kalanick ถูกกดดันให้ลาออกจากการบริหารในบริษัทที่ตนเองปั้นมากับมือในวันที่ 20 มิถุนายน 2017 โดยยังได้รับการอนุโลมให้มีชื่ออยู่ในบอร์ดบริษัท และต้องช่วยเรื่องการคัดเลือกทีมบริหารจนกว่าจะได้ทีม Chief ชุดใหม่อันได้แก่ Chief Executive (CEO) และ Chief Finance (CFO)

อ่านแนวคิดดี ๆ ของ Travis Kalanick ที่นี่ 

——————————————————

ติดต่องานโฆษณาได้ที่ : contact@founder29.com

——————————————————