กฏหมาย สวีเดน ใจป้ำ ให้ ‘พนักงานประจำ’ ลาไปเป็น ‘นายตัวเอง’ นาน 6 เดือน โดยไม่ถูกไล่ออกจากงาน


Daniella Sjoqvist พนักงานประจำบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งได้เขียนใบลาออกเพื่อไปประกอบธุรกิจโรงเรียนสอนภาษาของตนเอง ณ วัย 28 ปี — เธอให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า การลองทำธุรกิจส่วนตัวเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ และเธออาจไม่มีวันนี้หากรัฐบาลสวีเดนไม่มีกฏหมายแรงงานสุดใจป้ำ ที่เรียกว่า tjänstledighet หรือ ‘A leave of absence for entrepreneurship’ ซึ่งแปลตรงตัวว่า ‘วันลาไปเป็นนายตัวเอง

ประเทศสวีเดน ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง ประเทศที่มีความสงบ และกฏหมายที่ใส่ใจสิทธิประโยชน์ต่อ ลูกจ้าง อย่างสูง ไม่ว่าจะเป็น กฏหมายลาไปศึกษาต่อนาน 6 เดือน โดยไม่ได้รับเงินเดือน (แต่ไม่ต้องลาออกจากบริษัท) และ กฏหมายลาไปเป็นพ่อคน/แม่คน ที่นานถึง 16 เดือน โดยได้รับเงินเดือนประมาณ 80%

และล่าสุดกับ ‘A leave of absence for entrepreneurship’ ซึ่งแปลตรงตัวว่า ‘วันลาไปเป็นนายตัวเอง’ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ ปี 1998

‘วันลาไปเป็นนายตัวเอง’ มีเงื่อนไขหลัก ๆ ได้แก่

  • ต้องเป็นพนักงานประจำบริษัทไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • ต้องแจ้งการลาล่วงหน้า 3 เดือน
  • ลาได้ 1 ครั้งต่อ 1 บริษัท
  • ไม่ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
  • และต้องไม่ใช่ธุรกิจที่เป็นคู่แข่งกับนายจ้างปัจจุบัน

ที่มา thelocal.se

หากครบเงื่อนไข และนายจ้างอนุมัติแล้ว พนักงาน จะสามารถลาไป ก่อตั้ง และ ประกอบธุรกิจส่วนตัวได้นานสูงสุด 6 เดือน โดยไม่ได้รับเงินเดือน แต่ยังคงสถานะเป็น พนักงาน ของบริษัท และสามารถกลับมาทำงานในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งที่เหมาะสมกับความสามารถต่อไปได้

กฏหมายดังกล่าวมีช่วยกระตุ้นให้ พนักงานประจำ เกิดความกล้าที่จะลองออกไปค้นหาตัวเองอย่างมั่นใจ และลดความเสี่ยง หากประสบความสำเร็จ ก็จะเกิดนักธุรกิจใหม่ที่มากความสามารถไปสร้างเศรษฐกิจของประเทศต่อไป และหากไม่สำเร็จในธุรกิจ บุคลากร ของประเทศก็จะไม่เสียโอกาสในการกลับไปทำงานและมีรายได้ต่อทันที

ส่งผลให้ สวีเดนมีจำนวน ผู้ประกอบการเกิดใหม่จากพนักงานประจำ ในอัตรา 20 ต่อ 1000 ในขณะที่ อเมริกา มีสัดส่วน 5 ต่อ 1000 และ สวีเดน ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสตาร์ทอัพระดับโลกชื่อดัง อาทิ App. Spotify และ Games Minecraft ที่ฮิตไปทั่วโลก