เจ้าสัว Peter Thiel นายทุนรุ่นแรกของ Facebook สอนวิธีผูกขาดธุรกิจใน 3 ขั้นตอน

ธุรกิจขนาดใหญ่อย่าง Paypal, Facebook, Amazon, Alibaba, และ Udemy เป็นต้น ฯลฯ กลายเป็นธุรกิจผูกขาดโดยปริยายไปแล้ว แม้จะมีคนพยายามเข้ามาแข่งขันด้วยแต่ก็ไม่สามารถและอาจไม่มีวันที่จะตามทัน อะไรคือความลับให้ธุรกิจเหล่านี้กลายเป็นธุรกิจผูกขาด Peter Thiel อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal จะมาเล่าให้ฟัง

Peter Thiel เป็น Serial entrepreneur โดยหนึ่งในธุรกิจที่สร้างชื่อให้กับเขาคือการเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal และยังเป็นคู่หูกับ Elon Musk ปัจจุบันเขาเป็นนักลงทุนเจ้าของธุรกิจกองทุน Clarium Capital และเป็นนายทุนรุ่นแรกของ Facebook ในปี 2017 Peter Thiel มีทรัพย์สินสุทธิ 2,600 ล้านเหรียญ ณ วัย 49 ปี และต่อไปนี้ คือ 3 ขั้นตอนสร้างธุรกิจผูกขาด ซึ่ง Peter Thiel เป็นผู้บอกเล่าด้วยตนเองผ่านส่วนหนึ่งจาก หนังสือ Zero to One

1. เริ่มแผนการผูกขาดจาก Niche เล็ก

หลาย ๆ Startup ที่ประสบความสำเร็จเริ่มต้นจาก Niche เล็ก ๆ และเจาะกลุ่มเป้าหมายแคบ ๆ ให้อยู่หมัด ด้วยเหตุผลง่าย ๆ คือ ตลาดเล็กเอาชนะง่ายกว่า และถ้าคุณยังเอาชนะตลาด ๆ เล็ก ๆ ไม่ได้ก็ไม่ต้องพูดถึงตลาดใหญ่

Peter Thiel เคยพลาดมาแล้วกับช่วงแรกของ Paypal โดยเขาเจาะกลุ่มผู้ใช้อุปกรณ์มือถือ PalmPilots ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ในสมัยนั้น ผู้คนนับล้านใช้ PalmPilots แต่พวกเขาไม่ได้สนใจเรื่องการรับโอนเงินผ่านอุปกรณ์ Paypal จึงไม่สามารถสร้างรายได้จากค่าทำรายการผ่านฐานผู้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าว

Paypal จึงเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายใหม่ไปยัง eBay ซึ่งยังถือว่าเล็กในสมัยนั้น แต่ eBay ทำธุรกิจซื้อขายออนไลน์แบบ Peer to Peer โดยมี eBay เป็นคนกลางในการรับลงสินค้า Paypal จึงเข้าไปเป็นคนกลางในการจัดการระบบชำระเงินและรับประกันการส่งมอบสินค้าก่อนชำระเงิน บริการของ Paypal ตอบโจทย์ eBay และช่วยให้ eBay ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วจากการมี Solution ด้านระบบชำระเงินให้แก่ผู้ซื้อผู้ขาย จนภายหลัง eBay สามารถจึงเข้าซื้อ Paypal

2. ค่อยขยับไปกิน Niche ที่ใกล้กัน

ตัวอย่างตัวเป็น ๆ ที่ยอดเยี่ยม คือ Jeff Bezon แห่ง Amazon.com — เขามีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นค้าปลีกระดับโลกที่ขายทุกสิ่งอย่าง แต่เขาเริ่มปักหมุด Niche แรกกับหนังสือ

หนังสือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่าย เก็บรักษาง่าย ไม่หมดอายุ และจัดส่งง่าย ความเป็นออนไลน์ช่วยให้เข้าถึงคนที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งซื้อหนังสือต้องนึกถึงและมุ่งตรงไปที่ Amazon.com จนในที่สุดก็ครองใจตลาดหนังสือออนไลน์สำเร็จ ก่อนที่จะขยายไปยัง Niche ที่ใกล้เคียง ได้แก่ CD เพลง และแผ่นหนัง และในที่สุดก็ขยายไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็น The Everything Store

หลักการเดียวกับ eBay — เว็บไซต์ประมูลซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด วันแรกเริ่มต้นจากตลาดเล็ก ๆ อย่างของมือสองในกลุ่มตุ๊กตา และเริ่มจากตุ๊กตายีห้อ Beanie Baby ก่อนที่จะขยายไปสู่ทุกประเภทสินค้า ซึ่งวันนี้ eBay มีทุกอย่างให้ประมูล ตั้งแต่ ไม้ขีดไฟ ไปจนถึงเรือโบ้ท และต้นไม้

3. หยุดคิดถึงคำว่า Disrupt สักพัก

Peter Thiel มีความเห็นว่าที่ Silicon Valley ในปัจจุบันใช้คำว่า Disrupt พร่ำเพรื่อ เพราะปรากฏการณ์เดิมของการ Disrupt คือ กิจกรรมที่เจ้าของธุรกิจที่มีงบจำกัดเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเทคโนโลยีใหม่เท่าที่กำลังของตนเองมีและใช้งานได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งผลิตภัณฑ์นั้นเอาชนะเจ้าตลาดเดิมที่ยังใช้ระบบเดิม ๆ อยู่ในที่สุด หลักการเดียวกับ คอมพิวเตอร์ Desktop เอาชนะ Mainframe และ Smartphone กำลังเอาชนะ Desktop โดยคนรุ่นใหม่ ๆ เกิดมาก็ไม่ได้ใช้ Desktop แล้ว

แนวคิดการทำ Disrupt แบบผิด ๆ คือความพยายามของ Startup ที่จะโค่นล้ม Traditional รายใหญ่ในตลาด ซึ่ง Startup เหล่านั้นเจ๊งมานักต่อนักแล้ว — ในขณะที่ Paypal เป็นการ Disrupt เช่นกัน พวกเขาสร้างผลกระทบครั้งใหญ่ในวงการชำระเงินออนไลน์ และส่งผลกระทบต่อ VISA เพราะในเวลานั้นคนสามารถรับและจ่ายเงินออนไลน์โดยไม่ต้องมีบัตรเครดิต แต่เมื่อเราเติบโตถึงจุดหนึ่ง เราก็จับมือกับ VISA เพื่อทำธุรกิจร่วมกัน แนวคิดการ Disrupt ที่แท้จริงจึงเป็นการไม่เป็นศัตรูกับใคร หรือไปแทนที่ใครโดยเจตนา

สรุป มาทีหลังก็ปังได้

สื่อและผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับการเป็น The first mover — แต่สำหรับ Peter Thiel มองว่าการเป็นคนแรกในตลาดเป็นหนึ่งใน ยุทธวิธีทางธุรกิจ แต่มิใช่ เป้าหมายสูงสุดทางธุรกิจ เพราะเป้าหมายทางธุรกิจคือการมี ผลิตภัณฑ์ ที่คนใช้จริง ๆ และสร้างรายได้ให้แก่เจ้าของได้จริง ๆ และนั่นคือที่สุดที่จะทำให้คุณมีชีวิตรอดไปจนวันที่มีโอกาสผูกขาดตลาดได้ในที่สุด

Peter Thiel ให้ข้อคิดว่า จงเริ่มจากตลาดเล็ก ๆ และค่อย ๆ เก็บเกี่ยวรุกขยายไปที่ละคืบ ผ่านความอดทนและวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล ดั่ง José Raúl Capablanca แชมป์หมากรุกโลกกล่าวไว้…