กรมสรรพากรจ่อเก็บภาษีคนขายของออนไลน์

กรมสรรพากร จ่อเก็บภาษีออนไลน์ ขายของออนไลน์ยอดรับโอนเงินเกินวันละ 10 ครั้งเข้าข่ายควรตรวจสอบ

กรมสรรพากร เอาจริงกับนโยบายเก็บภาษีเงินได้ทั่วโดยเฉพาะ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ คนขายของออนไลน์ที่ยังอยู่นอกระบบภาษี โดยดึงสถานบันการเงินเข้าให้ความร่วมมือในการเข้าถึงข้อมูลผู้มีธุรกรรมการเงินเข้าข่ายน่าตรวจสอบว่าเป็นกลุ่มผู้ขายของออนไลน์ข่าวสดรายงานว่า นาย ประสงค์ พูนธเนศ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร ได้เปิดรับรับฟังความคิดเห็นผ่าน เว็บไซต์กรมสรรพากร ต่อ ‘ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ..’ เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (E-Payment) จะทำให้การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีถูกต้องอยู่แล้วมากขึ้น

สารสำคัญของนโยบาย

สาระสำคัญของกฎหมาย คือ ผู้เสียภาษีสามารถยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรสามารถกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และนอกจากนี้ กฎหมายังกำหนดให้ สถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายงานการทำธุรกรรมการเงินของลูกค้าให้กรมสรรพากรรับทราบ ประกอบด้วย

1. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปี

2. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้ง และมียอดรวมของกันตั้งแต่ 2 ล้านบาท ขึ้นไป โดยกรมสรรพากรจะเก็บข้อมูลเป็นเวลานาน 10 ปี

หากสถาบันการเงินไม่ปฏิบัติตามจะมีปรับสูงสุด 1 แสนบาท ปรับต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท จนกว่าจะรายงานข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน และในส่วนของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่รับผิดชอบด้านการรายงานข้อมูลผู้เสียภาษีก็มีการปรับโทษเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

ผู้จะได้รับผลกระทบโดยตรง

นายประสงค์ กล่าวว่าเดิมที กรมสรรพากรมีอำนาจ ในการเข้าดูข้อมูลการเงินของผู้เสียภาษีอยู่แล้ว แต่การใช้อำนาจเดิมทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเลือกเจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติต่อประชาชน กฏหมายใหม่จึงนำสถาบันการเงินเข้ามาเป็นสื่อกลางที่กำหนดให้ต้องส่งรายงานธุรกรรมการเงินของลูกค้าให้กรมสรรพากร โดยสร้างเกณฑ์ว่า การรับโอนเงินปีละ 3,000 ครั้ง หรือเฉลี่ยวันละ 10 ครั้งขึ้นไป หรือรับโอนเงิน 200 ครั้งแต่มีจำนวนมากกว่า 2,000,000 บาท เข้าเกณฑ์ธุรกรรมอันไม่ปกติ

เมื่อนำกฏเกณฑ์และระบบเข้ามาใช้ก็จะเป็นการลดการอาศัยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และนอกจากนั้นระบบนี้จะไม่กระทบต่อผู้เสียภาษีที่ถูกต้องอยู่แล้ว เช่น พนักงานบริษัทที่อยู่ในระบบอยู่แล้ว หรือข้าราชการรับเงินเดือน

นายประสงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนากฏหมายและวิธีดำเนินการด้านภาษีในครั้งนี้จะส่งผลต่อ ร้านค้าออนไลน์ที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษี ข้าราชการที่ทุจริตมีโอนเงินเข้าบัญชีของตัวเอง และธุรกิจสีเทาผิดกฎหมาย — เพื่อเป็นการดึงคนเข้ามาอยู่ในระบบภาษีให้ถูกต้อง และป้องกันการทุจริตของข้าราชการ โดยยืนยันว่าไม่กระทบกับผู้เสียภาษีที่ถูกต้อง

นโยบายของกรมสรรพากรตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เน้นการเสียภาษีให้ถูกต้อง ผู้ที่อยู่นอกระบบต้องเข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้เกิดเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีที่ถูกต้องอยู่แล้ว ส่วนผู้ที่อยู่ในระบบก็ต้องเสียให้ครบถ้วนกรมสรรพากรจึงมีมาตรการบัญชีเดียวไม่ย้อนหลังเอาผิดขอให้เริ่มเสียภาษีให้ถูกต้อง และในปี 2562 การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต้องใช้บัญชีที่ยื่นกับกรมสรรพากร หากไม่ทำให้ถูกต้องก็จะไม่ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ นายประสงค์ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปต่อสื่อมวลชน

เพิ่มเติม

กรมสรรพากร เตรียมนำ Big Data ร่วมกับ AI เก็บภาษีคนขายของออนไลน์ อ่านต่อ