Skyscanner เว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก ก้าวสู่กิจการ 6 หมื่นล้านบาทได้อย่างไร

กรณีศึกษา Skyscanner เว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก ก่อตั้งจากใต้ถุนบ้านก้าวสู่กิจการ 6 หมื่นล้านบาทได้อย่างไร

Skyscanner เว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก ก้าวสู่กิจการ 6 หมื่นล้านบาทได้อย่างไร

Gareth Williams ผู้ก่อตั้งต้นคิดธุรกิจ Travel search engineคนทั่วโลกรู้จัก Skyscanner คือ เว็บไซต์ค้นหาและจองตั๋วเครื่องบินราคาถูก เว็บเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบิน ค้นหาดีลโรงแรม และรถเช่าจากทั่วโลกที่มีข้อมูลครบถ้วนและใช้งานง่าย วันนี้เมื่อคุณค้นหาอะไรที่เกี่ยวกับบริการดังกล่าว คุณมีโอกาสเจอเว็บไซต์ Skyscanner ติด 3 อันดับแรกบน Google search result


ด้วยศักยภาพในการทำอันดับการค้นหาบน Google search engine ส่งผลให้ Skyscanner เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงถึงประมาณ 50 ล้าน Monthly active users มีรายได้เปิดเผยล่าสุดปี ค.ศ. 2015 ประมาณ 120 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 5,100 ล้านบาทเศษ และเว็บไซต์รวมถึงตัวบริษัท Skyscanner มีมูลค่ากิจการสูงถึง ราคา 1,400 ล้านปอนต์ หรือประมาณ 60,000 ล้านบาทเศษ

แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ Skyscanner มีจุดเริ่มต้นจาก 3 หนุ่มพนักงานสาย IT (Information Technology) ที่อาศัยเงินเดือนตัวเองเป็นทุนในการก่อตั้งธุรกิจ — CEOblog จะพาไปเจาะประวัติและเส้นทางของ Skyscanner เว็บไซต์ค้นหา-จองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมอะนดับต้น ๆ ของโลก ว่าพวกเขามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

Skyscanner มีจุดเริ่มต้นจาก Pain Point ของตัวผู้ก่อตั้ง

Skayscanner มีผู้ก่อตั้ง 3 คนได้แก่ Gareth Williams, Bonamy Grimes, และ Barry Smith ทั้ง 3 คนเป็นนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ที่มารู้จักกันในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในลอนดอน, ประเทศอังกฤษ ต่อมา Gareth Williams เริ่มต้นทำงานในสายอาชีพ Web Developer แบบสัญญาจ้างให้สถาบันการเงิน ในหนึ่งเดือนเขาทำงาน 2 สัปดาห์ และได้หยุด 2 สัปดาห์ ช่วงวันหยุดเขาจะกลับเยี่ยมญาติที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

Gareth เดินทางบ่อยและทุกครั้งเขาจะประสบปัญหาในการค้นหาและเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบินที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน ทำให้เขาเกิดความคิดที่จะสร้างระบบการรวบรวมรายการเที่ยวบินที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว เขาจึงนัดเพื่อนสนิท ได้แก่ Bonamy Grimes, และ Barry Smith มาคุยกันและคอนเซปต์เว็บไซต์ Skyscanner ก็เกิดขึ้นกลางวงเบียร์ในพับ ณ กรุงลอนดอนเมื่อปี ค.ศ. 2001

เงินทุนก็ไม่มี นายทุนก็ไม่สนใจ

Skyscanner มีแนวคิดธุรกิจเพื่อเป็น Search engine ด้านการท่องเที่ยวที่ใช้งานง่ายและประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับนักท่องเที่ยว โดยพวกเขาเริ่มจาก Niche เล็ก ๆ คือ เจาะกลุ่มคนต้องการคนหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก และโฟกัสเฉพาะเส้นทางการบินในยุโรปก่อนจะขยายออกไปยังพื้นที่อื่น ๆ และขยายสู่บริการค้นหาและจองโรงแรม และรถเช่าตามลำดับ

แต่ในปี 2001 บริการลักษณะดังกล่าวยังไม่เป็นที่รู้จัก เนื่องจาก Skyscanner เปิดตัวหลัง Google เพียง 3 ปี คำว่า Search engine เป็นเรื่องใหม่มากของโลกในสมัยนั้น กอปรกับวิกฤต ฟองสบู่ดอทคอมระเบิด พอดีในปีที่ Skyscanner ก่อตั้ง ทำให้ทั้ง 3 ผู้ก่อตั้งไม่สามารถหานายทุนมาช่วยเรื่องการเงินได้เลย รวมไปถึงสายการบินก็ไม่เข้าใจประโยชน์ของ Search engine ทำให้ยากต่อการโน้มน้าวมาเป็นพันธมิตรกับเว็บไซต์

ประทังชีวิตธุรกิจด้วยเงินเดือนจากงานประจำ และทำงานในห้องเก็บของ

Gareth Williams ลาออกจากงานมาพัฒนาเว็บไซต์ Skyscanner เต็มเวลา ในขณะที่ Bonamy Grimes, และ Barry Smith ทำงานประจำ และแบ่งเวลามาช่วยหลังเลิกงาน

โชคดีที่ทั้ง 3 เป็นคน IT อยู่แล้ว สามารถเขียนโปรแกรมและพัฒนาเว็บไซต์ได้ด้วยตนเองจึงไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจากข้างนอก นอกจากนั้น ทั้ง 2 ยังต้องหารเงินเดือนจากงานประจำของตนมาช่วย Gareth ซึ่งไม่มีรายได้ และ Skyscanner เองก็ยังไม่ทำเงินใด ๆ ทั้งสิ้น

พวกเขาไม่มีเงินที่จะเช่าสำนักงาน จึงได้ใช้ห้องเก็บของในบ้านของ Gareth เป็นห้องทำงานตลอดหลายปีแรก โดยพวกเขา เริ่มจ้างพนักงานประจำคนแรกในปี 2004 โดยยกโต๊ะทำรับประทานอาหารในบ้านของตนให้เป็นโต๊ะประจำตำแหน่งของพนักงาน

สร้างการเติบโตต้นทุนต่ำด้วย Search Engine Optimization

Skyscanner เป็นธุรกิจ Search engine ด้านการท่องเที่ยว และทั้ง 3 ผู้ร่วมก่อตั้งก็เป็นโปรแกรมเมอร์และนักโค้ดดิ้งในตัวอยู่แล้ว ฉะนั้นพวกเขาจึงเข้าใจการทำงานของ Search engine เป็นอย่างดีและล่วงรู้ความลับว่านี่คือวิธีสร้างการเติบโตให้ธุรกิจโดยแทบไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากไปกับค่าการตลาด

Skyscanner เปิดตัวหลัง Google เพียงสามปี เป็นจังหวะที่การทำงานของ Google search engine ยังไม่ซับซ้อนมาก และคู่แข่งของ Skyscanner ยังน้อยอยู่ ผู้ร่วมก่อตั้งจึงโฟกัสวิธีทำการตลาดไปที่ Content marketing หรือการผลิตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายและมีประโยชน์ ทำการปรับแต่งเนื้อหาและหน้าเว็บให้เหมาะแก่การติดอันดับบน Google หรือเรียกว่า Search Engine Optimization หรือ SEO

Skyscanner ได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในการทำอันดับบน Search engine และยังคงเป็นแนวทางที่พวกเขาใช้มาถึงปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถประสบได้เองว่าทุก ๆ การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาและจองตั๋วเครื่องบินราคาถูก ค้นหาโรงแรม และรถเช่า คุณจะเจอ Skyscanner ติดหน้าแรกเกือบทุกครั้ง และส่วนมากติด 3 อันดับแรก

นอกจากนั้น ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 ยังให้ความสำคัญกับความง่ายและความเร็วในการใช้งาน เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยม ส่งผลให้ Skyscanner โหลดเร็ว ใช้ง่าย และรักษาทราฟฟิกไว้ภายในเว็บไซต์ด้วยอัตรา Bounce rate (อัตราการกด Back ออกจากเว็บไซต์ทันที) ที่ต่ำมาก คือเพียง 35 – 45% เท่านั้น แปลว่าเมื่อคนคลิ๊กเข้ามาที่เว็บไซต์ Skyscanner จากที่ไหนก็แล้วแต่ ส่วนมากจะอยู่ภายในเว็บไซต์ต่อเกือบทุกคน

ตัวอย่าง Content Marketing และ SEO ของเว็บไซต์ Skyscanner

 

Skyscanner เว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก ก้าวสู่กิจการ 6 หมื่นล้านบาทได้อย่างไร

Skyscanner เว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก ก้าวสู่กิจการ 6 หมื่นล้านบาทได้อย่างไร

Skyscanner เว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก ก้าวสู่กิจการ 6 หมื่นล้านบาทได้อย่างไร

Skyscanner เว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก ก้าวสู่กิจการ 6 หมื่นล้านบาทได้อย่างไร


การมาของนายทุน และการขายกิจการ

Skyscanner ดำเนินกิจการบนลำแข้งของตัวเองเป็นเวลา 6 ปีก่อนจะมีนายทุนเริ่มสนใจ โดยนายทุนกลุ่มแรกปรากฏตัวในปี 2007 มาจาก Scottish Equity Partners ลงทุนจำนวน 106 ล้านบาท (โดยประมาณ) จากนั้นในปี 2013, Sequoia Capital แห่งซิลิคอนวัลเลย์ ลงทุนด้วยจำนวนประมาณ 28,000 ล้านบาท และในปี 2016 ได้รับเงินลงทุนจากหลายรายรวมกันเป็นเงินลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท — เงินทุนเหล่านี้ทำให้ Skyscanner เติบโตอย่างก้าวกระโดดและสามารถเข้าซื้อกิจการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันในหลาย ๆ ประเทศ

ประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ของ Skyscanner เกิดขึ้นในเดือน พฤศจิกายน ปี 2016 เมื่อ Ctrip บริษัทท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีนเข้าซื้อกิจการ Skyscanner ใน ราคา 1,400 ล้านปอนต์ หรือประมาณ 60,000 ล้านบาทเศษ +/- ในขณะที่ Ctrip ก็ทำการเปิดตัวเว็บไซต์ชื่อ Trip.com และแอปพลิเคชั่น Trip by Skyscanner ในเวลาต่อมา — ส่วน Skyscanner ต้นสังกัดยังคงได้รับอำนาจเต็มร้อยในการบริหารภายใต้ทีมเดิม

วันนี้ของ Skyscanner

ปี ค.ศ. 2018 Skyscanner มีพนักงานประมาณกว่า 800 คนจากกว่า 50 เชื้อชาติ ใน 10 สาขาทั่วโลก โดยพนักงานมากกว่าครึ่งอยู่ในสายงานวิศวกรและไอที ปรัชญาของธุรกิจยังเหมือนเดิมคือการเป็น Search engine สายท่องเที่ยวที่ใช้งานง่าย ช่วยให้คนสามารถค้นหาและจองตั๋วเครื่องบินราคาถูกได้สะดวกรวดเร็ว และตั้งเป้าที่จะเป็น Marketplace จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตั๋วเครื่องบิน โรงแรม และรถเช่าอันดับต้น ๆ ในใจคน

ข้อมูลบริษัท Skyscanner



=====

Reference

https://www.trip.skyscanner.com/
https://en.wikipedia.org/wiki/Skyscanner

Exclusive interview with Skyscanner CEO Gareth Williams

How Skyscanner Grew So Fast: 3 Killer Takeaways from a Radical Brand