3 เศรษฐีสารภาพ อยากรวยต้อง ‘เก่ง+เฮง’ เพราะความสำเร็จส่วนหนึ่งต้องพึ่ง ‘ดวง’


วันที่ 10 พ.ค. 2019 CNBC เผยสถิติของเศรษฐีทั่วโลกโดยอ้างอิงรายงานของ Wealth X พบว่าในปี 2018 มี Billionaires หรือ เศรษฐีพันล้านดอลลาร์ (เทียบเท่าหลักหมื่นล้านบาทไทย) จำนวน 2,604 คน โดย 55.8% เป็น Self made คือ สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตนเองล้วน ๆ, 30.9% ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวกึ่งหนึ่ง และ 13.3% รับมรดกจากทางบ้าน


จากสถิติของ Wealth X จึงสามารถพิสูจน์ข้อโต้แย้งได้ในระดับหนึ่งว่า คนที่ประสบความสำเร็จเพราะความได้เปรียบด้าน ‘ต้นทุนชีวิต’ ยังคงเป็นส่วนน้อย ในขณะที่ Self-made หรือ คนที่ต่อสู้ด้วยลำแข้งตัวเองจนประสบความสำเร็จ ยังคงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของโลก

อย่างไรก็ดี ข้อโต้แย้งดังกล่าวยังไม่สามารถอ้างได้เต็มปากเต็มคำ เพราะนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงถึง 3 คนได้ออกมาเผยมาว่า แม้พวกเขาจะเป็น Self-made แต่ เวลา จังหวะ และ โอกาส หรือเรียกรวมกันว่า ‘Timing’ ที่เหมาะสมมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของพวกเขาอย่างมาก

ไทม์มิ่ง เปลี่ยนชีวิตของ 3 เศรษฐีนักธุรกิจ Self-made

ไทม์มิ่ง ของ เจฟฟ์ เบโซส์ เจ้าของ amazon.com

เจฟฟ์ เบโซส์ เศรษฐีผู้ร่ำรวยอันดับ 1 ของโลกจากการทำธุรกิจ อีคอมเมิร์ซแพลทฟอร์ม แอมาซอน เขามีทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 115.9 พันล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 28 ธค. 2019 ตามการรายงานของ Forbes’ real-time billionaire index

เจฟฟ์ เบโซส์ เล่าผ่านงานอีเวนต์ของ Yale Club ณ นิวยอร์ก เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2019 ว่า เมื่อ 24 ปีก่อน เขาก่อตั้ง แอมาซอน และทำงานทุกตำแหน่งด้วยตัวคนเดียว ทำงานจากในโรงรถ รับออเดอร์ทางอินเตอร์เน็ต วิ่งไปซื้อของ แพ็กของ และขับรถไปไปรษณีย์ด้วยตัวเองเพื่อส่งพัสดุ

แต่วัน แอมาซอน มีพนักงาน 600,000 คน และมีลูกค้านับล้านคนทั่วโลก ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะ ความหลากหลายของ ‘ผู้ให้บริการด้านโครงสร้าง (Infrastrcuture)’ ที่เกิดขึ้นบนโลกในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ, ผู้ให้บริการจัดส่งที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก และที่ขาดไม่ได้เลย คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงง่าย และราคาถูก ซึ่งข้อสุดท้ายช่วยให้ประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ขั้นสมบูรณ์แบบกลายเป็นจริงในวันนี้

กล่าว คือ ไอเดียธุรกิจอย่าง แอมาซอน จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไอเดียนี้ไปอยู่ในยุค 60’s หรือ 70’s นั่นเอง ไทม์มิ่ง ของ เจฟฟ์ และ ไอเดีย แอมาซอน จึงนับมาเกิดถูกที่ และถูกเวลา

ไทม์มิ่ง ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เจ้าของ Berkshire Hathaway

วอร์เรน บัฟเฟตต์ เศรษฐีผู้ร่ำรวยอันดับ 4 ของโลกจากการบริหารการลงทุนในหุ้นผ่านบริษัท Berkshire Hathaway โดยตัว วอร์เรน มีทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 89 พันล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 28 ธค. 2019 ตามการรายงานของ Forbes’ real-time billionaire index

วอร์เรน บัฟเฟตต์ นับเป็นคนสู้ชีวิตตัวจริง โดยเขาเริ่มค้าขายและมีรายได้ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และทำงานหาเงินและลงทุนด้วยตนเองเรื่อยมาจนอายุ 26 ปีก็เปิดบริษัทบริหารจัดการกองทุนของตนเอง หากมองโดยผิวเผิน วอร์เรน อาจดูเหมือนคนสู้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ในความเป็นจริงแล้วเขาโชคดีที่ได้ค้นพบความชอบ ได้ทำในสิ่งที่ชอบ โดยที่พ่อแม่ไม่ได้เข้ามาบงการชีวิตใด ๆ

นอกจากนั้น พ่อของเขายังมีกิจการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำให้เขาคุ้นเคยกับโลกของการลงทุน และประกอบกับได้ศึกษาวิชา การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ Value investing กับ เบนจามิน แกรแฮม บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า แบบตัวเป็น ๆ เหล่านี้ช่วยให้ ‘ต้นทุน’ ทางความรู้ ด้านการลงทุนอย่างมีหลักการ ของ วอร์เรน ล้ำหน้าใคร ๆ ในยุคสมัยที่ โลกกำลังหมดหวังกับการลงทุนแบบ เก็งกำไร อยู่พอดิบพอดี

“My wealth has come from a combination of living in America, some lucky genes, and compound interest. [Both] my children and I won what I call the ovarian lottery.”

“ความมั่งคั่งของฉันอาจเป็นเพรา ฉันได้เกิดในอเมริกา ได้ยีนส์เด่น (ด้านคณิตศาสตร์) และ เข้าใจศาสตร์ของดอกเบี้ยทบต้น ฉันคิดว่าฉันเป็นผู้ถูกล็อตตารีในมุมชาติกำเนิด” วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวผ่านสื่อ CNBC

ไทม์มิ่ง ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของ facebook.com

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เศรษฐีผู้ร่ำรวยอันดับ 6 ของโลก ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ ของ Facebook มีทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 77.1 พันล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 28 ธค. 2019 ตามการรายงานของ Forbes’ real-time billionaire index

มาร์ก กล่าวผ่านสุนทรพจน์ที่ Havard ปี 2017 ว่า:

“We all know we don’t succeed just by having a good idea or working hard. We succeed by being lucky, too. If I had to support my family growing up instead of having time to code, if I didn’t know I’d be fine if Facebook didn’t work out, I wouldn’t be standing here today. If we’re honest, we all know how much luck we’ve had.”

แปลว่า “พวกเรารู้ดีว่าความสำเร็จมิอาจเกิดขึ้นเพียงเพราะ มีไอเดียที่ดี และ มีความขยัน แต่เราอาจต้องอาศัยความโชคดี เพราะถ้าหากฉันต้องเกิดมาในครอบครัวที่ลำบากและฉันต้องทำงานเลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนทั้งบ้าน ฉันก็คงไม่มีโอกาสได้ศึกษาเรื่องการเขียนโค้ด และฉันก็คงไม่สามารถทดลองทำ เฟซบุค โดยไม่มีรายได้อย่างที่ทุกคนก็รู้ดี” (ว่าเฟซบุคไม่มีรายได้หรือกำไรเพียงพอในช่วงหลายปีแรก)

กล่าวโดยสรุป

รูปแบบความโชคดีของทั้ง 3 ได้แก่ เจฟฟ์ เบโซส์, วอร์เรน บัฟเฟตต์, และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้แก่

1. เกิดในครอบครัวที่มีสถานะทางการเงิน ระดับกลางค่อนไปทางบน ไม่ได้รวยมาก แต่ก็มีกินมีใช้อย่างไม่ลำบาก และทั้ง 3 ไม่มีความจำเป็นต้องทำงานหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว จึงสามารถ ‘โฟกัส’ ที่การสร้างธุรกิจ และสามารถยอมรับความเสี่ยงที่จะล้มเหลวได้

2. ก่อตั้งกิจการในช่วงที่ ไม่มีคู่แข่ง เนื่องจากเป็นช่วงรอยต่อที่ เทคโนโลยียังไม่อำนวย หรือ องค์ความรู้ใหม่ ๆ ยังไม่แพร่หลาย ทำให้คู่แข่งไม่กล้าเสี่ยงเร่มก่อน

3. และอยู่ในช่วงที่ เทคโนโลยี หรือ ค่านิยมใหม่ กำลังจะออกมารองรับรูปแบบกิจการของพวกเขาพอดี

สุดท้าย — แม้ทั้ง 3 จะโชคดีในเรื่องต้นกำเนิด แต่ความสำเร็จที่แท้จริงเกิดจาก การศึกษาหาความรู้, และลงมือทำ จริงอยู่ที่คนเราจะเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะกำหนดเส้นทางหลังจากเกิดมาแล้วได้ ดั่ง บิล เกตส์ แห่ง ไมโครซอฟต์ กล่าวไว้ “ถ้าคุณเกิดมาจน มันไม่ใช่ความผิดของคุณ แต่ถ้าคุณตายจน นั่นแหละคือความผิดของคุณ”



ข้อมูลอ้างอิง

https:// www.cnbc.com/2019/05/10/wealthx-billionaire-census-majority-of-worlds-billionaires-self-made.html

https:/ /www.forbes.com/real-time-billionaires/#4dc7b7f93d78

https:// www.wealthx.com/report/the-wealth-x-billionaire-census-2019