Phil Knight

Phil Knight ผู้ก่อตั้ง Nike ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 29 ของโลกหลังจากดีลขายบน Amazon.com ได้สำเร็จ

Phil Knight ผู้ก่อตั้ง Nike มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นอีก 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือราว ๆ 6 หมื่นล้านบาท) ทันทีที่มีการดีลขายสินค้าของ Nike บนเว็บไซต์ E-commerce ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Amazon.com ที่มี Jeff Bezos คุมบังเหียนอยู่ ทันทีที่ข่าวการดีลแพร่กระจายออกไป หุ้นของ Nike ก็เพิ่มขึ้นราว ๆ 11% ทำให้ Phil Knight มีรายได้สุทธิอยู่ที่ 26,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราว ๆ 8.8 แสนล้านบาท) ทำให้เขากลายเป็นมหาเเศรษฐีที่รวยติดอันดับโลกในลำดับที่ 29 ณ ปัจจุบันนี้ แม้ว่า Phil Knight จะไม่ได้นั่งในตำแหน่ง CEO แล้วก็ตามที เนื่องจากเขาได้เกษียณตัวเองเมื่อเดือน มิถุนายน ปี 2016 ที่ผ่านมา

ซึ่ง CEO และ Chairman ของ Nike คือ Mark Parker ได้ออกมายืนยันข่าวนี้ด้วยตัวเอง เพราะหลังจากที่ Nike ไม่ยอมขายสินค้าของตนเองบนเว็บไซต์ Amazon.com ด้วยตนเองมาก่อน และเขาก็ตื่นเต้นที่จะได้เห็นการขับเคลื่อนของ Nike บน Amazon.com

ประวัติของ Phil Knight ผู้ก่อตั้ง Nike

Phil Knight
Image credit: nikeblog

Phil Knight ได้ริเริ่มเกี่ยวกับการสร้าง Nike ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ในระดับชั้นมหา’ลัย ในขณะที่เขากำลังศึกษาคณะ MBA ที่มหา’ลัย Stanford และจบการศึกษาในปี 1962

หลังจากที่เขาเรียนจบแล้ว ก็ได้เริ่มการเดินทางท่องเที่ยวไปรอบโลกจนกระทั่ง ไปพบกับซับพลายเออร์ที่จะผลิตรองเท้าให้กับเขาที่ประเทศญี่ปุ่น Phil Knight และโค้ชวิ่งของเขา Bill Bowerman ซึ่ง ณ ขณะนั้นทั้งสองสนิทสนมกันในนามของนักวิ่งและโค้ช ได้ลงขันกันลงทุนเพื่อเปิดบริษัทขายรองเท้า ด้วยเงินทุนเพียง 500 เหรียญสหรัฐฯ (ราว ๆ 16,000 บาท) โดยเขาและเพื่อนของเขา ได้ก่อตั้งบริษัทหลังจากที่กลับมาที่ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งในตอนนั้นเขาใช้ชื่อบริษัทว่า Blue Ribbon Sports และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Nike ในปี 1978 และได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในอีก 2 ปีหลังจากนั้น

ถือได้ว่า Phil Knight เป็นเศรษฐีที่สร้างฐานะขึ้นมาด้วยตนเอง ที่สร้างแบรนด์กีฬาจนกลายเป็นแบรนด์กีฬาอันดับ 1 ของโลก และนี่คือ 10 เคล็ดลับที่เขาได้ใช้ในการขับเคลื่อน Nike

Phil Knight
Image credit: solecollector

เคล็ดลับที่ 1 คุณต้องมีไอเดียริเริ่มที่กล้าและบ้าบิ่น

ย้อนกลับไปที่ก่อนจะถือกำเนิด Nike นั้น Phil Knight ในฐานะที่เป็นนักวิ่งและนักเรียน MBA ได้พบกับ Bill Bowerman ซึ่งเป็นโค้ชของเขา โดย Bill Bowerman คิดว่า รองเท้าคือองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้นักวิ่งนั้นมีประสิทธิภาพในวิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น พวกเขา จึงตัดสินใจที่จะเริ่มต้นทำไอเดียนี้ให้เป็นจริงขึ้นมาด้วยเงินทุนเริ่มต้นเพียง 500 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว ๆ 17,000 บาทเท่านั้น

เคล็ดลับที่ 2 จงหาคนที่ใช่ให้เจอ

Phil Knight กล่าวว่า คนคือทรัพยากรที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งในปัจจุบัน Nike มีพนักงานกว่า 6 หมื่นคนกระจายอยู่ทั่วโลก และแน่นอนว่า จะต้องเป็นคนที่เก่งและเหมาะสมกับงานจริง ๆ เท่านั้น และอย่างต่อมาก็คือ คุณจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อเอื้อต่อการทำงานของคนภายในองค์กร และอย่างสุดท้ายก็คือ ในฐานะ CEO ในฐานะที่คุณเป็นผู้นำ คุณจะต้องมีทักษะในการเป็นผู้นำ และมอบหมายการจัดการให้กับคนที่เหมาะสมในด้านนี้ที่จะต้องดูแลพนักงานอีกกว่า 6 หมื่นชีวิตในองค์กรนี้

เคล็ดลับที่ 3 สร้างสินค้าที่ยอดเยี่ยม

Phil Knight บอกกับเราว่า Key สำคัญสำหรับ Nike อันดับแรกเลยก็คือ ตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งเขาได้ลงทุนและพัฒนาตัวรองเท้าอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงสิบปีแรกที่ก่อตั้งบริษัท ซึ่งมันเป็นเงินลงทุนสำหรับการวิจัยสินค้าที่สูงมาก เพื่อให้ได้รองเท้าสำหรับการวิ่งที่ดีที่สุด รองเท้าสำหรับเล่นบาสเกตบอลที่ดีที่สุด รองเท้าสำหรับกีฬาอื่น ๆ ที่ดีที่สุด ออกมาเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้อย่างคุ้มค่า

เคล็ดลับที่ 4 มีเหตุผลในการก้าวสู่ความสำเร็จ

การที่จะก้าวขึ้นสู่จุดที่เรียกว่าความสำเร็จได้นั้น จะต้องมีเหตุผลในการทำเพื่อผลักดันให้ตัวเองก้าวไปสู่จุด ๆ นั้น เพราะหากคุณเลือกที่จะเป็นผู้ประกอบการแล้วล่ะก็ คุณจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่แย่จนถึงแย่ที่สุด และมีเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งนั่นมันจะต้องใช้ความพยายามในการฝ่าฝันและก้าวข้ามสถานการณ์ในตอนนั้นไปให้ได้ เหตุผลบางคนอาจเป็นครอบครัว คนรัก หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก อะไรก็ตามแต่ ที่มันจะคอยย้ำเตือนกับตัวคุณให้มีกำลังใจที่จะก้าวต่อไป

เคล็ดลับที่ 5 มีความมุมานะและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่ถาโถมเข้ามา

ในหลาย ๆ ครั้งที่ Nike เอง ก็ประสบภาวะขาดแคลนเงินสด ขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายพนักงาน และถึงขั้นที่ธนาคารหลายแห่งคว่ำบาตร หรือแม้กระทั่งจะต้องขายทรัพย์สินที่พอจะแปลเป็นเงินสดได้ เพื่อนำไปจ่ายให้กับพนักงานให้ทันก่อนที่จะถึงสิ้นเดือน มันไม่ง่ายเลยที่จะผ่านช่วงเวลานั้นมาได้

เคล็ดลับที่ 6 จงกำหนดคุณค่าและตัวตนของคุณ

หลังจากที่ก่อตั้ง Nike ก็เริ่มมีคู่แข่งเข้ามาเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งการแข่งขันในการทำธุรกิจเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่จะต้องคงรักษาไว้ก็คือขณะที่เข้าแข่งขันจงอย่าลืมตัวตนของแบรนด์ที่เป็นอยู่ จงยึดมั่นในแบรนด์ มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อย่าเสียตัวตนของตนเองไปเพียงเพราะต้องการชนะคู่แข่ง

เคล็ดลับที่ 7 ให้ผู้อื่นช่วยเหลือ

ในบางครั้งตอนที่เรายังหนุ่มยังสาว เรามักจะพยายามช่วยเหลือตนเอง พึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในหลาย ไ ในหลาย ๆ สถานการณ์เราไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว จงเปิดรับการช่วยเหลือจากผู้อื่น อย่าได้หยิ่งทนงว่าตนเองนั้นเก่ง ดังนั้นมันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่จะร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคนั้นไป

เคล็ดลับที่ 8 จงยืนหยัดในสิ่งที่คุณเชื่อมั่น

การสร้างแบรนด์เป็นของตนเองนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะแบรนด์แต่ละแบรนด์ จะมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนกัน จงอย่าไขว้เขว้ อย่าเลียนแบบคนอื่นจนเสียตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์ไป แบรนด์คือการสร้างเอกลักษณ์ให้ผู้คนจดจำในภาพนั้น ๆ ทำให้ผู้คนมีอารมณ์ร่วมกับแบรนด์ แล้วแบรนด์ก็จะแข็งแกร่งและอยู่อย่างยั่งยืน

เคล็ดลับที่ 9 มีความดุดันในสนามแข่งขัน

หลายต่อหลายครั้งที่ Phil Knight จะโพสต์ในโซเชียลมีเดียส่วนตัว เพื่อข่มขวัญและดูถูกคู่แข่งขันในการผลิตสินค้าที่ไม่ได้เรื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง และแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด เพื่อเป็นที่หนึ่งให้จงได้

เคล็ดลับที่ 10 ตระหนักถึงภารกิจของคุณ

Phil Knight เชื่อว่า การที่คนเราทำอะไรสักอย่างได้เป็นอย่างดีนั้นเกิดจากความหลงใหลในงานนั้น ๆ แต่ในหลาย ๆ ครั้ง ผู้คนก็จะมีโมเม้นท์ที่แผ่วลงไป ซึ่งผู้คนเหล่านั้น ก็ต้องการกำลังใจ ให้กลับมามีแรงฮึดสู้อีกครั้ง และนั่นก็คือภารกิจของ Nike ที่จะทำให้ตัวของนักกีฬานั้นเปี่ยมไปด้วยพลังงาน ที่กระหายที่ต้องการแข่งขันกีฬา รวมไปถึงการสร้างสภาพแวดล้อมภายในองค์กรในตัวพนักงานเอง เข้าใจถึงภารกิจอันสำคัญนี้ของบริษัท ซึ่งภายในบริเวณที่ทำงานของ Nike ก็จะมีสภาพแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า

Phil Knight
Image credit: bizjournals

ไม่ว่าคุณจะเจออุปสรรคมากแค่ไหนก็ตาม
ขอแค่ลงมือทำมัน “JUST DO IT”

– Phil Knight –
Founder of Nike

——————————————————

ติดต่องานโฆษณาได้ที่ : contact@founder29.com

——————————————————

ที่มา