ทั่วโลกร่วมยินดี มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก รับปริญญาใบแรกในชีวิตตอนอายุ 33 ปี

วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มาร์ค ซักเกอร์เบิรก (Mark Zuckerberg) ผู้สร้าง Facebook ระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ครายใหญ่ที่สุดของโลก ได้โพสต์รูปทางหน้าเฟซบุ๊กส่วนด้วยของเขา เป็นรูปตนเองยืนถือปริญญาบัตรโดยมีพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ พร้อมข้อความสั้น ๆ

“..Mom, I always told you I’d come back and get my degree..”

รูปภาพนั้นสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ติดตาม มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก (มีผู้ติดตามเขาบนเฟซบุ๊กส่วนตัวกว่า 90 ล้านคน) และมีคนกด Like รูปภาพนั้น ทะลุ 2 ล้าน Likes ไปแล้ว ซึ่งมากกว่าจำนวน Likes โดยเฉลี่ยของโพสต์อื่น ๆ บนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขากว่า 20 เท่าตัว

และมากกว่า ครึ่งแสน คอมเมนต์มาจากหลากหลายประเทศในแต่ละทวีป บางคนมีการถ่ายภาพรับปริญญาในวันเดียวกันจากคนละซีกโลกส่งมาให้ดู — คำขอบคุณจำนวนมากมีทำนองคล้ายกันคือ ขอบคุณที่ Connect โลกเข้าหากัน และขอบคุณที่เป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต เป็นต้น

แฟนคลับจากอีกทวีปโพสต์รูปเหตุการณ์ที่คล้ายกันเพื่อมีส่วนร่วมและแสดงความยินดีในคอมเมนต์ของโพสต์ดังกล่าว

ฮาร์วาร์ดมอบ Honorary Doctorate Degree แก่ มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ได้สมัครเข้าเรียน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในปี 2545 และ ได้ออกจากเรียนไปในปี 2548 ก่อนที่จะกลับมารับปริญญาในปี 2560 หรืออีก 12 ปีต่อมานั่นเอง

โดยปริญญาใบนี้เรียกว่า Honorary Doctorate Degree หรือ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เป็นการที่สถาบันต้นสังกัดมอบให้บุคคล แม้บุคคลนั้นจะไม่ได้ผ่านการศึกษาภาคปกติของทางสถาบัน

College Drop-Out สาเหตุของการออกจากการเรียน

ระหว่างเรียนที่ฮาวาร์ด มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ได้มีการทดลองสร้างโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น Social network หรือ สังคมเครือข่ายออนไลน์ โดยเริ่มต้นด้วยโปรแกรมที่ชื่อ Facemash ทดลองภายในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ด้วยมีการ Hack เข้าฐานของมูลของมหาวิทยาลัย เพื่อทำการดึงรูปภาพและโปรไฟล์นักศึกษาให้เข้ากับเว็บ และผู้ใช้งานสามารถเข้ามาร่วมเล่นเกมส์โหวตว่าชอบใครมากที่สุด

Facemash แพร่กระจายในกลุ่มนักศึกษาภายในข้ามคืน และกระจายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในข้ามวัน แต่ภายในไม่ถึงสัปดาห์ ทางมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจับได้และทำการปิดระบบ Facemash และตั้งข้อกล่าวหาต่าง ๆ แก่ มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก

ประสบการณ์ในครั้งนั้นทำให้เขาเล็งเห็นถึงพลังของ Social Network กับโอกาสที่จะ Connect โลกเข้าด้วยกัน ณ จุดนั้นคือแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาต้องไปต่ออย่างจริงจัง โดยในปี 2548 เขาตัดสินใจทิ้งการเรียน และมุ่งหน้าสู่รัฐแคลิฟอร์เนีย อันเป็นที่อยู่ของเมืองซิลิคอนวาเลย์ (Silicon Valley) ดินแดนแห่งสุดยอดนักธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อก่อตั้งโครงการ TheFacebook ซึ่งภายหลังตัดชื่อแบรนด์ให้เหลือเพียง Facebook เฉย ๆ

12 ปีหลังจาก College Drop-Out

ปี 2560 มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ขึ้นแท่นเศรษฐีอันดับ 5 ของโลก คำนวนโดย Forbes.com ด้วยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Facebook มากกว่า 1,900 ล้าน Active user ต่อเดือน และยังเข้าซื้อธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อเป็นเจ้าของแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ที่ต่อยอดธุรกิจของเขาได้ อาทิ What’s app และ Instagram เป็นต้น ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจของ Facebook เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ใหญ่ที่สุดในโลก

มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก กลายเป็นหนึ่งใน College Drop-Out ในตำนาน ตามหลังรุ่นพี่อย่าง สตีฟ จ็อบส์ ที่ลาออกจากการเรียนที่ Reed College ไปสร้างธุรกิจ Apple’s Computer และกลายมาเป็นเจ้าของแบรนด์สมาร์ทโฟนเบอร์ 1 ของโลก ได้แก่ iPhone

บิล เกตส์ เป็น College Drop-Out ที่คนนำมาอ้างถึงมากที่สุด โดยออกจาก Havard ไปสร้าง Microsoft ธุรกิจซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบันครองตำแหน่ง เศรษฐีอันดับ 1 ของโลก

ความเห็นของประธานมหาวิทลัยต่อการดุษฏี มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก

มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ขึ้นกล่าว Commencement Speech แก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา ณ ฮาวาร์ด 25 พฤษภาคม 2560

ดรู ฟอสต์ (Drew Faust) ประธานมหาวิทลัยฮาวาร์ด กล่าวชื่นชม มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ผ่านทางบทความในเว็บไซต์ของสถาบัน ว่า 

“…Mark Zuckerberg’s leadership has profoundly altered the nature of social engagement worldwide. Few inventions in modern times can rival Facebook in its far-reaching impact on how people around the globe interact with one another.

And few individuals can rival Mark Zuckerberg in his drive to change our world through the innovative use of technology, as well as his commitment to advance science, enhance education, and expand opportunity through the pursuit of philanthropy…”

กล่าวโดยสรุปข้อความของ ดรู ฟอสต์ คือ มหาวิทยาลัยเล็งเห็นตรงกันว่า มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก มีความตั้งใจจริงที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ในทางที่ดีขึ้นผ่านเทคโนโลยี และนำเทคโนโลยีมาสร้างโอกาส อาทิ งานวิทยาศาสตร์ การศึกษา และความเมตตาต่อโลก