ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ เมษายน 2017 ที่ผ่านมา โดยสำนักข่าวต่างประเทศ อาทิ Forbes, CNBC, Fortune เป็นต้น ฯลฯ ว่าด้วย Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com Inc. ประกอบธุรกิจเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซมาร์เก็ตเพลสในชื่อโดเมน Amazon.com ขึ้นแท่นบุคคลที่รวยเป็นอันดับสองของโลก เบียด Warren Buffet สุดยอดนักลงทุนเจ้าของบริษัท Berkshire Hathaway และเป็นรองเพียง Bill Gates เจ้าพ่อไอที เจ้าของบริษัท Microsoft
ความมั่งคั่งของ Jeff Bezos พุ่งทะยานอย่างต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมาหลังเขาประกาศแผนกิจการ และแผนการจะเข้าซื้อกิจการมากมาย โดยล่าสุดคือการประกาศจะเข้าซื้อ Souq.com ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่แห่งตะวันออกกลาง ส่งผลให้หุ้นของ Amazon พุ่งสูงขึ้นถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อตลาดรู้ข่าว
จากการรายงานของ Fortune, ทรัพย์สินสุทธิของ Jeff Bezos ณ เมษยน 2017 อยู่ที่ 75.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท +/- 1% เป็นรอง Bill Gates ผู้มีทรัพย์สินสุทธิ 86 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือโดยประมาณ 3 ล้านล้านบาท +/- 1%
ความเป็นมาโดยคร่าวของ Jeff Bezos
เขามีชื่อเต็มว่า Jeffrey Preston Jorgensen เกิดวันที่ 12 มกราคม 1964 มีความสนใจและรอบรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยจบการศึกษาด้าน Electrical engineering และ Computer science จากมหาวิทยาลัย Princeton และได้เข้าทำงานประจำในบริษัทต่าง ๆ ตามสายงานที่ได้ศึกษามาอยู่พักใหญ่ ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจทำตามความฝันที่จะสร้างระบบร้านค้าออนไลน์โดยที่คนไม่ต้องเดินทางไปซื้อจากหน้าร้านด้วยตนเอง
เขาลาออกจากงานที่มีความมั่นคง ออฟฟิศสวยหรู และเงินเดือนสูง เพื่อมุ่งหน้าสู่การสร้างธุรกิจอินเตอร์เน็ตจากใน ‘โรงรถ’ — โดยเขาใช้โรงรถเป็นที่ทำงาน และติดตั้งระบบเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ของเว็บไซต์ โดย Amazon เปิดตัวท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของญาติ ๆ ในปี 1994 ผ่านการตลาดแบบ Email marketing และกลุ่มสินค้ากลุ่มแรกคือ ‘หนังสือ’
ผลตอบรับของ Amazon เป็นไปด้วยดี ผู้คนสนใจที่จะซื้อหนังสือผ่านเว็บไซต์ ในขณะเดียวกัน Jeff Bezos ก็ไม่ต้องลงทุนในการสร้างหน้าร้านและไม่ต้องมีสต็อกสินค้า อาศัยวิธี Dropshipping ในช่วงแรก คือเมื่อมีออเดอร์มาก็ส่งรายการให้ศูนย์หนังสือทำการจัดส่งให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง ทำให้เขาสามารถขายหนังสือในราคาต่ำกว่าตลาด ส่งผลให้เจ้าตลาดหนังสืออย่าง Barnes & Norble ไม่พอใจและยื่นฟ้อง Jeff Bezos ด้วยข้อหาต่าง ๆ เพื่อหวังโค่น Amazon แต่ไม่ชนะคดี
พัฒนาการของ Amazon
Jeff Bezos พัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องและอย่างเอาจริงเอาจัง โดยปัจจุบัน Amazon ถือเป็นเว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีสินค้ามากมายหลาย Category ทั้ง Physical และ Digital อย่าง เพลง ภาพยนต์ และอีบุ๊ค
Amazon ยังขยายไปยังกลุ่ม Tech และ Tech Startup ได้แก่ Amazon Launch Pad เป็นโครงการสตาร์ทอัพสำหรับ Seller ที่อยากทำสินค้ามาทดลองตลาดก่อนเปิดขายจริงจัง และ Amazon Echo เป็นโครงการผสมผสานระบบ Artificial Intelligent เข้ากับสินค้าอิเลคทรอนิกส์
นอกจากนั้นยังพัฒนาธุรกิจในกลุ่ม Software as a Services หรือ SaaS อาทิ Amazon Web Services, และ Amazon Chime ระบบสื่อสารทางไกลคล้าย Skype
และที่เซอร์ไพร์ซสุด ๆ คือการขยายไปสู่ธุรกิจ Traditional retailer ได้แก่การสร้างค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน อาทิ Amazon Book Store ร้านขายหนังสือ และ Amazon GO ร้านขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคแบบไม่ต้องมีพนักงาน แต่ชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน!
การเข้าซื้อหรือลงทุนในกิจการโดย Jeff Bezos
Jeff Bezos มีการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพต่าง ๆ มากมายกว่า 10 บริษัทในหลาย ๆ อุตสาหกรรม และหนึ่งในนั้นคือ Google
เขาเป็นนักลงทุนกลุ่มแรก ๆ ที่ลงทุนใน Google ด้วยเงินลงทุน 250,000 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 1998 เพื่อแลกกับหุ้น 3.3 ล้านหุ้น ผลลัพธ์จากการลงทุนในครั้งนั้นส่งผลให้มูลค่าการลงทุน 250,000 เหรียญฯ ในวันนั้นกลายเป็น 2.9 พันล้านเหรียญ ในปัจจุบัน!
ผลกระทบของ Amazon ต่อธุรกิจค้าปลีก
Amazon ถือเป็นตัวอย่างธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ที่มีศักยภาพสูงทั้ง ความหลากหลายของสินค้า ความง่ายต่อการช้อปปิ้งของผู้ซื้อ ราคาที่ถูก และระบบการจัดส่งที่รวดเร็วภายใน 1 วัน และในอนาคตอาจเร็วกว่า 24 ชั่วโมงด้วยระบบโดรนอากาศยานส่งของที่ Jeff Bezos พัฒนาเสร็จแล้ว เหลือติดแค่เรื่องกฏหมาย!
ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้กลายเป็นต้นแบบของร้านค้าปลีกออนไลน์รุ่นใหม่มากมาย และคนก็หันมาซื้อของออนไลน์กันมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อ Traditional retailer อย่างมีนัยสำคัญ โดยช่วง 2-4 ปีที่ผ่านมา ค้าปลีกที่เคยรุ่งเรืองและเป็นเจ้าตลาด ไม่ว่าจะเป็น Waltmart, Sears, Kmart, Macy ฯลฯ เกิดสภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่องและการทยอยปิดสาขามากมายเป็นประวัติกาล
——————————————————
ติดต่องานโฆษณาได้ที่ : contact@founder29.com
——————————————————
คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบเป็นรายกรณีของแต่ละ ค้าปลีก ที่นี่…
Warren Buffett พยากรณ์ความตกต่ำของบริษัทค้าปลีกล่วงหน้าสิบปี
วิเคราะห์เจาะลึก ค้าปลีกและหน้าร้านปรับตัวอย่างไร? ในยุคที่โมเดิร์นเทรดกำลังแพ้ E-Commerce
วิกฤต Food Court เมื่ออีคอมเมิร์ซอเมริกาทำคนเที่ยวห้างฯ หด คนเข้า Food Court ลดหวบ