เจาะลึกวิธีสร้างรายได้ออนไลน์จาก ‘การสอน’ และการทำ ‘คอร์สออนไลน์’

หนึ่งในความฝันของมนุษย์ คือ การมีรายได้เข้าบัญชีโดยทำงานน้อยลงในระดับที่เกือบจะไม่ต้องทำงาน การมีรายได้ลักษณะดังกล่าวในภาษาอังกฤษเรียกว่า Passive Income — เมื่อนึกถึง Passive Income คนส่วนใหญ่นึกถึงอะไรบ้าง?

แนวทางที่ปรากฏเป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ การลงทุนในตราสารทุน หรือที่นิยมเรียกกนว่า ‘เล่นหุ้น’ ตามมาด้วยการลงในอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อทำกำไร หรือปล่อยเช่า ที่นิยมมองกันว่าเป็น ‘เสือนอนกิน’ ที่เหลือก็เป็นตราสารอื่น ๆ กองทุนต่าง ๆ และการลงทุนในหน่วยลงทุนนา ๆ ชนิด เหล่านี้ถูกมองเป็นช่องทางทำ Passive income มาช้านาน

แต่โลกนี้ยังมี Passive income อีกชนิดหนึ่ง ที่คุณสามารถสร้างได้โดยอาศัยต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าวิธีการลงทุนที่กล่าวมาข้างต้น อีกทั้งยังอาจได้ผลตอบแทนที่สูงมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนเงินสดที่ลงทุนลงไป โดยคุณอาจลงทุนด้วยเงินหลักพันปลาย หลักหมื่นต้น ๆ แต่ได้กำไรกลับมาเป็นหลักล้านบาทภายใน 1 ปี วิธีนั้นคือการผลิตและจัดจำหน่าย ‘Intellectual property‘ หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าเป็น สินทรัพย์ชนิดหนึ่งที่สร้าง Passive income ได้จริง และยังเป็นรายได้ที่อาจเข้ามาแบบ รายเดือน

นึกถึง ทรัพย์สินทางปัญญา คุณนึกถึงอะไร?

  • ผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
  • ผลงานการออกแบบสิ่งต่าง ๆ งานศิลปะ งานภาพถ่าย
  • งานวรรณกรรม งานเขียน งานดนตรี และงานภาพยนต์
  • เป็นต้น ฯลฯ

เหล่านี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ใช้เงินลงทุนสูง และใช้เวลาในการสร้างสรรค์ผลงานยาวนาน โดยเฉพาะ งานภาพยนต์ และนวัตกรรม ใช้เงินและเวลาสูงมาก แต่บทความนี้จะพาคุณไปรู้จัก ทรัพย์สินทางปัญญา ที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ใช้เวลาสร้างสรรค์น้อย กำไรดี และมีอยู่ในตัวคุณอยู่นั่นคือ ‘ประสบการณ์ และ ความรู้’ ของคุณ

ประสบการณ์ และ ความรู้ ที่คุณมีอยู่แล้วเมื่อนำมาบรรจุเป็นชุดข้อมูลพร้อมเสพ อาทิ หนังสือ หนังสือเสียง และ วีดีโอ หรือ คอร์สออนไลน์ — ประสบการณ์ และ ความรู้ เหล่านั้นจะกลายเป็น ‘Intellectual property’ หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา ทันที ฝรั่งเรียกสินค้ารูปแบบนี้ว่า ‘Information Products

คนที่ต้องการข้อมูลสำเร็จรูปจากคุณต้องจ่ายเงินให้เพื่อได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงเนื้อหา หรือแม้แต่นำไปทำซ้ำเพื่อจำหน่ายต่อ

ตัวอย่างบุคคลที่มีรายได้ Passive Income จากหนังสือ และ คอร์สออนไลน์ ที่มีชื่อเสียง

Robert Kiyosaki

โด่งดังจากผลงานหนังสือซีรีย์ Rich Dad’s โดยเล่มที่ขายดีที่สุด ได้แก่ Rich Dad Poor Dad ยอดขายมากกว่า 26 ล้านเล่ม และติดอันดับบน New York Times’ Best Seller ยาวนาน 3 ปี หลังจากนั้นก็มีหนังสือซีรีย์ต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์ Rich Dad’s ออกมาหลายสิบเล่ม ทั้งรูปแบบ Physical book, Digital book, Audio งานสัมมนา เวิร์คช็อป ฯลฯ

Brian Tracy

อดีตนักขายท็อปเซลส์ที่ก้าวหน้าในงานอย่างรวดเร็ว ผันตัวมาพัฒนาธุรกิจการสอนและกลายเป็นหนึ่งในเจ้าพ่อ Information business แนวหน้าของโลกด้วยผลิตภัณฑ์ข้อมูลความรู้หลากหลายแนว ได้แก่ สอนการขาย สอนพัฒนาตัวเอง สอนทำ Information business มีสินค้าในรูปแบบ หนังสือ ออดิโอ วีดีโอ สัมมนา เวิร์คช็อป โค้ชชิ่ง เรียกว่าครบเป็นอาณาจักร Information business เต็มรูปแบบ

Brendon Burchard

หลังรอดชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เขาเกิดแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้อื่นและผันตัวไปเป็นโค้ชด้านการพัฒนาตัวเอง มีผลงานหนังสือมากมาย รวมไปถึงคอร์สออนไลน์ สัมมนา และงานโค้ชชิ่ง หนึ่งในผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา ได้แก่ หนังสือ The Millionaire Messenger และคอร์ส Expert Academy ที่สอนคนให้สร้าง Information business อ่านบทความเล่าถึง หนังสือ The Millionaire Messenger ที่นี่

Tim Ferriss

อดีตนักธุรกิจ E-Commerce ภายหลังขายกิจการออกไปและผันตัวไปเป็น Blogger และ นักเขียน ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ Tim Ferriss คือ หนังสือ The 4 Hour Workweek ยอดขายมากกว่า 1 ล้านเล่ม และแปล 35 ภาษา ตามมาด้วย The 4 Hour Body, The 4 Hour Chef, Tools of Titans และ Tribes of Mentor — Tim Ferriss ออกผลิตภัณฑ์ไม่เยอะ แต่มุ่งเน้นเนื้อหาที่ขายได้เรื่อย ๆ และนำเงินไปต่อยอดโดยการลงทุนในธุรกิจ Startup กล่าวคือเขาโฟกัสในการเป็น Investor มากกว่า

Nathan Barry

เป็นโปรแกรมเมอร์ประจำบริษัทที่อยากสร้างธุรกิจของตัวเองจึงเริ่มรับงานฟรีแลนซ์ ก่อนที่เขาจะได้แรงบันดาลใจจาก Chris Coyier เจ้าของเว็บไซต์ css-tricks.com ที่สามารถขาย ชุดบทความความรู้ด้านโค้ดดิ้ง เป็นจำนวนเงินประมาณกว่า 3 ล้านบาทไทยภายในระยะเวลาสั้น ๆ เขาจึงตัดสินใจเบนเข็มเข้าสู่ Information business โดยออกชุดผลิตภัณฑ์ความรู้ ได้แก่ The APP Design Handbook, Designing Web Application, Authority และ Photoshop for Web Design ซึ่งทั้ง 4 ชุดสร้างยอดขายรวมมากว่า 25 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี

คอร์สออนไลน์ สร้างเงินล้านได้อย่างไร

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจโครงสร้างการสร้างรายได้หลักล้านที่หลายคนคุ้นเคยกันดี ได้แก่…

  • ขายสินค้า 1 บาทให้คน 1,000,000 คน เท่ากับยอดขาย 1,000,000 บาท
  • ขายสินค้า 10 บาทให้คน 100,000 คน เท่ากับยอดขาย 1,000,000 บาท
  • ขายสินค้า 100 บาทให้คน 10,000 คน เท่ากับยอดขาย 1,000,000 บาท
  • ขายสินค้า 1,000 บาทให้คน 1,000 คน เท่ากับยอดขาย 1,000,000 บาท
  • ขายสินค้า 10,000 บาทให้คน 100 คน เท่ากับยอดขาย 1,000,000 บาท
  • ขายสินค้า 100,000 บาทให้คน 10 คน เท่ากับยอดขาย 1,000,000 บาท
  • ขายสินค้า 1 ล้านบาทให้คน 1 คน เท่ากับยอดขาย 1,000,000 บาท

คอร์สออนไลน์ มีราคาขายปลีกเฉลี่ย 1,000 – 10,000 บาท ขึ้นอยู่กับชื่อเสียง หรือความยินดีของผู้ขาย กรณี CEOblog ต้องการให้คอร์สออนไลน์เข้าถึงคนได้ง่าย จึงขายราคาระหว่าง 2,000 – 6,000 บาท และจากประสบการณ์ของผู้ก่อตั้ง CEOblog พบว่า ราคาที่ลูกค้าตัดสินใจง่ายอยู่ในช่วงราคาไม่เกิน 2,500 บาท เป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับ SkillLane เจ้าของแพลทฟอร์มโรงเรียนออนไลน์ สำหรับคนวัยทำงานที่มีคอร์สมากที่สุดในประเทศไทย 

Tips การตั้งราคา

การตั้งราคาคอร์สออนไลน์ ควรตั้งด้วยตัวเลขเชิงจิตวิทยา ได้แก่ 1500, 1900, 1990, 2500, 2990 เป็นต้น หลีกเลี่ยงตัวเลขกลม ๆ ห้วน ๆ เช่น 3000, 2000 เหล่านี้ควรเลี่ยง

ต้องขาย คอร์สออนไลน์ ให้ได้กี่คนจึงได้ล้าน

สมมุติว่าคุณตั้งราคา คอร์สออนไลน์ ที่ ราคา 1900 บาท คุณต้องการนักเรียนเพียง 527 คนเท่านั้นในการทำยอดขาย 1 ล้านบาท ซึ่งหากคุณรู้สึกว่าเป็นจำนวนที่เยอะ ก็ไม่ต้องกังวลเพราะคุณสามารถวางแผนออกแบบคอร์สออนไลน์ออกมาหลายหลักสูตร หากคุณตัดสินใจว่าปีนี้จะสร้างคอร์สออนไลน์ออกมา 3 หลักสูตร เท่ากับคุณจะต้องการนักเรียนเพียง 176 คนต่อหลักสูตร

และข่าวดียิ่งกว่านั้น คือ หากคุณตั้งใจทำคอร์สเรียนให้ดี มีคุณภาพ ใช้ประโยชน์ได้จริง อัตราการซื้อซ้ำของนักเรียนเก่าสูงถึง 30-40% โดยที่คุณอาจยังไม่ทันได้เสียเงินโฆษณา Facebook ในคอร์สที่ 2 และ 3 เพราะเกือบครึ่งจะมาจากลูกค้าเก่าที่คุณ Broadcast ออกไปทาง Email marketing หรือ Line@ — หมายเหตุ ในประเทศไทยคนนิยมใช้ Line@ มากกว่า

เสน่ห์ของสิ่งที่เรียกว่า อัตรา Conversion Rate 

อัตรา Conversion Rate หรือ สมาชิกใน Line@ ผันไปเป็นผู้ซื้อจะอยู่ที่ประมาณ 3 – 5% โดยย้ำว่าต้องเป็นจำนวนสมาชิกคุณภาพ ได้แก่ เป็นผู้สมัครเข้ามาด้วยความเต็มใจและรู้ว่าสมัครมาเพราะเหตุใด อัตรา Conversion Rate จึงจะสูงดังกล่าว และอัตราการ Block ก็จะต่ำกว่า 40%

ในขณะที่คุณกำลังทำคอร์สออนไลน์หลักสูตรแรก คุณอาจเริ่มทำการตลาดเพื่อสะสมสมาชิกใน Line@ ไปด้วย และ ณ วันที่คอร์สออนไลน์แล้วเสร็จ อาจมีสมาชิกใน Line@ สุทธิ 2,000 คน หากอัตรา Conversion Rate ที่ 3% ก็จะมีผู้ซื้อคอร์สทันทีที่ Broadcast ในวันแรกประมาณ 60 คน ส่วนที่เหลืออาจมาจากการลงโฆษณา Facebook Ads

พลังทวีของการมีคอร์สหลายหลักสูตร

จากนั้นคุณเริ่มสร้างหลักสูตรที่ 2 ไปพร้อมกับทำการตลาดสะสมสมาชิกเข้า Line@ เพิ่ม ถึงวันที่หลักสูตรที่ 2 พร้อมขาย อาจมีสมาชิกใน Line@ ขึ้นไปที่ 4,000 คน ประกอบกับชื่อเสียงที่เริ่มเป็นที่ยอมรับส่งผลให้อัตรา Conversion Rate ขยับไปที่ 4% เท่ากับยอดขาย 160 คนทันทีที่ Broadcast ในวันแรก

เมื่อถึงจุดที่คุณมีหลายหลักสูตรคอร์สออนไลน์ภายในระบบของคุณ คุณจะสามารถทำการตลาดออนไลน์และซื้อโฆษณาออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook Ad, Google Ad เพื่อขายคอร์สออนไลน์ โดย ณ จุดนั้นคุณจะทำงานน้อยลงมาก

กล่าวคือ คุณจะทำงานหนักในช่วงแรก คือ ช่วงของการสร้างสินค้า การทำการตลาด และการสร้างฐานผู้ติดตาม จนกระทั่งทั้งหมดอยู่ตัวแล้ว คุณจะเริ่มเห็นรายได้กึ่ง Passive income จาก Information Products ประเภท คอร์สออนไลน์

หมายเหตุ วิธีทำการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์คอร์สอยู่ด้านล่างของบทความนี้

ความรู้ฟรีมีอยู่ทั่วอินเตอร์เน็ต เหตุใดคนต้องจ่ายเงินซื้อความรู้จากคุณ?

คำถามที่เป็นอุปสรรคสำหรับคนที่อยากเริ่มธุรกิจ ‘ขายความรู้’ หรือ นำความรู้มาทำเป็น Information Products คือ ทำไม?… คนจะต้องมาจ่ายเงินเพื่อซื้อข้อมูลและความรู้จากคุณ ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลเหล่านั้นก็หาได้ฟรีตามอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว

ก่อนเฉลย ลองตอบคำถามเหล่านี้…

ทำไม? คนจึงรับประทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งแพงกว่า ทั้งที่ที่บ้านก็มีครัวและกับข้าว

ทำไม? คนจึงซื้อรถยนต์ ซึ่งแพงกว่า ทั้งที่นั่งรถสาธารณะก็ได้

ทำไม? คนจึงจ้างคนอื่นทำงานแทน ทั้งที่ตนเองก็ทำงานนั้น ๆ ได้

และอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณสามารถทำเองได้ แต่คุณก็เลือกที่จะจ่ายเงินเพื่อให้คนอื่นทำให้

คำตอบคือ.. คนเราจ่ายเงินเพื่อ ซื้อเวลา — เวลาถูกซื้อมาเพื่อผลลัพธ์ ได้แก่ ความเร็ว ความสะดวก หรือแม้แต่ซื้อเพื่อให้ตัวคุณมี Slot เวลาที่ว่างลงจากการให้คนอื่นทำแทน และคุณจะได้ไปทำอย่างอื่น

Information Products ให้ผลลัพธ์ดังกล่าวเช่นกัน นั่นคือ ทำให้คนที่ซื้อข้อมูล ได้รู้ข้อมูลที่ Package มาสำเร็จรูปแล้ว สามารถเรียนรู้ให้รับทราบและเข้าใจได้ภายใน 3-6 ชั่วโมง แลกกับการไปค้นคว้าและทดลองเองซึ่งอาจกินเวลาเป็นเดือน ๆ และช่วงเวลาที่เสียไปนั้นล้วนเป็น Opportunity cost!

ความรู้ด้านไหนขายได้ และขายดี

เมื่อคุณต้องการจะลุกขึ้นมาขาย ความรู้ คุณอาจจะอยากรู้ว่า ความรู้ด้านไหนขายได้และขายดี — เพื่อไม่ให้คุณต้องเสียเวลาทำ Information products ที่ไม่มีใครต้องการ

สูตรจำง่ายมากมาให้ 3 สิ่งหลัก ๆ ที่คนต้องการ ได้แก่ เงิน ชีวิต ความรัก — ถ้าคนไม่รู้เรื่องเงินเขาจะจน ถ้าไม่รู้เรื่องชีวิตเขาจะสุขภาพไม่ดีและตายไว และหากไม่รู้เรื่องความรักเขาจะตายอย่างเดียวดาย ดังนั้น 3 สิ่งนี้กระทบชีวิตทั้งหมด และคนอยากรู้เรื่องนี้

ความรู้ในหมวด เงิน มีอะไรบ้าง?

อะไรก็ตามที่สอนแล้วทำให้คนออกไปหาเงินได้ ได้แก่

สอนสร้างอาชีพเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น

สอนหรือติวเพื่อรับราชการ สอนหรือติวเพื่อการสมัครเป็นนักบิน สอนทักษะนักขาย และสอนการใช้โปรแกรมต่าง ๆ เช่น โปรแกรมโฟโต้ช็อป โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ เพื่อคนเรียนจบสามารถไปทำงานฟรีแลนซ์ได้ เหล่านี้คือการสอนเพื่อให้คนสามารถไปประกอบอาชีพได้ 

สอนทำธุรกิจที่คุณมีประสบการณ์ และสอนการทำการตลาด เหล่านี้เพื่อให้คนมีอาชีพเป็นผู้ประกอบการ หรือหากเป็นอยู่แล้วก็อาจจะเพิ่มยอดขายให้มากกว่าเดิม

และอีกกลุ่ม คือ สอนการลงทุน ลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ และฟอเร็ก เป็นต้น

เหล่านี้จัดอยู่ในหมวด Information products ที่สอนให้คนทำเงิน

ต่อมาคือ สอนชีวิต สามารถขยายความได้ดังนี้ ได้แก่

  • ด้าน Fitness หรือ การออกกำลังกาย
  • ด้าน Diet หรือ การโภชนา
  • ด้าน Health and wellness หรือ การดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ

และสุดท้ายคือ สอนความรัก สามารถขยายความได้ดังนี้ ได้แก่

  • วิธี จีบเพศตรงข้าม และวิธีหาคู่
  • วิธี รักษาความสัมพันธ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ผู้ปกครองและบุตร ความสัมพันธ์ในสังคมและที่ทำงาน
  • และวิธีพัฒนาตัวเองให้เป็นที่น่ารัก

เหล่านี้ล้วนอยู่ในหมวดความรู้ด้าน ความรัก ก็ได้เช่นกัน

และ 3 กลุ่มใหญ่ เงิน ชีวิต ความรัก เป็นกลุ่มที่มีคนยินดีจ่ายเงินเพื่อเป็นทางลัดในการเรียนรู้จากคุณครับ!

3 รูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างรายได้จากการสอน

บทความนี้มุ่งเน้น สร้างรายได้จากการทำคอร์สออนไลน์ ขาย แต่เราจะพาไปทำความรู้จักกับภาพใหญ่ของ Information Products ว่าหลัก ๆ คุณสามารถนำ ความรู้ มาผลิตออกมาใน รูปแบบ (Format) ใดได้บ้าง

Information Products ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง มี 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ แบบอ่าน แบบฟัง และ แบบดู

ประเภทที่ 1 แบบอ่าน

แบ่งออกเป็น หนังสือเล่ม และ หนังสืออิเลคทรอนิกส์ โดยหนังสือเล่มยังแบ่งเป็น หนังสือในระบบสำนักพิมพ์ และ หนังสือแบบ Self-publishing ได้อีกด้วย

เรามาเริ่มกันที่ หนังสือเล่มในระบบสำนักพิมพ์

อันนี้ทุกคนคุ้นเคยกันอย่างดี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่คู่โลกมานาน และอาจเป็นหนึ่งในความฝันของใครหลายคนกับการมีหนังสือเป็นของตัวเอง ผมเป็นหนึ่งในนั้นจนกระทั่งวันหนึ่งสืบทราบว่าส่วนแบ่งนักเขียนเพียง 10% ของราคาปกเท่านั้น ผมก็แทบจะเลิกสนใจช่องทางนี้ไปเลย แต่! ช่องทางนี้มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย

ข้อดีของระบบสำนักพิมพ์ คือ เป็นระบบการจัดการแบบ One-stop คุณนำไปแต่เนื้อหา สำนักพิมพ์จะนำเนื้อหาเข้าสู่กระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ กระบวนการบรรณาธิการ การออกแบบและจัดพิมพ์รูปเล่ม การกระจายหนังสือ การบริหารการเงิน และคุณก็รอรับส่วนแบ่ง — ทำให้การขายหนังสือผ่านระบบสำนักพิมพ์ มีความเป็น Passive income ค่อนข้างสูง เพียงแต่คุณต้องขายได้เยอะจริง ๆ คือขายได้เป็นหลักแสนเล่ม คุณก็จะได้เงินล้านจากหนังสือ

แต่อีกสิ่งหนึ่งที่นักเขียนบางคนสนใจช่องทางนี้เพราะเขาได้ Credit ด้านภาพลักษณ์สูงมาก คุณลองนึกภาพตามกับการมีหน้าตัวเองอยู่บนแผงหนังสือที่ระบุว่า Best Seller ไปทั่วประเทศไทยมันจะเท่ห์ขนาดไหน และนั่นคือสิ่งที่หนังสือผ่านระบบสำนักพิมพ์ทำได้

ส่วนในต่างประเทศ ฝรั่งมีการต่อยอดโดยการใช้หนังสือเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ Information products ตัวอื่น ๆ เช่น ออดิโอบุ๊ค คอร์สออนไลน์ งานสัมมนา และอาจมีแนบคูปองโค้ดในการสมัครซื้อสินค้าอื่น ๆ ต่อยอดไปเรื่อย ๆ กรณีนี้มีคนไทยทำบ้างแล้ว นั่นคือการประชาสัมพันธ์ สัมมนา และไพรเวทโค้ชชิ่ง แม้จะยังไม่แพร่หลาย แต่ขอบอกว่าทำได้นะครับ

ต่อมา หนังสือแบบ Self Publishing

กระบวนการทำงานเหมือนระบบสำนักพิมพ์ทุกประการ นั่นคือต้องการ Proofread และ Edit ตัวอักษร ออกแบบปก จัดทำและสั่งพิมพ์เป็นรูปเล่ม และส่งออกไปขาย เพียงแต่ทั้งหมดนี้ คุณเป็นผู้บริหารจัดการแต่เพียงผู้เดียว

งานจะค่อนข้างวุ่นวายเพราะคุณต้องทำหลายอย่าง ต้องติดต่อดีลกับโรงพิมพ์ ต้องสรรหาคนช่วยออกแบบ และผู้รับจ้าง Proofread และ Edit ตัวอักษร — หนังสือแบบ Self Publish นิยมขายและจัดส่งเอง นั่นหมายความว่าคุณก็ต้อง ทำการตลาดออนไลน์ ทำระบบขาย และบริหารการจัดส่งด้วยตนเอง

แต่ทั้งหมดนี้ แลกกับอัตรากำไรขั้นต้นรวมต้นทุนค่าพิมพ์และค่าจัดส่งแล้ว (แต่ยังไม่รวมค่าตลาด) อาจสูงถึง 40% ขึ้นไป

ผู้ให้บริการพิมพ์หนังสือเล่มมีหลายราย อย่างรายที่ผมคุยด้วย พิมพ์หนังสือขนาดครึ่งหนึ่งของกระดาษ A4 โดยประมาณ ปกสี่สีปั้มนูน ด้านในขาวดำ ความหนาประมาณ 200 หน้า

  • พิมพ์จำนวน 250 เล่ม ต้นทุนเล่มละ 90 บาท
  • พิมพ์จำนวน 500 เล่ม ต้นทุนลงมาเหลือเล่มละ 69 บาท

นั่นหมายความว่า ถ้าคุณพิมพ์ 500 เล่ม ต้นทุนเล่มละ 69 บาท รวมค่าแพ็ก และค่าส่งอาจจะไปสุดที่ประมาณ 120 – 130 บาทกลม ๆ เผื่อ ๆ ไว้ก่อน ราคาขายปลีกเล่มละ 250 บาท ตามราคาแผงหนังสือ คุณจะมีกำไรเล่มละ 48% แต่! ข้อได้เปรียบของหนังสือแบบ Self Publish คือคุณสามารถตั้งราคาได้สูงกว่าราคาแผงหนังสือ เพราะคุณไม่ได้ไปวางแข่งกับใคร คุณกำลังขายในชัยภูมิของตัวเอง บ้านของคุณ กฏของคุณ แฟนคลับของคุณ

เจ้าของแฟนเพจ นำบทความในแฟนเพจมารวมเล่มขายแบบ Self Publishing ด้วยกระดาษและรูปเล่มก็ธรรมดาทั่วไป เขาขายราคา 500 บาท และแฟนคลับก็ซื้อแบบไม่บ่นว่าแพง นี่คือพลังของ แฟนคลับ เขาไม่ได้ซื้อเพราะราคา เขาซื้อเพราะคุณ —- ในวงเล็บ ตราบใดที่ราคาไม่ได้โอเว่อร์จนเกินไป เช่น หนังสือขาวดำ เนื้อหาจากแฟนเพจ ราคาเล่มละ 2,000 บาท อะไรแบบนี้ก็เกินไป คนอาจจะไม่ซื้อ แต่ 400-500 บาทคนยังรับได้อยู่ กรณีนี้ กำไรมากกว่า 100%

สุดท้าย หนังสืออีเลคทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ค

ตัวอย่างอีบุ๊ค ของ CEOblog บนเว็บไซต์ ookbee.com

 

หนังสืออิเลคทรอนิกส์ เรียกสั้น ๆ ว่า E-Book ซึ่งจะตัดกระบวนการผลิตออกไปเกือบทั้งหมด และเหลือเพียงขั้นตอนเดียว คือ การเขียน โดยคุณสามารถเขียน E-Book ลงบนไฟล์ Microsoft Word จัดรูปหน้ากระดาษ และนำไปขายบน E-Book Store อาทิ เว็บไซต์ ookbee.com

ข้อดีของการขายบน E-Book Store คือ ทางเว็บไซต์จะมีระบบ ร้านหนังสือออนไลน์, ระบบแอปพลิเคชั่นการอ่านที่ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์, และระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ เหลือเพียงคุณทำการตลาดให้ดี ๆ และรอรับเงินค่าลิขสิทธิ์อย่างเดียว

ราคาขาย E-Book ไม่จำเป็นต้องถูกกว่าหนังสือเล่มเสมอไป เพราะคุณค่าของ E-Book คือ เนื้อหา คุณสามารถตั้งราคาขาย E-Book ให้อยู่ที่หลักร้อยบาทได้เลย โดย CEOblog ตั้งราคาขาย E-Book ไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อปก โดย E-Book Store จะหักค่าธรรมเนียมการใช้งานระบบจำนวนหนึ่งจากคุณ หรือโดยเบ็ดเสร็จแล้วคุณจะได้รับค่าลิขสิทธิ์ประมาณ 60% จากยอดขาย

อีบุ๊ค กำไรเท่าไร?

การขายผ่าน ookbee ซึ่งเป็น แอปพลิเคชั่น ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อการเผยแพร่อีบุ๊คอย่างปลอดภัยแก่เจ้าของผลงาน และสะดวกสบายแก่ผู้อ่านโดยเฉพาะ ดังนั้น แอปพลิเคชั่นนี้จึงสามารถป้องกัน การส่งต่อ แชร์ต่อ ก็อปปี้ หรือแม้แต่การทำ Mobile screen capture — ทางเดียวที่ผู้ละเมิดจะละเมิดได้นั่น คือ การเอากล้องถ่ายรูปถ่ายทีละหน้า ๆ จนจบ

การขายผ่าน oobee จะมีการหักค่าระบบของเขาเป็น % ที่แตกต่างกันไประหว่าง a

ประเภทที่ 2 แบบฟัง

ได้แก่ เป็น ออดิโอบุ๊ค ซึ่งสามารถบรรจุลง ซีดี แฟลชไดร์ฟ และออนไลน์

เนื้อหาของ ออดิโอบุ๊ค จะอ่านจากหนังสือก็ได้ หรือเขียน Script ขึ้นมาใหม่แล้วอ่านตามก็ได้ ดังนั้นหากจะทำหนังสือ อาจทำเผื่อสำหรับต่อยอดเป็น ออดิโอบุ๊ค นั่นคือเขียนในจำนวนที่เมื่อคุณต้องอ่านเป็นออดิโอด้วยตัวเองแล้วไม่หนักจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่น หนังสือ 1 เล่มหนา 250 – 300 ซึ่งจำนวนนี้ก็ถือว่าหนามากแล้ว คุณต้องอ่านพากย์เสียงจนเหนื่อยแน่นอน

และลืมไปได้เลยกับการจ้างคนมาพากย์ เพราะงานพากย์เสียงนั้นราคาสูงมาก คิดเป็นรายนาที นาทีละหลายร้อยไปจนถึงหลักพันบาท เหมาะกับงานโฆษณา หรืองานภาพยนต์ที่สร้างยอดขายหลายสิบล้านบาท แต่อาจไม่คุ้มกับการทำออดิโอบุ๊คราคาหลักไม่กี่ร้อยบาท

ดังนั้น Concept ในการเขียนหนังสือแบบ Self-Publishing คือเขียนเผื่อทำเป็น ออดิโอบุ๊ค ไปเลย นั่นคือเขียนด้วยความยาวที่คุณจะสามารถพากษ์ให้จบได้โดยไม่เหนื่อยและนานจนเกินไป เช่น เขียนหนังสือสัก 200 หน้า แบ่งหมวดหมู่หัวข้อให้ง่ายต่อการนำไปเป็น Script ในการอ่านตามเป็นต้น

ออดิโอบุ๊ค มีกี่รูปแบบ

ในกรณีที่คุณต้องการทำเอง ไม่นำไปทำและขายผ่าน ookbee หลัก ๆ มี 3 รูปแบบที่ทำได้ ได้แก่ CD Audio, Flash Drive และ Online

CD Audio มีรูปแบบสวยงามน่าเก็บสะสมที่สุด แต่ขั้นตอนการทำก็หลายขั้นตอนและต้นทุนสูง มีค่า CD ค่าไรท์แผ่น ค่ากล่อง ซึ่งกล่องยิ่งออกแบบสวยงามก็ยิ่งแพง ต้นทุนการผลิตเฉพาะในส่วนของ Physical apperance อาจอยู่ที่หลักร้อยบาทต่อหน่วย ยังไม่รวมส่วนแบ่งวิทยากร ถ้ามี

ต่อมาคือ Flash Drive อันนี้ยุ่งยากน้อยลง คุณอาจสั่งทำ Flash Drive เป็นแบรนด์คุณโดยเฉพาะ และสั่งทำกล่องใส่สวย ๆ มีต้นทุนเช่นกัน และอาจถูกละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย

และสุดท้ายคือแบบ Online นั่นคือการอัพโหลดไฟล์เสียงเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ ซึ่ง WordPress มีฟังชั่นในการอัพโหลดไฟล์เสียงให้ฟรีอยู่แล้ว ตรงส่วนของ add media คุณสามารถบันทึกเสียงอ่านของตัวเองโดยการไปเช่าสตูดิโอที่มีห้องกันเสียงก็ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก ชั่วโมงละหลักร้อยกลาง ๆ หลักพันต้น ๆ หรือจะทำเองโดยการบันทึกผ่านโปรแกรม Filmora ก็ได้

จากนั้นแปลงไฟล์เป็น MP3 และอัพโหลดขึ้นระบบเว็บไซต์ แล้วเอาโปรแกรม Member Mouse มาครอบเพื่อล็อกคอนเทนต์ไว้อีกที เป็นต้น

ข้อดีของการทำแบบออนไลน์ คือ ขั้นตอนน้อยกว่า ต้นทุนต่ำกว่า และย่อมหมายถึงกำไรที่สูงกว่า ส่วนข้อด้อย คือ มูลค่าของออดิโอบุ๊คนั้นไม่ได้สูงมากอยู่แล้ว การเพิ่มมูลค่าคือการทำเป็น Physical appearance เช่น CD Audio แต่เมื่อถูกทำเป็น Online การตั้งราคาก็ไม่อาจตั้งได้สูงมากนัก อาจจะประมาณ 300 – 500 บาท หากมากกว่านั้นคนจะเริ่มรู้สึกว่า ฉันซื้อหนังสือมาอ่านเอง หรือไปหาคอร์สออนไลน์เรียนดีกว่าไหม เป็นต้น

ตัวอย่าง CD Audio Book ชุด Power Question ที่เว็บไซต์เคยขาย 

ตัวอย่าง Audio Book บันทึกลงเมมโมรี่การ์ด ชุด Sales Pro โดยแฟนเพจ Sales 101

ออดิโอบุ๊ค กำไรเท่าไร?

ถ้าเป็นรูปแบบ Physical และตั้งราคาขาย 300 – 500 บาทก็จะมีกำไรขั้นต้น คือหักต้นทุนการผลิตและจัดส่งแล้วจะได้รับประมาณ 50% แต่ถ้าเป็น Online ต้นทุนครั้งเดียว คือ ค่าเช่าสตูดิโอและค่าจ้างตัดต่อ (ถ้ามี) ที่เหลือเป็นค่าเช่าระบบรายเดือนรายปี หักสิ่งเหล่านี้ ขายได้เท่าไรคือกำไรทั้งหมด

ประเภทที่ 3 แบบดู

ได้แก่ วีดีโอคอร์ส ซึ่งสามารถบรรจุลง ดีวีดี แฟลชไดร์ฟ และออนไลน์ — เป็นกลุ่มสินค้าที่มี มูลค่าในตัวเองสูง และโชคดีที่ในปัจจุบัน คอร์สออนไลน์เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และสามารถขายได้ในราคาหลายพันบาท ไปจนถึงหลักหมื่นบาท ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องทำเป็นรูปแบบ Physical ให้เสียเวลา เสียทรัพยากรอีกแล้ว มุ่งไปทำ คอร์สแบบออนไลน์และเต็มที่กับคุณภาพไปเลย

คอร์สออนไลน์ กำไรเท่าไร?

ถ้าคุณขายบนเว็บไซต์ E-Learning Marketplace อาทิ SkillLane จะมีการหักส่วนแบ่ง ตรงนี้อาจต้องเช็คตัวเลขกับทางต้นสังกัดว่าคิดที่เท่าไร แต่ก็พอบอกได้ว่าเขาหักส่วนแบ่งต่ำกว่า 50% นั่นหมายความว่า เจ้าของเนื้อหาจะได้มากกว่า 50%

อาจฟังดูเยอะ แต่ต้องบอกก่อนว่า SkillLane เป็น One-stop ที่ทำให้คุณทุกอย่าง ตั้งแต่ถ่ายทำ ตัดต่อ แปลงไฟล์ เอาขึ้นเว็บไซต์ ทำระบบต่าง ๆ เช่น ระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ระบบชำระเงิน ระบบบัญชี ทำการตลาดพาคนเข้าเว็บไซต์เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อคอร์สของคุณ คุณทำคอร์สเสร็จ รอรับเงินอย่างเดียว

CEOblog มีรายได้แบบ Passive income จาก SkillLane หลักหลายพัน ไปจนถึงหลักหมื่นต่อเดือน อาจฟังดูไม่เยอะ แต่ย้ำว่า คุณไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว แต่ถ้าคุณมีการทำการตลาดอย่างจริงจัง ยอดขายหลักแสนก็เป็นไปได้

ต่อมา กรณีที่คุณสร้างระบบของตัวเอง ซึ่งเป็นช่องทางหลักของ CEOblog โดยทำบนโปรแกรมทำเว็บไซต์ด้วย WordPress

ต้นทุนของการสร้างระบบเอง หากไม่นับต้นทุนการสร้างคอร์สซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียว หลังจากนั้นคุณจะมีแต่ค่าเช่าระบบ E-Learning ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนบ้าง รายปีบ้าง เต็มที่ไม่เกินปีละ 50,000 บาท ฉะนั้น ในแต่ละปีคุณขายได้เท่าไร หักค่าเช่าระบบ E-Learning ออกไปคือกำไรขั้นต้นของคุณเต็ม ๆ ครับ

ตัวอย่าง คอร์สออนไลน์ CEOblog บนเว็บไซต์ SkillLane

ตัวอย่าง คอร์สออนไลน์ CEOblog ที่สร้างระบบ E-Learning Management System บนเว็บไซต์ WordPress ทำเอง

5 ขั้นตอนเตรียมเนื้อหาเพื่อสร้างคอร์สออนไลน์

คอร์สออนไลน์ที่ดีควรมี Script เพื่อคุม Theme เนื้อหา การเขียน Script คล้ายการเขียนหนังสือ โจทย์ต่อมาคือ คุณคิดว่าการเขียนหนังสือพ็อกเกตบุ๊ค 1 เล่มใช้เวลานานแค่ไหน?

คนจำนวนไม่น้อยเดาว่าเป็นเดือน หรือเป็นปี บางคนอาจจะเคยได้ยินเพื่อน ๆ ของเขาบอกว่ากำลังเขียนหนังสืออยู่ และพบว่า 6 เดือนผ่านไปเพื่อนคนนั้นก็ยังเขียนไม่เสร็จ — สรุปมันนานขนาดนั้นเลยหรือ?…

Grand Cardone อดีตนักขาย นักธุรกิจ ที่ผันตัวมาทำ Information business บอกว่า หนังสือเล่มแรกของเขาใช้เวลาเขียน 3… วัน ส่วนผู้ก่อตั้ง CEOblog ใช้เวลาในการลงมือเขียนหนังสืออีบุ๊คความยาวเทียบเท่าพ็อกเก็ตบุ๊คร้อยกว่าหน้า โดยใช้เวลาหลังเลิกงานประจำและวันหยุดในการเขียน ใช้เวลาทั้งสิ้น 2 สัปดาห์ แต่หากนับจำนวนชั่วโมงรวมกันไม่เกิน 30 ชั่วโมง

การเขียนหนังสือใน Topic ที่คุณมีความรู้ และอาจมีการทำ Research เพิ่มเล็กน้อย ก็จะใช้เวลาไม่นาน หากลงหลักปักฐานเขียนทั้งวันทั้งคืนก็จะสามารถเขียนหนังสือความยาวประมาณ 130-170 หน้าพ็อกเก็ตบุ๊คตัวหนังสือแน่น ๆ ให้จบได้ภายใน 1 – 3 สัปดาห์ —- ส่วนคนที่ใช้เวลาเป็นปีนั้นเพราะเขาไม่ได้ลงมือเขียน

การเขียนหนังสือเป็นงานที่ต้องมีการวางแผน สร้างกรอบการทำงานที่ชัดเจน และวินัยที่เข้มงวด เพื่อให้เสร็จในระยะเวลาดังกล่าว และต่อไปนี้คือวิธีวางแผนเขียนเนื้อหาที่จะนำไปสร้าง Information Products ให้จบ

แนวคิดของการเขียน Script คือ ทำทั้งทีก็ทำทีเดียวแล้วใช้ได้หลายต่อ ดังนั้นคุณจึงต้องมี Script กลางที่สามารถนำไปประยุกต์ทำเป็น หนังสือก็ได้ นำไปอ่านเป็นหนังสือเสียงก็ได้ นำไปบรรยายเป็นวีดีโอคอร์สก็ได้ สูตรในการทำ Script บรรยาย Information Products ของคุณ คือ สูตร 5-C ได้แก่ Category, Course Topic, Course Table of Content, Calendar of production, และ Content Script

Category

Category คือ หมวดใหญ่ของสิ่งที่จะสอน อาทิ คุณเป็นเทรนเนอร์ออกกำลังกายผู้เชี่ยวชาญทั้ง Weight training, Cardio และ Dietary หรือ การโภชนาการสำหรับผู้ออกกำลังกายสร้างหุ่นเฟิร์ม และในขณะเดียวกัน คุณก็เป็นนักสมาธิที่ยอดเยี่ยม

คุณก็มากำหนดว่าในปีนี้ทั้งปี คุณจะทำคอร์สอะไรบ้าง อย่าเอาทุกความรู้ทั้ง การออกกำลัง การฝึกสมาธิ และการทำอาหาร มารวมไว้ในคอร์สเดียว เพราะนอกจากคุณจะไม่เหลืออะไรให้สอนแล้ว คนเรียนก็จะรับภาระหนักจนเกินไป รวมไปถึงคอร์สที่จับฉ่ายรวมทุกอย่างไว้ จะจับกลุ่มเป้าหมายหลักไม่ได้เลย

ดังนั้น ให้คุณแยก ออกเป็น Category Fitness ได้แก่การออกกำลังกายและการโภชนาการ และ Category Self-improvement การพัฒนาตัวเอง ฝึกจิตใจ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นต้น

กรณีของผม ผมมี 2 Category ได้แก่ Digital Business ประกอบไปด้วย Blog Millionaire, และ Expert Business Empire และ Traditional business ประกอบไปด้วย How to Win Buyer สำหรับฝ่ายขายองค์กร, และออดิโอบุ๊คและอีบุ๊คสอนประกอบอาชีพแปลอิสระ, และอีบุ๊คสอนวิธีบริหารสินค้านำเข้า

Course Topic

เมื่อมี Category แล้วต่อมาคือ Topic ที่จะสอน ก็คือ หัวข้อใหญ่ว่าจะสอนเรื่องอะไร และตั้งชื่อให้กับคอร์ส หรือออดิโอบุ๊ค หรือหนังสือของคุณ ยกตัวอย่างเช่น

Category Fitness > Topic Body Weight > ตั้งชื่อคอร์สว่า ฟิตแอนด์เฟิร์มสร้างได้ 60 วันกับการออกกำลังกายแบบบอดี้เวท

Category Self Improvement > Topic Mindfulness > ตั้งชื่อคอร์สว่า งานมีประสิทธิภาพ กับการทำสมาธิวันละ 10 นาที

การตั้งชื่อคอร์สให้แสดงผลลัพธ์ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณจะได้อะไร จำนวนเท่าไร ภายในระยะเวลาเท่าไร จะช่วยให้เขาเห็นภาพรวมและตัดสินใจซื้อได้ ฉะนั้นใครเคยตำหนิพวกชื่อหนังสือ หรือชื่อคอร์ส อะไรรวย ๆ ปัง ๆ ง่าย ๆ เร็ว ๆ — ก็อย่าเพิ่งตำหนิมากนัก เพราะนี่เป็นจิตวิทยาที่นักการตลาดศึกษากันมาแล้วว่าใช้ได้ผล และผมเคยลองมาแล้ว

สมัยก่อนคอร์สอนทำบล็อกผมตั้งชื่อว่า Blog to Business ทำธุรกิจจากบล็อก ปรากฏว่าขายแทบไม่ออก คนงงสิครับ อะไรวะบล็อก อะไรคือทำบล็อกเป็นธุรกิจ ภายหลังตั้งชื่อ Blog Millionaire ทำบล็อกอย่างไรให้ได้ล้าน โดยมี Tagline คือ เรียนรู้วิธีสร้างรายได้ 7 หลักต่อปีจากการเขียนบล็อกอยู่กับบ้าน ปิดจ็อบเลยครับ คนเก็ต และตัดสินใจซื้อได้ไม่ยาก เพราะชื่อมันบอกภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่เขาจะได้รับ

สร้างรายได้ปีละล้าน โอเคฉันอยากได้

ทำอยู่กับบ้านด้วย โอเคฉันเอง ๆ

หลักการเดียวกัน…

ชื่อคอร์สหรือแท็กไลน์ที่สื่อว่า สอนออกกำลังด้วยบอดี้เวท เห็นผลใน 60 วัน ปัง! โดน Pain point คนอยากเห็นผลใน 60 วันก็ซื้อ

ชื่อคอร์สหรือแท็กไลน์ที่สื่อว่า สอนทำอาหารรับประทานเองง่าย ๆ หุ่นสวย ประหยัดเงินปีละแสน ปัง! โดน Pain point คนปวดใจกับค่าอาหารสำเร็จที่แพงและกินแล้วอ้วน ทำเองสวย ประหยัดเงินปีละแสน ก็ซื้อ

Course Table of Content

มี Category แล้ว มี Topic มี ชื่อ และมีแท็กไลน์ที่จะสอนแล้ว ต่อมาคือการทำสารบัญ สารบัญเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของคอร์สทั้งหมด และคุมโทนเนื้อหาทั้งหมดไม่ให้หลุดประเด็น

1. ระดมไอเดีย

จงระดมไอเดียของคุณมาจดเป็นหัวข้อสารบัญทั้งหมดใน Topic นั้น ๆ ออกมาก่อนโดย ณ จุดนี้เน้นจำนวนเป็นหลัก

2. จับคู่ที่คล้ายกัน

เมื่อระดมไอเดียออกมาแล้ว เช่นได้มา 50 ไอเดียหัวข้อสารบัญ ให้ทำการคัดว่าอันไหนน่าจะรวมอยู่ในหัวข้อเดียว แล้วทำการคัดและควบรวมจนเหลือแต่หัวข้อคม ๆ ซึ่งจาก 50 หัวข้ออาจเหลือ 24 หัวข้อ

3. แบ่งบทและตอนย่อย

จากนั้นทำการแยกว่าหัวข้อไหนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

เช่น 12 หัวข้อนี้อยู่ในกลุ่ม การออกกำลังกาย อีก 12 หัวข้อทีเหลืออยู่ในกลุ่ม การบริหารการโภชนาการ ถ้ามองเผิน ๆ ก็เท่ากับมี 2 บท 24 ตอนย่อย แต่!.. พอดูให้ละเอียดพบว่า ใน 12 หัวข้อของบท การออกกำลังกาย ยังอาจแบ่งเป็น Warm up, Excercise, และ Cool down

และบท การโภชนการ ยังสามารถแบ่งออกเป็น Shopping วัตถุดิบ, และ Cooking

ฉะนั้นเรื่อง

การออกกำลังกาย มี 3 บทใหญ่ ได้แก่ Warm up, Excercise, และ Cool down

และการโภชนาการ มี 2 บทใหญ่ ได้แก่ Shopping และ Cooking

Information products ชุดนี้จึงมีทั้งสิ้น 5 บท 24 ตอน แล้วคุณก็เอาแต่ละตอนย่อยไปเรียบลำดับเป็นตารางสารบัญ ขัดเกลาชื่อแต่ละบทและตอนย่อยให้น่าสนใจ คุณก็จะได้ Outline ทั้งหมดที่จะสอน

Tips ในการทำ Information Products คือ ไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะคุณจะทำงานหนัก อาจท้อถอยทำไม่เสร็จ และคนเรียนจะเรียนจนท้อด้วยเพราะมันเยอะ ปริมาณพอดี ๆ เช่น

  • หนังสือ 200 หน้า
  • ออดิโอ 2-4 ชั่วโมง
  • วีดีโอ 3-5 ชั่วโมง

Calendar of Production

พอได้ Course table of content แล้ว ต่อมาก็มาทำ Calendar of production โดยขอยกกรณีของการทำ คอร์สออนไลน์ เพราะกระบวนการเยอะกว่าเพื่อน ได้แก่

1 กำหนด การทำคอร์ส Script

Script เพื่อคุณจะบรรยายในประเด็น เนื้อหาแน่น คม ไม่หลงทาง ไม่ออกทะเล เขียน Script ออกมาเหมือนเขียนหนังสือ เขียนจบแล้วท่อง Script เพื่อความแม่น และอาจเปิดอ่าน Script ระหว่างถ่ายทำเหมือนนักข่าวก็ไม่เสียหาย วางแผนว่าคุณจะทำคอร์ส Script วันละกี่ตอน ต้องแล้วเสร็จภายในเมื่อไร และจะสักซ้อมเป็นเวลากี่วันกี่ชั่วโมง

2. กำหนด การทำ Slide

การบรรยายบางครั้งต้องมี Slide ประกอบ Script ส่วนไหนใช้ Slide ประกอบ ทำเครื่องหมายกำกับไว้ และสร้างกำหนดการณ์ว่าจะทำ Slide อันไหน วันไหน และทั้งหมดต้องเสร็จเมื่อไร

3. กำหนด วันถ่ายทำวีดีโอ

ถ้าคุณวางแผนทั้งหมดมาดี Script แม่น Slide เป๊ะ คุณมีโอกาสถ่ายทำวีดีโอความยาว 3-4 ชั่วโมงเสร็จภายในวันเดียว อย่าลืม การบรรยายผ่านกล้องไม่เหมือนกันการบรรยายสดบนเวที มันไม่มีอารมณ์ร่วม มันต้องใช้แอคติ้ง มันต้องใช้สมาธิเยอะกว่า พลังงานเยอะกว่า ฉะนั้นมันยากกว่ามาก

ถ้าคุณไม่ได้ซ้อมมามากพอ หรือไม่ได้มีประสบการณ์หน้ากล้องบ่อย ผมพูดเลยว่าเละ! โดยเฉพาะถ้าคอร์สคุณยาวมากกว่า 4 ชั่วโมง คุณอาจจะเหนื่อยจนไปต่อไม่ไหวและต้องอัดต่อวันอื่น ถ้าคุณจ้างทีมงานเอาต์ซอสแล้วการถ่ายทำบานปลายหลายวัน คุณจะมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากและอาจมากถึงหลังมากกว่า ครึ่งแสนบาท

ฉะนั้นวางแผนดี ๆ วีดีโอความยาวไม่เกิน 4 ชั่วโมง Script แน่น ๆ ซ้อมเนื้อหาแม่น ๆ กำหนดวันถ่ายทำที่พอดีกับความพร้อม แล้วลุยให้จบในวันเดียว ถ้าใครมีส่วนที่เป็น Screen recording แบบไม่ต้องเห็นหน้า อันนั้นก็ชิว ๆ หน่อย โปรดักชั่นไม่ต้อง แสงไม่เน้น ก็อาจแยกออกมาถ่ายทำที่บ้าน ในห้องนอนอะไรก็ได้ต่างหากเพื่อคุมค่าใช้จ่าย

Content Script

พอคุณได้ทั้ง 4 C มาแล้ว ก็มาถึง C ตัวสุดท้าย คือ เริ่มต้นลงมือทำ เขียน Content Script และทำ Content Slide ตาม Table of Content และ Calendar ของคุณอย่างมีวินัยให้จบภายในกำหนดการณ์ของคุณ

สรุปโดยคร่าว เตรียมเนื้อหาหลักสูตรเพื่อทำคอร์สออนไลน์ให้อาศัยสูตร 5C ได้แก่ Category, Course Topic, Course Table of Content, Calendar of production, และ Content Script

Digital Marketing การตลาดออนไลน์ให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณ

Digital marketing หรือ Online marketing หรือ Internet marketing ก็แล้วแต่ล้วนมีความหมายประมาณเดียวกัน คือ ใช้ช่องทางและเครื่องมือต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (ว่าที่ลูกค้า) เป็นช่องทางทำการตลาดที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ เข้าถึงคนได้เร็ว และสามารถวัดผลการทำงานได้แม่นยำ

5 เครื่องมือหลักสำหรับเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์

  • Content Marketing
  • Website
  • Facebook
  • Google
  • Email Marketing

ไปดูกันทีละหัวข้อ…

ทำการตลาดด้วย Content Marketing บนโลกออนไลน์

Content หรือ เนื้อหา เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ แบรนด์ของคุณ เข้าถึงผู้คนบนโลกออนไลน์ เนื้อหาต่าง ๆ สามารถอยู่ในรูปแบบ ตัวอักษร ภาพ เสียง หรือวีดีโอ ก็ได้ โดยในต่างประเทศยกย่องให้ Content is King! แห่งโลกออนไลน์

Content หรือ เนื้อหา เป็น ‘สินทรัพย์‘ ชนิดหนึ่ง เพราะสามารถนำพาไปสู่การเกิดรายได้ทางอ้อม ยกตัวอย่าง Facebook, Instagram, Twitter ธุรกิจมูลค่านับหลายหมื่นล้านบาทไปจนถึงแสนล้านก็เพราะ เนื้อหาจำนวนมหาศาล ที่สร้างโดย User ด้วยกันเองและดึงดูด User ใหม่ ๆ เข้ามาในระบบจนกลายเป็น ‘Community’ หรือ ชุมชนขนาดใหญ่บนโลกออนไลน์ และดึงดูดผู้คนให้อยากมาลงโฆษณาในพื้นที่นั้น ๆ โมเดลดังกล่าวในไทย อาทิ Wongnai, และ Pantip

แนวคิดการทำ Content Marketing

หน้าที่ของ Content marketing คือ Awareness – สร้างการรับรู้ และ Attract – ดึงดูดผู้คน เข้ามายังต้นทางของ เนื้อหา ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ เว็บไซต์ของคุณ โดยคุณต้องจัดเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่จะใช้ผัน Website visitor เหล่านั้นไปเป็น Buyer นั่นเอง

ส่วนขั้นตอนในการทำ Content marketing นั้นมีคีย์เวิร์ดสำคัญ ได้แก่ มีประโยชน์ ต่อเนื่อง อดทน นั่นคือ การสร้างเนื้อหาฟรีที่ดีและมีประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายของคุณ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยความอดทนใจเย็นเป็นอันมาก ให้ตั้งกำหนดเวลาในช่วงแรกไปเลยว่าคุณจะทำการตลาดด้วย Content marketing สัก 2-4 เดือนก่อนเริ่มขายสินค้า เป็นต้น

ทำการตลาดด้วยเว็บไซต์ (Website)

เว็บไซต์ คือ พื้นที่ในการบรรจุ เนื้อหา ทุกชนิด ทั้ง Text, Audio, Videos, และ Images ทั้งแบบเสพฟรีและแบบชำระเงิน การมีเว็บไซต์สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบ Shopping cart และ Payment gateway ต่าง ๆ และการมีเว็บไซต์เพิ่มโอกาสถูกหาเจอบน Google search engine ได้ดีกว่าการเก็บเนื้อหาไว้บนโซเชียลมีเดียแต่เพียงอย่างเดียว และนอกจากนั้น เว็บไซต์ย้งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของคุณ

การมี เว็บไซต์ เป็นของตัวเองในปัจจุบันเป็นเรื่องง่ายและประหยัด ด้วยงบประมาณเพียง 4,000 – 8,000 บาท คุณก็สามารถมีเว็บไซต์สวยงามเป็นมืออาชีพภายใน 30 นาที วีดีโอด้านล่างเป็น Step-by-Step วิธีสร้างเว็บไซต์ WordPress ด้วยตนเอง ได้แก่ การเช่าโฮสต์ จดโดเมน และติดตั้งโปรแกรม WordPress ซึ่งเป็นโปรแกรมทำเว็บไซต์ที่นิยมมากที่สุดในโลกครับ

วิธีสร้างเว็บไซต์ WordPress ด้วยตนเอง

 

ทำการตลาดด้วย Google Search Engine

เนื้อหาที่ถูกเขียนลงเว็บไซต์มีโอกาสติด Google search engine ภายใน 3 – 7 วัน สำหรับเว็บไซต์ใหม่ และภายในไม่ถึง 1 ชั่วโมงสำหรับเว็บไซต์ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่มีบทความใหม่สม่ำเสมอทุกวันและทราฟฟิกหมุนเวียนภายในเว็บไซต์ 50,000 – 100,000 Visitors ขึ้นไปต่อเดือน

การติดอันดับดังกล่าวจะติดอันดับได้เองโดยไม่ต้องใช้เทคนิค SEO (Search Engine Optimization) ใด ๆ เพียงแต่อาจจะไม่ใช่การติดอันดับในหน้าแรก ๆ เพราะการติดอันดับในหน้าแรกหรือแม้แต่ 3-5 อันดับแรกนั้นอาศัยหลายปัจจัย โดยจะขอนำเสนอ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ Keyword และ Back links

Keywords: Google จะมีโปรแกรมตระเวนเก็บข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆแล้วส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลใหญ่ของ Google เนื้อหาเว็บไซต์ที่ได้รับการบันทึกแล้วโดย Google เรียกว่า Index เนื้อหาที่ได้รับการ Index แล้วมีโอกาสถูกค้นเจอผ่าน Google Search Result Page (SERP) Google จะเลือกบทความของเว็บไซต์ใดๆ มาแสดงผลโดยอิงจาก ‘คำค้นหา’ หรือ ‘Keyword’ ที่ผู้ใช้งานป้อนลงไปในกล่อง Search box ในหน้าเว็บไซต์ www.google.com

ยกตัวอย่าง ผู้ใช้งานป้อนคำว่า ‘วิธีลดน้ำหนัก’ Google จะดึงบทความที่มีคำว่า วิธีลดน้ำหนัก มาแสดงผล แต่การแสดงผลนั้นอาจมากถึง 2.4 ล้านผลการค้นหา และบทความที่อยู่หน้าแรกอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการ ดังนั้น! ผู้ใช้งานจึงป้อนคำว่า ‘วิธีลดน้ำหนัก+โยคะ’ ผลการค้นหาลงมาที่ 5 แสนกว่าผลการค้นหา (รูปตัวอย่างด้านล่าง)

ceoblog infopreneur-soe 01

———————–

ceoblog infopreneur-soe 02

 

สาเหตุของการใช้ Google นั้นเพื่อค้นหาเนื้อหาที่คน ๆ นั้นกำลังสนใจหรือต้องการแนวทางไปใช้แก้ปัญหา ดังนั้นคุณสามารถใช้ประโยชน์จาก Google ด้วยการเขียนบทความ How-to ดี ๆ มีเนื้อหาเชิงลึกและลงรายละเอียด เนื้อหาเหล่านี้จะมีโอกาสติด Google แน่นและทนนาน ในระยะยาวคุณมีโอกาสได้ Search traffic แม้จะเขียนทิ้งไว้นานเป็นปี ๆ

Back Links: คำค้นหา เป็นตัวกำหนดเบื้องต้นว่าผู้ใช้งานสนใจเรื่องอะไร แต่การที่ Google จะประเมินได้ว่าบทความใดในบรรดาหลายล้านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหานั้นจะมีประโยชน์เชื่อถือได้ในระดับหนึ่งต้องอาศัย Back links

Back links คือการที่คนอ่านบทความแล้วชอบจึงเอา Links บทความนั้นๆไปแชร์ต่อยังที่ต่างๆ เช่น เว็บบอร์ด เว็บไซต์ส่วนตัว เว็บไซต์องค์กร และในเฟซบุ๊ก Back links เหล่านี้เปรียบเสมือนการโหวตว่าคนชอบและเห็นว่ามีประโยชน์จริงจึงนำไปแชร์ต่อ เป็นสัญญาณในการบอก Google ในลำดับต่อมาว่าบทความนั้นเหมาะแก่การนำมาจัดอันดับต้นๆ เสนอแก่ผู้ใช้งาน Google

นี่เป็นสองปัจจัยหลักจากหลายๆ ปัจจัย ยังไม่นับอายุของเว็บไซต์ที่นำไปแชร์ ความเกี่ยวข้องของเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่นำไปแชร์ ฯลฯ อีกมากมาย และที่เล่ามาเป็นการทำ SEO แบบธรรมชาติขั้นพื้นฐานนะครับ ยังไม่รวมไปถึงการตั้งใจสร้าง Back links ให้ตนเอง ฯลฯ แต่ที่จริงแล้ว หากคุณเข้าใจการทำงานพื้นฐานของ Google และทำบทความดีๆ สม่ำเสมอ ในระยะยาวคุณก็มีโอกาสไต่อันดับ Google อย่างยั่งยืนในขณะที่การตั้งใจทำ SEO มากเกินไปอาจเกิดผลเสียในระยะยาวเช่นกันครับ

SEO ใช้เวลาสักพักกว่าคนจะเห็นแต่ Social media โดยขอเน้นเฉพาะเฟซบุ๊กเป็นหลัก — คุณเขียนข้อความหรือเอาลิงค์จากเว็บไซต์ไปแชร์ไม่นานคนก็เห็นกันมากมาย โดยเฉพาะเฟซบุ๊กส่วนตัวหรือแฟนเพจที่มีคนติดตามมากอยู่แล้วก็จะเกิดการแชร์กันกระจาย แต่หากแฟนเพจของคุณยังมีคนติดตามไม่มาก เฟซบุ๊กก็มีโปรแกรมโฆษณาให้คุณซื้อโฆษณาเร่งอัตราการเข้าถึงผู้คนเช่นกัน

ทำการตลาดด้วย Facebook

SEO ใช้เวลาพักใหญ่กว่าคนจะรู้จักคุณ แต่ Facebook มีโอกาสเข้าถึงคนภายในนาทีแรกที่คุณเผยแพร่เนื้อหา แต่วัตถุประสงค์หลักของคุณคือการนำคนเข้าเว็บไซต์ ดังนั้นจงมุ่งเขียน เนื้อหา ลงในเว็บไซต์และนำลิงค์ไปแชร์ใน Facebook โดยในช่วงแรกอาจจะยังไม่มีคนเห็นมากนัก จึงควรมีการ Boost Post ให้กับ Facebook Business Page และให้กับ Post ในช่วงแรก ๆ และเมื่อคนเริ่มติดตามคุณมากขึ้นก็จะเกิด Organic reach โดยปริยาย

และการ Boost post ให้กับ บทความ ที่มีประโยชน์โดยไม่มีการขายของก็ยังสามารถ Boost ให้ได้กำไรได้เช่นกัน โดยในบทความนั้น ๆ ควรวางระบบ Lead generation หรือ การเก็บรายชื่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อใช้ในการทำ Email marketing หรือ LINE@ marketing ในภายหลัง

ทำการตลาดด้วย Email Marketing

Email marketing เป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ เพราะการได้รายชื่ออีเมล์ของผู้มุ่งหวังช่วยให้คุณสามารถติดต่อกลุ่มหมายได้โดยตรงโดยไม่ต้องยิงโฆษณาซ้ำ ๆ ทุกครั้งไป เครื่องมือเก็บรายชื่อเรียกว่า Lead Generation และกิจกรรมการเก็บสะสมรายชื่อเรียกว่า List building

เครื่องมือ ขั้นตอน และวิธีทำ Lead Generation และ List Building

ผู้ให้บริการ: การเก็บรายชื่ออีเมล์ต้องใช้เครื่องมือช่วย แต่ไม่ต้องห่วงเพราะเป็นเครื่องมือสำเร็จรูปมีผู้ให้บริการอยู่แล้ว คุณเพียงสมัครเปิดบัญชีกับผู้ให้บริการจากนั้นนำโค้ดไปแปะลงในเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊ก ก็จะปรากฏเป็นกล่องกรอกอีเมล์เมื่อคนมาสมัครรายชื่ออีเมล์ ข้อมูลของพวกเขาจะถูกบันทึกไว้ที่ฐานข้อมูลของผู้ให้บริการและคุณสามารถเขียนอีเมล์ส่งไปหารายชื่อเหล่านั้นได้ตลอดเวลา ข้อมูลรายชื่อยังสามารถ Export ออกมาเป็นไฟล์ MS Excel ได้อีกด้วย

ผู้ให้บริการมีหลายราย อาทิ Mailchimp, Convert Kit, Campaign Monitor, Get Response เป็นต้น ฯลฯ ผู้ให้บริการเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป เริ่มต้นที่เดือนละไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงเดือนละหลายหมื่นบาท โดยขึ้นอยู่จำนวนรายชื่อในระบบ ผู้ให้บริการส่วนมากมีการเปิดให้ทดลองใช้ฟรี และจุดเด่นของการใช้เครื่องมือ Email marketing คือ ฟังชั่น Auto Responder

Auto Responder เป็นระบบจัดส่งอีเมล์โดยอัตโนมัติ คุณสามารถเขียนอีเมล์เก็บไว้เป็นชุดและตั้งเวลาส่งตามกำหนดอย่างต่อเนื่องไปหาผู้สมัครรายชื่ออีเมล์แต่ละคนโดยที่คุณไม่ต้องมานั่งส่งเองกับมือทุกวัน

วิธีกระตุ้นให้คนสมัครอีเมล์: ลำพังเพียงลิงค์เชิญคนสมัครอีเมล์ทิ้งไว้เฉย ๆ อาจไม่ดึงดูดให้คนลงทะเบียนรายชื่ออีเมล์มากพอ คุณต้องกระตุ้นให้คนสมัครโดยการแจกของรางวัลฟรีเพื่อแลกกับรายชื่อ โดยของฟรีที่นิยมแจก ได้แก่ Digital material อาทิ E-book หรือ Video course เป็นต้น

กล่องสมัครรายชื่ออีเมล์สามารถออกแบบสวย ๆ ได้โดยตรงจากโปรแกรมของผู้ให้บริการครับ สามารถนำไปแปะไว้ที่ Side bar ของเว็บไซต์หรือ คุณจะทำรูปภาพสวย ๆ ขึ้นมาใหม่เองโพสต์เป็นลิงค์ลงในเฟซบุ๊กก็ได้

ตัวอย่าง Green Exam Academy เก็บรายชื่อทางเว็บไซต์

 

 

side bar1

 

ตัวอย่าง CEOblog เก็บรายชื่อทาง Facebook Business Page

 

side bar3

การสื่อสารกับผู้สมัครรายชื่ออีเมล์: เมื่อคุณสร้าง Auto responder campaign ขึ้นมาแล้วควรมีอีเมล์ส่งออกไปเป็นชุดเพื่อสื่อสารกับผู้สมัครอย่างต่อเนื่องในช่วงแรกอย่างน้อย 7 – 10 ชุดอีเมล์ (7 – 10 วัน) เพื่อผู้สมัครจะจดจำคุณได้ และอย่างที่บอกไปว่า คุณสามารถทำเป็น E-Book สั้น ๆ ความยาว 20-30 หน้า หรือ คลิปวีดีโอความยาวคลิปละ 3 นาที จำนวน 5-10 คลิป หลังจากนั้นคุณอาจส่งอีเมล์ความรู้ Tips & Trick เป็นตอน ๆ หรือส่งลิงค์บทความในเว็บไซต์ของคุณตามไปวันละครั้งต่อเนื่องทุกวัน หรือวันเว้นวันเป็นเวลา 7-30 วันก็ได้

เปลี่ยนจาก Email เป็น LINE@

Email marketing ในไทยอาจได้ผลลัพธ์น้อยกว่าสำหรับในประเทศไทย เพราะบ้านเรานิยมใช้ Line ในการติดต่อสื่อสาร ทำงาน คุยงาน และซื้อของออนไลน์ ดังนั้นคุณสามารถประยุกต์ใช้กลยุทธ์ Email marketing โดยเปลี่ยนแพลทฟอร์มมาเป็น LINE@ แทน