ค้าปลีกออฟไลน์ทำอย่างไรจึงจะไม่ตาย ในวันที่ออนไลน์ขายทุกอย่างได้เหมือนคุณ

ตลอดปี 2015-2016 ที่ผ่านมามีข่าวการปิดตัวสาขาอย่างต่อเนื่องของห้างร้านค้าปลีกออฟไลน์ หรือ Traditional retailer และ Modern trade ในอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่รายใหญ่อย่าง Walmart, Sears, Marcy, Kmart ที่นอกจากจะรายได้ลดลง หรือขาดทุนแล้ว ยังปิดตัวรวมกันนับพันแห่ง ลอยแพคนงานเป็นแสน ๆ คน ในขณะที่ในประเทศไทยเองก็มีเสียงบ่นจากพ่อค้าแม่ค้าว่ายอดขายลดลง คนซื้อของน้อยลง

แต่ในทางกลับกัน ฝั่งค้าปลีกออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซกลับเติบโตโดยเฉพาะ Jeff Bezos เจ้าของ Amazon เว็บไซต์ออนไลน์มาร์เก็ตเพลสรายใหญ่ได้ขึ้นแท่นเป็น คนรวยที่สุดในโลก เบียดแชมป์หลายสมัยอย่าง Bill Gates แห่ง Microsoft สำเร็จ

หลายคนมองว่าเพราะ อีคอมเมิร์ซ มาแย่งลูกค้าไป แต่หากเป็นเช่นนั้นจริง ทำไม Jeff Bezos กลับมีแผนที่จะเปิดค้าปลีกแบบมีหน้าร้านมากขึ้นทั้ง Amazon Book Store และ Amazon Go รวมไปถึงการเข้าซื้อค้าปลีกหน้าร้านแบรนด์ Wholefoods อีกด้วย! ก็แสดงว่าหน้าร้านยังไม่ตาย

หลักการต่อยอดช่องทางการค้าของ Jeff Bezos

กรณีสมมุติว่าเรายึด Jeff Bezos เป็นตัวอย่างนักธุรกิจค้าปลีกที่ประสบความ การขยับขยายจากหน้าร้านออนไลน์ไปออฟไลน์ย่อมไม่ใช่การเคลื่อนไหวอย่างไร้เหตุผล แต่ต้องมีนัยยะสำคัญ และนัยยะนั้นคือ Omni-channel

Omni-channel คือการค้าขายหลายช่องทาง ไม่ยึดติดอยู่กับช่องทางเดียว เช่น เมื่อมีหน้าร้านออนไลน์ของตัวเองแล้ว ก็นำสินค้าไปลงขายใน ออนไลน์มาร์เก็ตเพลส อาทิ Lazada หรือ Shoppee เป็นต้น และอาจมีการร่วมป็นพันธมิตรกับเครือข่ายหน้าร้านอื่น ๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถขายสินค้าของคุณได้ หรือให้ลูกค้าไปรับของที่หน้าร้านนั้น ๆ ได้ ซึ่งเหล่านี้ ทั้ง 7-11 และ Tesco Lotus ก็กำลังทำอยู่เช่นกัน

หลักคิดง่าย ๆ ของ Omni-channel คือการ ขยายการเข้าถึง หรือที่เราคุ้นเคยกันดีคือคำว่า Reach นั่นเอง โดยที่ผ่านมาเราเคยเชื่อว่า ค้าปลีกออฟไลน์ มีขีดจำกัดในการเข้าถึงคนเฉพาะในพื้นที่ แต่อันที่จริงแล้ว ออนไลน์ ก็มีขีดจำกัดเช่นกัน โดย Facebook business page เพียงเพจเดียวไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหมายโลกได้ หรือแม้แต่เว็บไซต์ก็เช่นกัน

ออนไลน์ยังต้องปรับตัว ออฟไลน์ก็เช่นกัน

Amazon.com เจ้าพ่อออนไลน์ และ Tesco Lotus เจ้าพ่อออฟไลน์ ต่างปรับตัวขยายช่องทางการเข้าถึงรอบทิศทาง นั่นแปลว่าไม่มีช่องทางใดที่ดีที่สุดอย่างเด็ดขาด แต่ทั้ง ออฟไลน์ และ ออนไลน์ ต่างสำคัญด้วยกันทั้งสอง

หรือกรณี Publix Food & Phamarcy เป็นหนึ่งในห้างค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบก็มีการปรับตัวโดยไปเป็นพันธมิตรกับ Instacart ธุรกิจสตาร์ทอัพให้บริการแอปพลิเคชั่นรับจ้างจ่ายตลาด เพื่อให้คนสามารถเรียกบริกรมาจ่ายตลาดที่ Publix แล้วนำสินค้าไปส่งให้ถึงบ้าน เป็นต้น

ดังนั้นเจ้าของร้านค้าปลีกออฟไลน์อย่าจมอยู่กับความรู้สึกว่ากำลังถูก อินเตอร์เน็ต แย่งลูกค้า แต่ให้รีบปรับตัวโดยเร็ว โดยมี 3 แนวทางหลัก ๆ ที่คุณควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุด

1. สร้างหน้าร้านออนไลน์

ท่องจำให้ขึ้นใจ เว็บไซต์ คือสำนักงานใหญ่บนโลกออนไลน์!

หลายคนเริ่มต้นออนไลน์กับ Facebook เพราะมันทั้งง่ายและฟรี แต่การฝากธุรกิจไว้บน Facebook เพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยงสูง เพราะคุณไม่ใช่เจ้าของ อีกทั้งศักภาพในการติด Google search engine ก็มีน้อยกว่าเว็บไซต์

คุณทำธุรกิจออฟไลน์ยังต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง แล้วทำธุรกิจออนไลน์จะไม่มีได้อย่างไร! สำหรับธุรกิจออนไลน์ เว็บไซต์ คือสำนักงานใหญ่ หรือ หน้าร้าน ของคุณนั่นเอง โดยข้อดีของการมีเว็บไซต์คือ

1.1 คณเป็นเจ้าของแพลทฟอร์มเต็มตัว

1.2 มีศักยภาพในการติดและถูกหาเจอบน Google search engine

1.3 สามารถติดตั้งเครื่องมือการตลาดออนไลน์ต่าง ๆ

สำหรับข้อ 3 อาทิ Shopping cart, Payment gateway, Email marketing tools, Lead generation tools, Analytics tools เหล่านี้จะยิ่งเพิ่มพลังให้ธุรกิจของคุณอย่างทะลุดขีดจำกัดเดิม ๆ

2. ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสาร

วันนี้คนไทยจำนวนมากใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการทำทุกสิ่งอย่าง ทั้งการตลาด ขาย เป็นสโตร์ เป็นที่เก็บข้อมูลลูกค้า และอย่างที่บอกไปว่า คุณไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่ เหตุไม่คาดฝันเกิดได้ทุกเมื่อ และเมื่อนั้นธุรกิจออนไลน์ทั้งหมดของคุณจะหายไปในชั่วข้ามคืน

อย่างไรก็ดี หลังจากคุณมีเว็บไซต์ใหม่ ๆ โซเชียลมีเดียคือช่องทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเข้าถึงและทำให้คนรู้จักคุณในช่วงเริ่มต้น จงใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารธุรกิจและนำพาคนจากโซเชียลฯ ไปยังเว็บไซต์ของคุณให้ได้

3. ทำให้คุณถูกหาเจอบน Google

ความยั่งยืนในระยะยาวคือการถูกหาเจอบน Google หรือ Organic search traffics — ในต่างประเทศให้ความสำคัญกับการทำเว็บไซต์และเนื้อหาเพื่อให้ติด Google search engine เพราะนั่นหมายถึงกระแสรายได้อย่างต่อเนื่องและแทบจะเป็นกึ่งอัตโนมัติ

เพราะอย่าลืมว่าเว็บไซต์สามารถติดตั้งเครื่องมือการตลาดต่าง ๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตของคุณทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติได้นั่นเอง

สรุป

และนี่คือแนวคิดและแนวทางเบื้องต้นสำหรับคนทำธุรกิจแบบมีหน้าร้าน ทางออกของคุณคือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ให้มากขึ้น แต่โดยไม่ต้องเปิดสาขายังพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่ม เพียงขยับมาพัฒนาในฝั่งของ การตลาดออนไลน์ สร้างหน้าร้านออนไลน์ ทำโซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสาร โดยมีเป้าหมายระยะยาวคือการถูกหาเจอบน Google search engine


หากคุณชอบบทความ CEOblog เรากำลังจะมีโปรเจค CEO Premium Content Membership เจาะลึกด้าน ค้าปลีกและการตลาดออนไลน์ ที่หาอ่านไม่ได้บนเว็บไซต์ โดยเราจะเปิดรับสมัครสมาชิกพรีเมี่ยมในเร็ว ๆ นี้

หากคุณไม่อยากพลาด โปรดลงทะเบียนเพื่อรับแจ้งข่าวสารโครงการดี ๆ และสิทธิประโยชน์ในการได้รับโปรโมชั่นสุดคุ้ม >>> ลงทะเบียนรับข่าวสารที่นี่ก่อนใคร