การเก็บข้อมูล Visitor และ First-time buyer เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรทำ โดยธุรกิจออฟไลน์มักเก็บข้อมูลในรูปแบบของการให้ผู้เยี่ยมชมหน้าร้าน หรือลูกค้ากรอกชือที่อยู่เพื่อส่งพวก Newsletter รายปักษ์หรือรายเดือนไปที่บ้าน หรือให้สมัครบัตรสมาชิกเพื่อนำเสนอโปรโมชั่นถึงที่บ้านเพื่อกระตุ้นการกลับมาซื้อซ้ำ ปัจจุบันธุรกิจผันมาเป็นออนไลน์ก็จำเป็นต้องทำเช่นกัน
ถึงแม้ผู้คนที่หมุนเวียนอยู่บนออนไลน์จะมีจำนวนมหาศาลและเว็บไซต์หรือโซเชียลก็เข้าถึงคนได้อย่างเกือบไร้ขีดจำกัด แต่การที่คนจะภักดีหรือติดตามเว็บใดเว็บหนึ่งตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอนั้นมีอัตราต่ำมาก กล่าวคือคนที่ Search เจอเว็บไซต์ของคุณเป็นครั้งแรก หรือคนที่เห็นโฆษณาทาง Facebook ads ของคุณเป็นครั้งแรก หากเขากดเข้ามาดูรายละเอียดแล้วยังไม่ซื้อทันที โอกาสที่จะกลับมาเป็นครั้งที่สองก็จะต่ำลงจนเกือบศูนย์
ในอเมริกาจึงนิยมขายของออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ โดยใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คและ Search engine เป็นทางผ่านเพื่อพาคนเข้าเว็บไซต์ ภายในเว็บไซต์จะบรรจุเครื่องมือทางการตลาดต่าง ๆ ที่ใช้ดักเก็บข้อมูล Visitor และ First-time buyer ได้แก่ ชื่อ เบอร์โทร อีเมล์ เอาไว้ อาทิ ระบบ Email marketing และ ระบบ Shopping cart
กล่าวคือ ไม่ว่าคนที่เข้ามาจะเพียงสมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารเฉย ๆ เปิดบัญชีฟรีทิ้งไว้เฉย ๆ หรือลงมือสั่งซื้อของเลย ข้อใดข้อหนึ่ง ทางเจ้าของเว็บไซต์ก็จะได้ข้อมูลเป้าหมายเข้าสู่ฐานข้อมูลที่สามารถเรียกดู และนำไปวางแผนการตลาดกลับไปหาลูกค้าเก่าเพื่อก่อให้เกิด Repeat Purchase ได้
แต่สำหรับในไทยยังทำแบบนี้กันไม่มาก มักขายของและปิดการขายผ่าน Facebook inbox และ Line@ ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจาย คนขายของออนไลน์ไม่ได้สร้างระบบ Tracking และ Re-marketing ฐานลูกค้าเก่าที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้องคอยยิงโฆษณา Facebook ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเครื่องรับประกัน หรือวัดผลว่ายิงไปแล้วได้ผลลัพธ์กลับมาคุ้มค่ามากแค่ไหน
ในขณะที่ ผู้ที่สร้างระบบ Tracking และ Follow-up ลูกค้าเก่าสามารถสร้างยอดขายต่อเนื่องด้วยค่าโฆษณาที่ต่ำลงและอาจจะประหยัดค่าโฆษณาได้ถึง 50% ขึ้นไปโดยยังคงรักษายอดขายให้ได้ตามเป้าหรือมากกว่า!
Lead Generation ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อทำ Re-Marketing
ในกระบวนการขายที่ผมกำลังจะเล่าต่อไปนี้ มีวิธีเข้าถึงผู้มุ่งหวังหลัก ๆ 2 วิธี ได้แก่ Cold call และ Lead generation
Cold Call
เป็นวิธีคลาสสิคที่สุด นั่นคือการหารายชื่อและโทรศัพท์ไปเสนอขายสินค้าและบริการตรง ๆ การทำเช่นนี้ ผู้มุ่งหวังอาจไม่รู้อิโหน่อิเหน่และอาจไม่พอใจ ทำให้อัตราการปิดการขายค่อนข้างต่ำ โทรศัพท์ 100 รายชื่อ อาจมีคนยอมคุยด้วย 3-5 คน และอาจเหลือเพียง 1-2 คนจาก 100 รายชื่อที่ตกลงซื้อสินค้า หรือ 1-2%
Lead Generation
ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง เป็นการสร้างการรับรู้และสร้างความสนใจแก่ผู้มุ่งหวังจนเขาเป็นฝ่ายให้ข้อมูลเพื่อรอการติดต่อกลับไปของคุณ วิธีทำอาจเริ่มจากการใช้คอนเทนต์ที่มีประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย (Content marketing) เสนอโบนัสแจกฟรี อาทิ คู่มือเป็นอีบุ๊ค, วีดีโอคลิปความรู้, คูปองโค้ดส่วนลดสินค้า, ปรึกษาฟรี 30 นาที ฯลฯ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นการให้ข้อมูลให้เร็วขึ้น หลังจากนั้นคุณจึงเริ่มกระบวนการ Soft-sales และ Hard-sales ผ่านทางหลังบ้าน เช่น ส่งอีเมล์ หรือ โทรศัพท์ไปขายต่อไป
การปิดการขายผ่านกระบวนการ Lead generation มีอัตราสูงกว่า อาทิ 5-10% และบางกรณีที่ผมเคยประสบคือ 30%
ทั้งนี้ สาเหตุที่บ้านเราอาจไม่ค่อยทำเพราะความยุ่งยากในการเชื่อมระบบ ซึ่งคุณต้องมี 1) เว็บไซต์, 2) เช่าระบบ Email marketing software, 3) ถ้าจะจัดเต็มก็อาจต้องเช่าระบบ Landing page software สวย ๆ — ซึ่งหากจะทำ 3 อย่างนี้ให้ทำงานพร้อมกันก็เรียกว่าเรียนรู้, ติดตั้ง, วางแผน และเตรียมงานกันเป็นเดือน ๆ แต่!…
โชคดีที่ปี 2016 ที่ผ่านมา Facebook ถอยเครื่องมือตัวใหม่ในส่วนของ Facebook Advert Manager ออกมาให้เราได้ใช้ นั่นคือ Lead Ads
Facebook Lead Ads คืออะไร?
Facebook Lead Ads เป็นเป็นเครื่องมือที่ผมไม่แน่ใจว่าออกมาช่วงไหน แต่จำได้ว่าเริ่มใช้เมื่อต้น ๆ ปี 2016 และปลายปี 2016 เริ่มเห็นแบรนด์ต่าง ๆ ใช้กันมากขึ้น Facebook Lead Ads เป็นกระบวนการ Lead Generation แต่ตัดกระบวนการ Website, Email Marketing และ Landing page ออกไปโดย Facebook ทำหน้าที่เป็นทั้งสองอย่างให้เลย คือ
1. เป็น แบบฟอร์มออนไลน์ แทน Email marketing software ให้ผู้มุ่งหวังกรอกข้อมูลการติดต่อและเก็บ Database ทั้งหมดไว้บนหลังบ้าน Facebook page ของคุณ ดาวน์โหลดเป็นไฟล์ MS Excel ได้แบบ Email marketing software ทุกประการ!
2. เป็น Landing page คือกรอกเสร็จจะ Redirect คนกลับมา Facebook page ก็ได้ หรือจะส่งคนเข้าเว็บไซต์ก็ได้ ส่วนตัวผมยังแนะนำให้ Redirect คนไปยัง Landing ในเว็บไซต์เพราะคุณเก็บ Facebook conversion pixel เพื่อนำไปทำ Re-marketing ต่อได้
แต่สิ่งที่ Facebook lead ads ไม่ได้ทำคือระบบ Email autoresponder ที่จะทำหน้าที่ส่งชุดอีเมล์ไปหาผู้มุ่งหวังอย่างต่อเนื่องนะครับ
ดังนั้น วัตถุประสงค์หลัก ๆ ของ Facebook Lead Ads คือ การเก็บข้อมูลผู้มุ่งหวัง จากนั้นคุณอาจใช้วิธี ส่งอีเมล์ หรือ เทเลมาร์เก็ตติ้ง ไปหาผู้มุ่งหวังภายหลัง เหมาะมาก ๆ สำหรับธุรกิจ B2B ที่สินค้ามีราคาสูง มีความซับซ้อน มีเงื่อนไขการสั่งซื้อมากมาย ฯลฯ
ตัวอย่างหน้าตาของ Lead Ads บนหน้า Facebook Newsfeed เป็นแบบนี้ครับ
เมื่อคลิ๊กที่ Sponsored post จะมีหน้าต่าง Policy ขึ้นมาให้ทำความเข้าใจเงื่อนไขก่อนกด Submit
เมื่อกด Submit แล้วก็เข้าสู่กระบวนการกรอกข้อมูลผู้มุ่งหวัง แล้วข้อมูลจะวิ่งเข้าสู่ฐานข้อมูลของเจ้าของสินค้าและบริการเพื่อทีมงานติดต่อกลับ หลังจากนั้นผู้มุ่งหวังจะถูกส่งไปยังหน้า Destination/ Landing page ที่กำหนดไว้ต่อไป
วิธีทำ Facebook Lead Ads
1. ต่อไปนี้คือวิธีทำ Facebook Lead Ads ครับ… ไปที่ Facebook Ads Manager >> เลือก Create Advert >> เลือก Collect leads for your Business
2. ตั้งชื่อ Campaign Name แล้วกด Continue
3. กระบวน 3 – 9 จะเหมือนเวลา Set ค่าโฆษณา Boost Post ทุกประการ ได้แก่ เลือกเพจ เลือกประเทศและพื้นที่ เลือกกลุ่มเป้าหมายชายหญิง อายุ และความสนใจ ฯลฯ
10. เลือกว่าจะให้ Display ads แสดงผลแบบ Image carousal หรือ Single image ฯลฯ
11 – 12 ใส่รายละเอียดข้อความที่ต้องการให้แสดงบนหน้า Newsfeed ตาม 2 รูปภาพด้านล่าง
13 – 14 กดสร้าง New Form ตั้งชื่อแบบฟอร์มและเลือกภาษา
15 – 17 เป็นส่วนที่ใส่รายละเอียดข้อความในแบบฟอร์ม และเลือกตัวเลือกข้อมูลที่คุณต้องการให้ผู้มุ่งหวังกรอกลงในฟอร์ม อาทิ ชื่อ เบอร์โทร อีเมล์ วันเกิด อาชีพ สถานภาพความสัมพันธ์ ฯลฯ
17 – 18 เป็น Privacy Policy แล้วต่อด้วย Link ที่เป็น Landing page ที่ต้องการส่งผู้มุ่งหวังหลังกรอกแบบฟอร์มเสร็จแล้ว
19 – 20 ตรวจสอบภาพรวมแล้วกด ‘Finish form’ จากนั้นกลับไปที่เมนู Setting โฆษณาชุดนี้แล้วกด Place Order เป็นอันจบขั้นตอน รอเวลาโฆษณาทำงาน
วิธีตรวจสอบและดาวน์โหลดข้อมูลผู้สมัครแบบฟอร์ม
ไปที่หน้าแฟนเพจที่เกี่ยวข้อแล้วกด ‘Publishing Tools’
เลือก ‘Form Library’ จากนั้น Facebook จะแสดงรายชื่อแบบฟอร์มที่คุณเคยใช้มาทั้งหมด แล้วกด ‘Download’ รายการที่ต้องการ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Facebook Ads