เปิดเงื่อนไข ‘มีรายได้ประจำ’ กู้ฉุกเฉิน ธนาคารออมสิน ต้องทำยังไง

 

จากกรณี ธนาคารออมสิน มีมาตรการ สินเชื่อฉุกเฉิน ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือประชาชนในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และ ผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ระบาด มีผู้สนใจลงทะเบียนเป็นจำนวนมากตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา และต่อไปนี้ คือ คุณสมบัติเบื้องต้นก่อนยื่นลงทะเบียนสมัครสำหรับกลุ่ม ผู้มีรายได้ประจำ

คุณสมบัติสำหรับผู้มีรายได้ประจำ

  • เป็นผู้มีรายได้ประจำ แต่มีรายได้ลดลงหรือขาดรายได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด และภัยอื่น ๆ
  • มีสัญชาติไทย มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
  • เป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่แน่นอน มีสถานที่ประกอบอาชีพ สามารถติดต่อได้
  • ต้องการกู้เงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิต
  • วงเงินกู้ ไม่เกินรายละ 50,000 บาท ต่อราย
  • อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ร้อยละ 0.35 ต่อเดือนอัตราดอกเบี้ย กรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้คิดเพิ่มอีกร้อยละ 0.50 ต่อเดือนของเงินต้นที่ถึงกำหนดชำระ
  • ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นงวดรายเดือน จำนวน 36 งวด
  • ต้องมีหลักประกัน (บุคคลค้ำประกัน 1-2 คน หรือหลักประกันประเภทอื่นที่ธนาคารกำหนด)
  • กรณีผู้ขอกู้มีประวัติหนี้ค้างชำระ หรือ มีประวัติเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) หรือ มีการปรับโครงสร้างหนี้ ในปัจจุบัน (ณ วันที่ขอกู้) ต้องมีการชำระหนี้เป็นปกติแล้ว
  • ผู้ที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ จะได้รับเงินผ่านบัญชีเงินฝากที่ใช้เป็นบัญชีคู่โอนสำหรับหักชำระสินเชื่อ
  • ต้องชำระหนี้ด้วยการหักบัญชีเงินฝาก โดยผู้กู้ทำหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากที่ได้ระบุไว้เพื่อชำระหนี้ ซึ่งผู้กู้ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีที่ยินยอมก่อนวันครบกำหนดชำระเงินงวด
  • การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

ช่องทางลงทะเบียน สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ที่นี่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิธีขอสินเชื่อ ‘ธนาคารออมสิน’ เงินกู้ฉุกเฉินเพื่อสู้วิกฤต โควิด-19 แบบละเอียดยิบ
วิธีเตรียมเอกสาร กู้สินเชื่อฉุกเฉิน ธนาคารออมสิน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เปิดเงื่อนไข ‘อาชีพอิสระ’ กู้ฉุกเฉินธนาคารออมสิน ต้องทำยังไง
เปิดเงื่อนไข ‘มีรายได้ประจำ’ กู้ฉุกเฉิน ธนาคารออมสิน ต้องทำยังไง
เปิดเงื่อนไข ‘ใครไม่มีสิทธิ์’ กู้ฉุกเฉิน ธนาคารออมสิน พร้อมชี้ทางออก