Bom Kim, แห่ง Coupang อีคอมเมิร์ซเกาหลีใต้ ยอดขาย 3 แสนล้านบาท กับบทเรียนของคำว่า เป็นเจ้าของธุรกิจ ‘อย่าหยุดปรับตัว’

Bom Kim, แห่ง Coupang อีคอมเมิร์ซเกาหลีใต้ ยอดขาย 3 แสนล้านบาท กับบทเรียนของคำว่า เป็นเจ้าของธุรกิจ ‘อย่าหยุดปรับตัว’

Coupang เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแห่งเกาหลีใต้ ใช้เวลาไม่ถึง 10 ปีจากเว็บไซต์ประเภท ‘เดลี่ดีล’ เล็ก ๆ สู่ ‘แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ’ สัญชาติเกาหลีใต้ที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลก และมีเครือข่ายระบบขนส่งภายในประเทศเป็นของตนเอง จนเกิดยอดซื้อขายหมุนเวียนในระบบ (Gross merchandise value) ทะลุ 10,000 ล้านดอลล่าร์ หรือกว่า 3 แสนล้านบาท ในปี 2018 — วันนี้ CEO Channels จะเล่าให้ฟังว่าเขามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

Coupang ก่อตั้งโดย Bon Kim (บอน คิม) หนุ่มชาวเกาหลีใต้ปัจจุบันอายุ 41 ปี สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัย ฮาร์เวิร์ด และเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจ ณ มหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่เขาตัดสินใจดรอปเรียนหลังจากเข้าศึกษาไปได้เพียง 6 เดือน หลังจากค้นพบไอเดียธุรกิจที่ตนเองอยากทำ

ค้นหาและสมัคร : 100 คอร์สออนไลน์เรียนฟรี จาก 5 มหาวิทยาลัยระดับโลก รวมถึง ฮาร์เวิร์ด

ก่อตั้ง Coupang

บอน คิม ก่อตั้งเว็บไซต์ Coupang ในปี 2010 ซึ่งช่วงนั้นเป็นยุคทองของเว็บไซต์ประเภท เดลี่ดิล โดยเจ้าตลาดโลกในยุคนั้น ได้แก่ Groupon.com — เขาจึงนำต้นแบบมาตั้งชื่อเว็บไซต์ของเขาว่า Coupang นั่นเอง

ผลประกอบการของ Coupang ไปได้ดีในช่วงแรกจนกระทั่งเขาเริ่มเห็นเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ อย่าง Amazon.com, eBay ของสหรัฐ และ Gmarket, 11th Street ของเกาหลีเริ่มเป็นที่นิยมในเกาหลีใต้ เขาจึงตัดสินใจ Pivot หรือ ปรับโมเดลธุรกิจจาก เดลี่ดิล ไปเป็น ออนไลน์มาร์เก็ตเพลส



Coupang ยกเลิกการทำ IPO

Coupang เติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังปรับโมเดลธุรกิจไปเป็น มาร์เก็ตเพลส แบบ eBay — ปี 2013 ยอดขายทะลุ 1 พันล้านดอลล่าร์ และบริษัทมีกำไรเป็นครั้งแรก

คิม บอน ได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่และนายทุนหลายคนให้นำบริษัททำ IPO เพื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ แม้เขาจะรู้สึกสนใจในการเข้าตลาดฯ แต่สัญชาติญาณภายในบอกเขาว่ามันอาจจะเร็วเกินไป

แม้จะเริ่มดำเนินเรื่องเพื่อเตรียม IPO ไปบ้างแล้ว — แต่ คิม บอน ก็ตัดสินใจยุบแผนนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในวินาทีสุดท้าย ด้วยเหตุผลว่าเขารู้สึกว่าโมเดลธุรกิจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอีกรอบ และหากนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ตอนนี้ การปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจอาจทำได้ยากกว่า

Pivot โมเดลธุรกิจใหม่ทั้งหมด

คิม บอน ตัดสินใจปรับโมเดลธุรกิจอีกครั้ง (Pivot) โดยเขาต้องการให้ Coupang เป็นเลิศด้านการบริหารเหนือ มาร์เก็ตเพลสใด ๆ ในประเทศ โดยคราวนี้เขารวมศูนย์การบริหารเครือข่ายขนส่งเข้ามาที่ส่วนกลาง เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่ง รวมไปถึงการควบคุมคุณภาพของสินค้าที่ออกจากศูนย์

Coupang ตั้งหน่วยงานที่มีชื่อว่า Rocket Delivery สำหรับจัดส่งสินค้าแบบ One-day delivery คือ สั่งวันนี้ได้รับสินค้าพรุ่งนี้ และอีกหน่วยงานชื่อว่า Dawn Delivery สั่งหัวค่ำวันนี้ รับสินค้า 7 โมงเช้าวันถัดไป เป็นต้น โดยบริษัทมีพนักงานขนส่ง 5,000 คน และลูกค้า 99.3% ได้รับสินค้าภายในไม่เกิน 24 ชั่วโมง

วันนี้ของ Coupang

ปี 2018 Coupang มียอดซื้อขายหมุนเวียนในระบบ หรือ Gross merchandise value ประมาณ 10,000 ล้านดอลล่าร์ หรือราว ๆ 300,000 ล้านบาท และทางบริษัทมีรายได้ประมาณ 3.64 พันล้านดอลล่าร์ ในปีเดียวกัน เพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ปี 2019, บอน คิม ในวัย 41 ปี เจ้าของฉายา เจฟ เบซอส แห่ง เกาหลีใต้ ได้นำพาบริษัท Coupang ก้าวขึ้นเป็นสตาร์ทอัพเกาหลีที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ด้วยมูลค่ากิจการกว่า 9 พันล้านดอลล่าร์ มีนายทุนรายใหญ่อย่าง Softbank, Sequoia Capital และ BlackRock สนับสนุนการเงิน

เจ้าของธุรกิจ คิดได้ให้รีบทำ และอย่าหยุดปรับตัว

คิม บอน มีทัศนคติว่า ‘ชีวิตนี้แสนสั้น’ หากรู้ใจตัวเองว่าอยากทำอะไรก็ให้รีบทำ และอยากจะเปลี่ยนแปลง หรือปรับตัวอย่างไรก็ให้รีบปรับเช่นกัน โดยเขาให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า ณ ตอนที่อายุ 30 ปี — วินาทีที่เขารู้ใจว่าอยากทำธุรกิจแพลทฟอร์มออนไลน์ เขารู้ทันทีว่าชีวิตเหลือเวลาอีกไม่มากที่จะทำให้มันประสบความสำเร็จ

นั่นจึงเป็นเหตุให้เขาตัดสินดรอปเรียนจาก ฮาเวิร์ด เพื่อมาสร้าง Coupang ทันที รวมไปถึงความกล้าตัดสินใจเปลี่ยนแผน ไปจนถึงกล้าลองแนวทางใหม่ ๆ อย่างไม่ลังเล

เป็นเจ้าของธุรกิจ จงเรียนรู้อยู่เสมอ และห้ามหยุดปรับตัว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :

Steven Lam อดีตเด็กส่งอาหาร สู่เจ้าของ GoGoVan แอปฯ ส่งอาหารหมื่นล้านบาท ที่เกิดจากความไม่ได้ดั่งใจในระบบเดิมของฮ่องกง

Tim Chen เล่าเส้นทางจาก นักเศรษฐศาสตร์ตกงาน สู่เจ้าของเว็บไซต์การเงิน มูลค่า 500 ล้านดอลล่าร์

Rachel Lim อดีต ‘แม่ค้าเสื้อมือสอง’ ใช้เงินเก็บทั้งชีวิตของแม่เป็นเดิมพัน ปั้นแบรนด์แฟชั่นออนไลน์ ทะยานยอดขายกว่า 400 ล้านบาท

อ้างอิง CNBC 1, CNBC 2, Forbes, Techcrunch, Wikipedia