พลิกผู้ประกอบการ SME ไทยคิดใหญ่อย่างไร ‘ให้ได้มากกว่า’ ในยุคโลกธุรกิจหมุนเร็วขึ้น

สถิติจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนโดย SME เป็นกำลังสำคัญมากขึ้นทุกปี สถิติ ณ วันที่ 11 ก.ค. 2560 พบจำนวนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ไทยอยู่ที่ประมาณ 3,004,679 ราย เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 2,765,966 ราย เพิ่มขึ้น 238,713 ราย หรือเพิ่มขึ้น 8.63%

เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม โดยกลุ่มธุรกิจบริการเพิ่มขึ้นมากที่สุด 135,153 ราย ตามมาด้วยภาคการค้า 80,984 ราย ภาคผลิต 16,517 ราย และภาคธุรกิจการเกษตร 6,023 ราย ในจำนวน SME ที่เพิ่มขึ้น 238,713 ราย SME มีสัดส่วนสูงถึง 99% ของวิสาหกิจทั้งหมด ก่อเกิดการจ้างงานจำนวนมากในประเทศไทย และมูลค่าผลผลิตจาก SME คิดเป็น 37% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP

อย่างไรก็ดี จากบรรดาธุรกิจ SME เกิดใหม่ในแต่ละปีจะมีเพียงครึ่งที่ก้าวผ่านปีแรกของกิจการไปได้อย่างแข็งแรง ที่เหลือคือพออยู่ได้, เสมอตัว, หรือล้มหายตายจากไป ส่วนสัดส่วนของ SME ที่ผ่านปีแรกไปได้ก็จะลดจำนวนผู้รอดลงไปเรื่อย ๆ ในปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ

ปัญหาที่ SME ไทยต้องประสบบ่อยทั้งก่อนและหลังก่อตั้งกิจการ

TMB Bank เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและได้ร่วมงานใกล้ชิดกับประกอบการรายย่อยและ SME มาเป็นเวลานาน พบอุปสรรคสำคัญของกลุ่ม SME ไทยได้แก่

เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก

อุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นอุปสรรคใหญ่สุดของผู้ประกอบการรายย่อยหน้าใหม่ หลายคนมีไอเดียที่น่าสนใจ แต่อาจไม่ได้มีทุนทรัพย์มาจากทางบ้าน หรืออาจเป็นอดีตคนทำงานประจำที่กำลังจะก้าวมาทำธุรกิจส่วนตัว รวมไปถึงคนที่ทำธุรกิจอยู่แล้วแต่มีขนาดเล็กมากและเล็งเห็นช่องทางที่จะเติบโต

คนกลุ่มนี้ต้องการ เงินทุน ที่เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงจุดประกายอีกนิดเพื่อให้สามารถเติบโตเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ แต่ก็เป็นกลุ่มที่มักถูกปฏิเสธและไม่ได้รับความสนใจจากแหล่งเงินทุนสถาบันต่าง ๆ เพราะถูกมองว่า ‘ตัวเล็ก’ และ ‘มีความเสี่ยงสูง

ขาดสภาพคล่องในช่วงเริ่มต้นและในช่วงกำลังจะไปได้ดี

เมื่อไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เองก็อาจต้องไปกู้ยืมเงินจากญาติพี่น้องซึ่งมีปริมาณจำกัด อาจต้องไปกู้สินเชื่อที่ไม่เหมาะกับการทำธุรกิจ เช่น สินเชื่อบุคคล หรือเริ่มธุรกิจด้วยเงินเก็บที่น้อยมาก ๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพคล่องในช่วงแรก และหากธุรกิจไปได้ดีก็จะเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอีกระลอก นั่นคือ ช่วงเติบโต

คุณ รวิศ หาญอุตสาหะ ผู้บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด หรือที่รู้จักกันในนามผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ แป้งหอมศรีจันทร์ ได้เล่าประสบการณ์นี้ผ่านงานอีเวนต์ SME New Experience : Get MORE with TMB เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา

 

เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับกิจการ แป้งหอมศรีจันทร์ คือธุรกิจครอบครัวที่บริหารแบบนิ่ง ๆ มาเป็นเวลาหลายสิบปีกระทั่ง คุณรวิศ เข้ามาบริหารต่อในปี พ.ศ. 2550 และทำการพัฒนาระบบภายในหลาย ๆ อย่างจนกระทั่ง แป้งหอมศรีจันทร์ มียอดขายจากเดิม 30 ล้านบาทต่อปีไปเป็น 350 ล้านบาทต่อปีภายในเวลา 7 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากจนประสบปัญหาเหลือเชื่อนั่นคือ กิจการเติบโตเร็วจนหมุนเงินมาบริหารไม่ทัน

สำหรับกิจการขนาดเล็กและ SME จำนวนไม่น้อยที่กำลังจะไปได้สวยต้องชะลอความเร็วลงเพราะปัญหาเดียวกันนี้

ขาดผู้ให้คำแนะนำปรึกษา หรือการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่เพียงพอ

วัฒนธรรมธุรกิจอย่างหนึ่งในต่างประเทศคือ ผู้ประกอบการใหม่ (และที่มีประสบการณ์) ล้วนต้องมี Mentor (เมนทอร์) หรือ ที่ปรึกษาธุรกิจประจำตัว เพราะในยามที่เจ้าของกิจการกำลังยุ่งวุ่นวายกับการบริหารธุรกิจให้รอดหรือเติบโต พวกเขามีโอกาสที่จะมองข้ามโอกาส อุปสรรค และสัญญาณอันตรายต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา

ว่าที่ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการใหม่ในไทยจำนวนมากเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเองโดยอาจมีเพียง หัวใจ และ ความฝัน แต่ขาดความรู้ และข้อมูลเชิงกลยุทธ์ว่าธุรกิจที่ตนกำลังจะทำนั้นมีความเป็นไปล่าสุดอย่างไรในตลาดบ้าง ทำให้เมื่อก่อตั้งธุรกิจขึ้นมาแล้วประสบปัญหาไม่คาดฝันมากมายเป็นเหตุให้ SME ถึงครึ่งหนึ่งที่ไม่ได้ไปต่อ หรือไปต่ออย่างทุลักทุเลในปีแรกและหมดแรงในปีที่ 2 หรือ 3 เป็นต้น

กลยุทธ์ Get More with TMB พลิกผู้ประกอบการ SMEs ไทยคิดใหญ่อย่างไรให้สำเร็จในยุคโลกธุรกิจหมุนเร็วขึ้น

ต่อเนื่องจากงานอีเวนต์ SME New Experience : Get MORE with TMB เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ทีมงาน CEOblog มีโอกาสได้เข้าร่วมงานและได้รับฟังข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับโลกของ SME และตกผลึกมาเป็นสามแนวคิดเรียกง่ายจำง่ายขอตั้งชื่อว่า Get MORE

MORE BENEFITS

SME ใหม่จำนวนไม่น้อยทำงานหลายอย่างด้วยตัวคนเดียวเพื่อความรวดเร็วและเพื่อต้นทุนที่จำกัด การทำงานคนเดียวช่วยให้ผู้ประกอบการตัดสินใจและลงมือทำการต่าง ๆ ได้เร็วก็จริง แต่มีขีดจำกัดในเรื่องของร่างกายและเวลา ดังนั้นตัวเจ้าของธุรกิจเองก็ควรมีผู้ร่วมงานประจำตัวเก่ง ๆ ไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นส่วนเสมอไปหากคุณต้องการเป็นเจ้าของคนเดียว สามารถเป็นพนักงานประจำที่คัดเลือกอย่างดี เปลี่ยนมุมมองจากการมอง พนักงานเป็นค่าใช้จ่าย ไปเป็นการซื้อเวลาส่วนนั้น ช่วยให้คุณมีเวลามากขึ้นอีกจำนวนหนึ่งและสามารถนำเวลาส่วนที่ว่างจากการจ่ายเวลาของตนออกไปให้ผู้ทำแทนไปใช้สร้างผลลัพธ์ที่มีมูลค่าสูงกว่าให้มากขึ้น

แต่ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย นั่นคือการโฟกัสที่จุดแข็งของตนเอง และบางส่วนใช้วิธี Outsource ไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น ๆ

Amazon.com เป็นเว็บไซต์ขายสินค้าแทบทุกอย่างบนโลกนี้ แต่ย้อนกลับไปสมัยก่อตั้งใหม่ ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2537 Amazon.com ขายหนังสือเพียงอย่างเดียว และในช่วงแรกที่ขายก็ไม่ได้ผลิตหรือสต็อกหนังสือ แต่รับออเดอร์มาก่อนแล้วจึงวิ่งไปซื้อหนังสือที่โกดังของสำนักพิมพ์เพื่อนำไปจัดส่งแก่ลูกค้า ภายหลังเมื่อ Amazon แข็งแรงแล้วจึงค่อยเริ่มสต็อกหนังสือและสร้างระบบคลังสินค้าและการจัดส่งของตัวเอง

ผู้ประกอบการ SME ที่เพิ่งเริ่มต้น และมีทรัพยากรจำกัดควรโฟกัสที่จุดแข็งของตนเองเป็นหลักในขณะที่ธุรกรรมที่เหลือให้เสาะหาระบบ Outsource ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางของเขา อาทิ:

ระบบคลังสินค้าใช้บริการของ My Cloud Fullfilment, ระบบขนส่งใช้บริการ Kerry, โปรแกรมบัญชีใช้บริการ FlowAccount เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างการใช้บริการ Outsource ทั้งด้าน Professional services และ Software as a Services ที่ประหยัดและคำนวณต้นทุนล่วงหน้าได้ อีกทั้งมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนการใช้งานสูงมาก

กลยุทธ์นี้ TMB มีรีวอร์ดโปรแกรมที่ชื่อว่า TMB BIZ WOW รวบรวมกลุ่มผู้ให้บริการ Outsource ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อ SME มาเป็นพาร์ทเนอร์ ซึ่งลูกค้า SME ของทางธนาคารสามารถเข้าถึงรายชื่อ Outsource พาร์ทเนอร์ต่าง ๆ และเลือกใช้บริการทำธุรกรรมและการค้าด้วยข้อเสนอที่พิเศษกว่าผ่าน Reward Program

MORE TIME

เวลา เป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดจะประมาณเป็นตัวเงินสำหรับเจ้าของธุรกิจ จงลงทุนกับซอฟต์แวร์และพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดเวลาที่ไม่จำเป็นและไปเพิ่มเวลาในการทำสิ่งที่สำคัญกว่า

ยกตัวอย่างกรณีศึกษา คุณรวิศ หาญอุตสาหะ อีกครั้ง เมื่อสมัยเข้ามาบริหารกิจการ แป้งหอมศรีจันทร์ ครั้งแรกต่อจากคุณปู่ก็พบว่ากิจการทำงานแบบเน้นคนบวกกับระบบงานแบบ Manual เป็นหลัก ซึ่งการมีคนทำงานที่ขยัน ซื้อสัตย์ อดทนคือความโชคดีสูงสุดของกิจการ แต่การพึ่งพาคนเป็นหลักก็เป็นอุปสรรคต่อการขยายธุรกิจให้โตแบบ Exponential Growth (โตทะยานแบบธุรกิจสตาร์ทอัพสมัยใหม่)

คุณรวิศ จึงต้องลงมือปรับปรุงขนาดใหญ่ให้เกิดเทคโนโลยีและระบบการทำงานที่ดีขึ้นและเอื้อต่อการเติบโตแบบ Exponential โดยไม่ต้องพะวงปัญหาคนบานปลายตามหลังมากจนเกินไป

ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่นเพื่อธุรกิจใหม่ไม่ได้แพงอย่างที่คิด

สำหรับเจ้าของกิจการในปัจจุบัน สามารถเริ่มต้นการทำงานด้วยการลงระบบง่าย ๆ ตามที่ยกตัวอย่างไป อาทิ โปรแกรมบัญชีใช้ FlowAccount สามารถมีหลาย User และเจ้าของก็สามารถเข้ามาตรวจสอบความเคลื่อนไหวของผลประกอบการจากที่ไหนก็ได้ตลอดเวลา ตัวโปรแกรมเริ่มต้นทดลองใช้ฟรี หรือแพ็กเกจสูงสุดอยู่ที่ราคา 3,300 บาทต่อปีเท่านั้น

โปรแกรมการประสานงานภายในบริษัทอาจใช้ Facebook Workplace ซึ่งสามารถแยกเป็น แผนก และ กลุ่มงานต่าง ๆ ไว้พูดคุยตามงานจากที่ไหนและเมื่อไรก็ได้ ซึ่งโปรแกรมนี้ฟรี เพียงมีบัญชี Facebook

หรือ Outsource ด้าน Fulfillment center ก็มีระบบออนไลน์ที่คุณสามารถดูสต็อก ติดตามผลการจัดส่ง ฯลฯ ผ่านทางออนไลน์ได้เช่นกัน กรณีนี้ก็ไม่ต้องลงระบบที่เกี่ยวข้องกับบริหารคลังสินค้าเองหาก Outsource งานออกไปให้ 3rd Party เป็นต้น

เจ้าของธุรกิจควรโฟกัสการขยายกิจการเป็นหลัก

TMB ให้ความสำคัญกับ ‘เวลา’ มากถึงกับเน้นย้ำในงานอีเวนต์ในลักษณะว่า อยากให้ผู้ประกอบการทำธุรกรรมใด ๆ ให้ง่ายที่สุดและมีเวลาไปพัฒนาธุรกิจอย่างเต็มที่ โดย TMB เองก็ได้พัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว อาทิ

TMB BIZ TOUCH: เป็นโมบายแอปพลิเคชั่น ใช้กับบัญชีธุรกิจ TMB SME One Bank ให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่ฟรีค่าธรรมเนียมทุกกรณี รวดเร็ว และปลอดภัยได้จากทุกที่และทุกเวลา รับ โอน จ่าย ให้วงเงิน OD แจ้งอายัดเช็ค โอนเงินต่างประเทศ ฯลฯ จากมือถือเครื่องเดียว

นอกจากนั้นยังมีโปรแกรม Online Loan Request เพื่อคำนวณสินเชื่อได้ทางออนไลน์และจะมีเจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับมาพูดคุยรายละเอียดเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว ส่วนขั้นตอนของการขอรับเอกสารการขอกู้ ทาง TMB ก็จะมีพนักงานเดินทางไปดำเนินการให้ถึงสถานที่นัดหมาย เป็นต้น

MORE POSSIBILITIES

สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้ตัวเองอยู่เสมอ เพื่อเปิดรับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต

โลกธุรกิจในปัจุบันหมุนเร็วขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ทันความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีที่ยืนในวงการของตนเองหรือแม้แต่เข้าถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยในปัจจุบันเราจะเห็นหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบการมากมาย และ TMB เองก็เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้เช่นกัน โดยมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ อาทิ

Course & Seminar: เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ หลักสูตรการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ เป็นต้น

TMB BIZ Advisory: เป็นโปรแกรมที่ปรึกษาและให้คำแนะนำทางการเงินธุรกิจที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบ Video Conference ณ ห้องรับรองพิเศษของ TMB ปัจจุบันนำร่องไปแล้ว 15 สาขาและกำลังจะเปิดเพิ่ม

Lean Supply Chain by TMB: เป็นเวิร์คช็อปสุดเข้มข้นนำร่องในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ อาหาร, สุขภาพ ยานยนต์, ก่อสร้าง เป็นต้น ฯลฯ โดยมีบริษัทเข้าร่วมแล้วก่า 1,260 บริษัท ลดต้นทุนธุรกิจไปแล้วกว่า 850 ล้านบาทจากการเข้าเวิร์คช็อปและนำผลลลัพธ์จาก Lean Supply Chain โดย TMB ไปใช้งานในธุรกิจ

สรุป โปรแกรม Get MORE with TMB มีอะไรบ้าง

สรุป ประสบการณ์จากงาน SME New Experience : Get MORE with TMB

โดยรวม คือ TMB เล็งเห็นถึงปัญหาของผู้ประกอบการ SME ไทย พร้อมกับมองว่าหากได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม SME ไทยมีโอกาสเติบโตและส่งผลดีมากต่อประเทศโดยรวม จึงนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมาโดยเป้าหมายคือต้องการเป็นมากกว่าสถานบันการเงินแบบเดิม ๆ แต่ต้องการ สร้างประสบการณ์ ทางธุรกิจที่ยอดเยี่ยมร่วมกับ SME ทุกคนที่เข้ามาใช้บริการ ภายใต้หลักคิด Get MORE หรือ ‘ให้’ ได้มากกว่า