4 เรื่องราวเจ้าของ Tech Startup ระดับโลก ปั้นธุรกิจคู่ไปกับงานประจำ

4 เรื่องราวเจ้าของ Tech Startup ระดับโลก ปั้นธุรกิจคู่ไปกับงานประจำ สำหรับคนมีความฝันแต่ยังลังเลว่า ลาออกมาลุย หรือ ลุยก่อนแล้วค่อยลาออกจากงานประจำ — 4 คนนี้คือตัวอย่างของคนที่พัฒนาธุรกิจในช่วงเวลาว่างหลังจากงานประจำ

1. Steve Jobs: Apple

four-tech-startups-while-work-full-time-01

จุดเริ่มต้น

ปี ค.ศ. 1976 Steve Jobs ทำงานกะกลางคืนที่บริษัท Atari ในขณะที่ว่าที่ Steve Wozniak, ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple อีกคน, เป็นวิศวกรของ HP

เมื่อว่างจากงานหลัก, พวกเขาจะมารวมตัวกันที่โรงรถเพื่อพัฒนาคอมพิวเตอร์ต้นโดยใช้ชิ้นส่วนของ Atari จนกระทั่งได้ต้นแบบแรกนามว่า Apple I ไปเสนอต่อผู้ใหญ่ แต่พวกเขาถูกปฏิเสธไอเดียและเงินลงทุน, Jobs ไม่ยอมแพ้ เขามุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และแสวงโอกาสทางการเงินต่อไป

4 ทศวรรษต่อมา

วันนี้ Apple Computer ปฏิวัติอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลก มีเครื่องเล่น mp3 ซึ่งต่อมากลายเป็น iPod, และกลายเป็น iTunes, รวมไปถึง iPad, iPhone, MacBook, และ Apple Watch ฯลฯ ทั้งหมดล้วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, และแอปพลิเคชั่นที่ทันสมัยและสวยงาม

Apple กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก, เดือน กุมภาพันธ์ 2019, บริษัท Apple ก้าวขึ้นเป็นกิจการที่มี ‘มูลค่าตลาด’ หรือ Market Cap. อันดับ 1 ของโลก ด้วยมูลค่าประมาณ 821,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แซงหน้า Amazon และ Microsoft

2. Mark Zuckerberg: Facebook

four-tech-startups-while-work-full-time-02

จุดเริ่มต้น

ปี ค.ศ. 2003 Mark Zuckerberg อาจจะต่างจากเรื่องราวของคนอื่น ๆ ตรงที่ไม่ได้ทำงานประจำ, เขาเริ่มต้นเป็นนักศึกษาน้องใหม่ในมหาวิทยาลัย Havard — ภายนอกเขาอาจดูเป็นเด็กเนิร์ดที่วัน ๆ ใช้ชีวิตอยู่กับคอมพิวเตอร์ในหอพักโดยไม่มีใครรู้ว่านั่นคือจุดเริ่มต้นของแอปพลิเคชั่นระดับโลก

Mark Zuckerberg เปิดเว็บไซต์ FaceMash, เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์คที่เปิดให้นักศึกษาอัพโหลดรูปภาพและโหวตว่า คนไหน หล่อ/สวย ที่สุด, เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตโดยใช้ Server ของมหาวิทยาลัย Havard เป็นเซ็นเตอร์

FaceMash ไวรัลไปทั่วมหาวิทยาลัย มีคนเข้าเยียมชมรูปภาพถึง 22,000 views ภายใน 4 ชั่วโมงแรก และลุกลามไปยังมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ภายในข้ามคืน ก่อนที่จะถูก Harvard จับได้และสั่งปิด FaceMash ในไม่กี่วันต่อมา

Mark Zuckerberg ไม่ยอมแพ้

หลังถูกสั่งปิดเว็บไซต์ เขายังคงพัฒนาโปรแกรมโซเชียลเน็ตเวิร์คต่อไปร่วมกับเพื่อน ๆ ได้แก่ Eduardo Saverin, Dustin Moskovitz และ Chris Hughes

พวกเขาจดโดเมน TheFacebook ในปี ค.ศ. 2004 ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น Facebook.com ในปี ค.ศ. 2005 โดยเขาทุ่มเงินซื้อโดเมนนี้ใน ราคา 200,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยในตอนนั้นเขาได้ Drop การเรียนจาก Havard และย้ายไปก่อตั้งกิจการ Facebook ที่ Palo Alto รัฐ California เป็นที่เรียบร้อย

16 ปีต่อมา

จาก FaceMash สู่ Facebook, โซเชียลเน็ตเวิร์คอันดับ 1 ของโลกที่มีผู้ใช้งานไตรมาศแรกของปี ค.ศ. 2019 มากกว่า 2,410 ล้าน Monthly active users และ มีจำนวนผู้ล็อกอินเข้าใช้งานวันละมากกว่า 1,590 ล้าน Users มากจนถูกขนานนามว่า ‘ประเทศ Facebook’ พร้อมกับรายได้มหึมาในปี ค.ศ. 2018 สูงถึง 62,604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Facebook เปลี่ยนแปลงโลกของการสื่อสารไปตลอดกาล โดยวันนี้ทุกคนบนโลกสามารถเข้าสื่อสารถึงกันทั้ง ข้อความ ภาพ และวีดีโอ ได้ฟรี ผ่านทาง Facebook

3. Kevin Systrom: Instagram

four-tech-startups-while-work-full-time-03

จุดเริ่มต้น

ปี ค.ศ. 2009 Kevin Systrom ทำงานประจำเป็น Product Manager ที่บริษัท Nextstop ธุรกิจสตาร์ทอัพแนะนำการท่องท่องเที่ยว (ซึ่ง Facebook ซื้อกิจการไปในปี 2010) — Kevin Systrom ใช้เวลาหลังเลิกงานและวันหยุดไปกับการศึกษา และฝึกเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองจนเริ่มเกิดความเชี่ยวชาญ

เกิดแรงบันดาลใจจากแอปพลิเคชั่น Foursquare, Kevin Systrom จึงพัฒนาแอปพลิเคชั่นชื่อว่า Burbn ซึ่งมีฟังชั่นคล้าย Foursquare คือสามารถปักหมุดและเช็คอินสถานที่บนแอปฯ ได้ แต่เพิ่มฟังชั่นอื่น ๆ ลงไปเพื่อให้แตกต่าง อาทิ ทำตารางนัดหมาย แชร์รูปภาพ และสะสมแต้มเมื่อเช็คอินร่วมกับเพื่อน ๆ ฯลฯ

ไฟแรงแต่ไม่มีสตางค์

แม้เขาจะสนุกกับการพัฒนาและเห็นการเติบโตเล็ก ๆ น้อย ๆ จาก แอปพลิเคชั่น Burbn — แต่เขาไม่มีรายได้จากแอปฯ เพื่อจะพัฒนาต่อ และในขณะนั้นเขายังต้องทำงานประจำเพื่อเลี้ยงปากท้อง

แต่เหมือนโชคดีเข้าข้าง เมื่อ Kevin Systrom มีโอกาสได้พบและนำเสนอไอเดียกับนักลงทุนสตาร์ทอัพ 2 คนจาก 2 บริษัท ได้แก่ Baseline Ventures และ Andreessen Horowitz ภายในงานเลี้ยงสังสรรค์ของสตาร์ทอัพ Hunch ที่ Silicon Valley

ได้ทุน 500,000 เหรียญ

Kevin Systrom ได้รับทุนจาก Baseline Ventures และ Andreessen Horowitz รวมกัน 500,000 เหรียญหลังจากเสนอไอเดียแอปพลิเคชั่น Burbn ท่ามกลางวงเหล้า! เขาลาออกจาก Nextstop หลังได้รับเงินทุนเพื่อไปพัฒนาแอปพลิเคชั่นเต็มเวลา และว่าจ้าง Mike Krieger วิศวกรชาวบราซิล ซึ่งภายหลังได้กลายเป็น ผู้ร่วมก่อตั้ง Instagram

ตัดสินใจ Pivot โมเดลแอปพลิเคชั่น, หลังจากมีทุน ทีม และเวลา ในการพัฒนาจริงจัง เขาเห็นความไม่เหมาะสมของแอปพลิเคชั่น Burbn จึงตัดสินใจ Pivot แอปฯ โดยตัดฟังชั่นและฟีเจอร์ให้เหลือเพียงหน้าที่เดียว คือ เป็นแอปฯ Filter & Share รูปภาพ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น Instagram ซึ่งมาจาก Instant ผสมกับ telegram และ Launch สู่โลกออนไลน์ในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เวลา 12:15 a.m.

Facebook เข้าซื้อกิจการ Instagram

Instagram ถูกดาวน์โหลด 100,000 ครั้งภายใน 1 ชั่วโมงหลังเปิดตัว และถูกดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านครั้งภายในเดือน ธันวาคม 2010 ก่อนที่ Facebook จะเข้าซื้อ Instagram เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2012 ในราคา 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในไตรมาส 3 ของปี 2019 — Instagram มี 1000 ล้าน Monthly Active Users

4. Jack Dorsey: Twitter

four-tech-startups-while-work-full-time-04

จุดเริ่มต้น

ปี ค.ศ. 2005 ในระหว่างที่ Jack Dorsey ร่อนเร่หางานทำ (และถูกปฏิเสธแม้แต่งานในตำแหน่งพนักงานเฝ้าร้านรองเท้า) เขาได้พบกับ Evan Williams อดีตผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blogger.com, ที่ภายหลังขายให้ Google, ณ Caffe Centro ในย่าน เซาธ์พาร์ค ของ ซานฟรานซิสโก

Evan Williams ตกลงจ้าง Jack Dorsey ไปช่วยงานที่บริษัท Odeo ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านแพลทฟอร์ม Podcast โดยให้เขาเป็นพนักงานเขียนโค้ดระดับล่างสุดขององค์กร ต่อมา Apple ได้พัฒนา Podcast ลงใน iTune ทำให้โครงการ Podcast ของบริษัท Odeo ต้องปิดโครงการลงในปี 2006

Jack Dorsey เสนอไอเดียที่ Twitter

หลังโครงการ Podcast ปิดตัวไป — Evan Williams เปิดระดมสมองร่วมกับทีมงานเพื่อหาโมเดลธุรกิจใหม่ และเป็นโอกาสให้ Jack Dorsey นำไอเดียแอปพลิเคชั่น Messaging ที่เขาฝันที่จะสร้างมานานกลับมาเสนอ ณ ที่ระดมสมอง โดยเขาตั้งชื่อว่า Twitter

ข้อความ Tweet แรกของโลก, เมื่อ Evan Williams ตกลงรับไอเดียของ Jack Dorsey มาพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่นโพสต์ข้อความสั้น โดย Evan Williams ตัดอักขระให้เหลือเพียง Twttr (เพื่อเลียนหางเสียงของ Flickr ที่กำลังดัง) ทวีตแรกของ Jack Dorsey โพสต์ขึ้นสู่ระบบในวันที่ 21 มีนาคม 2006 “๋Just set up my Twttr” และเปิดตัวอย่างเป็นทาง 15 กรกฏาคม 2006 และแก้ไขชื่อกลับมาเป็น Twitter

Jack Dorsey ถูกบีบออกจากบริษัท Odeo

เมื่อ Twitter เติบโตอย่างรวดเร็วและได้รับเงินทุน Series A จำนวน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Twitter ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารธุรกิจรอบด้าน ส่งผลให้ Evan Williams เป็นตัวตั้งตัวตีในการเสนอให้คณะผู้บริหารร่วมกันกดดันให้ Jack Dorsey ออกจากตำแหน่ง CEO ของบริษัท

การลับมาของ Jack Dorsey, Jack Dorsey ออกจากตำแหน่ง CEO ของ Twitter ในปี 2008 และไปก่อตั้งแอปพลิเคชั่นประเภทระบบชำระเงินผ่านมือถือ ชื่อว่า Square ในปี 2009

Jack Dorsey ได้รับแรงบันดาลใจจาก Steve Jobs ทั้งในเรื่องการแต่งตัว และการพรีเซนต์แนวคิด เขาพัฒนาตัวเองอย่างหนักจน Square ประสบผลลัพธ์ทั้งในด้านธุรกิจและด้านสื่อ (Earned media) ในขณะที่การบริหาร Twitter ภายใต้การนำของ Evan Williams กลับถดถอยลง และในที่สุด Evan Williams ก็ถูกกดดันให้ออกจากตำแหน่ง และนำ Jack Dorsey กลับมานั่งเก้าอี้บริหารของ Twitter ในปี 2011

Twitter เข้าตลาดหุ้น

หลังจาก Jack Dorsey กลับมาบริหารในตำแหน่ง Executive Chairman — เขาก็ร่วมกันนำพา Twitter เข้าตลาดหุ้นด้วย Valuation สูงถึง 31,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ วัน IPO เดือน พฤศจิกายน 2013 และกลับสู่ตำแหน่ง CEO เต็มตัวอีกครั้งในปี 2015 ตามมาด้วยการประกาศว่า บริษัทมีกำไรครั้งแรก (นับตั้งแต่ก่อตั้งกิจการ) เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2018

สถิติของ Twitter, ไตรมาส 3 ปี 2019 มีผู้ใช้งานจำนวนประมาณ 320 – 330 ล้าน User ต่อเดือน ลดลงจากเมื่อปีก่อนเนื่องจากการเคลียร์บัญชีปลอมอย่างหนักของบริษัท ในแต่ละวันมีมากกว่า 500 ล้าน Tweet หรือ กว่า 5787 Tweet ต่อ วินาที — Twitter มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าแพลทฟอร์มสำหรับ Microbloggers



———-

Source:
Inc.com
TheVerge.com
blog.hootsuite.com
BusinessInsider.com
Omnicoreagency.com