4 แพลทฟอร์มสร้างโปรไฟล์ธุรกิจบนโลกออนไลน์สำหรับผู้เริ่มต้น

เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว การประชาสัมพันธ์ธุรกิจเป็นเรื่องยากมาก คุณต้องจ้างพนักงานขายประเภท Field sales ในการวิ่งออกไปหาลูกค้าถึงที่ หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่าการประชาสัมพันธ์แบบ Door-to-Door salesman นักขายวิ่งเคาะประตูบ้าน หรืออีกกรณีคือการมีโปรไฟล์ธุรกิจลงในสมุดหน้าเหลือง และตามหน้า Classified ad ในหนังสือพิมพ์

แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่าย เร็ว และตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น คุณสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจากโน้ตบุ๊คเครื่องเดียว อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายคนที่ยังเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนให้พวกเขารู้วิธีใช้เครื่องมือช่วยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต

วันนี้ CEOblog จึงจะมาแนะนำ 4 แพลทฟอร์มทั้งดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้ ผู้ประกอบการไทย สามารถนำพาธุรกิจของตนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้ด้วยปลายนิ้ว ได้แก่ Website, Facebook, MatchLink, และ LinkedIn

1. Website และ Blog สำนักงานใหญ่บนโลกออนไลน์

Website คือ หัวใจสำคัญ ที่ทุกคนควรมีเมื่อก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ โดยในฝั่งอเมริกาให้ความสำคัญกับเว็บไซต์เหนือสิ่งอื่นใด ประโยชน์ของเว็บไซต์ ได้แก่…

  • เป็นสำนักงานใหญ่บนโลกออนไลน์ ใช้บรรจุข้อมูลธุรกิจทั้งหมดของคุณ
  • เป็นหน้าร้านออนไลน์ ใช้บรรจุเครื่องมือสื่อขายออนไลน์ หรือระบบ E-Commerce shopping cart
  • เป็นพื้นที่บริการลูกค้า ใช้บรรจุพื้นที่คำถามที่ถามบ่อย (FAQ) และโปรแกรมแชทออนไลน์
  • เป็นพื้นที่ให้ข้อมูลข่าวสาร ใช้บรรจุส่วนที่เรียกว่า Blog
  • เอื้อต่อการทำอันดับบน Google เพิ่มโอกาสการถูกหาเจอบน Google search engine

Blog คือ อะไร?

Blog เรียกเต็ม ๆ ว่า Weblog ใช้สำหรับเขียนบันทึกข้อมูลออนไลน์ มีการเรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า คล้ายการแสดงผลของ Facebook’s timeline บรรจุเนื้อหาตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวีดีโอ และมีประสิทธภาพในการติดอันดับบน Google search engine มากกว่า Facebook

ปัจจุบันโปรแกรมในการสร้าง Blog และ Website นั้นเป็นโปรแกรมตัวเดียวกัน นั่นคือ WordPress.org โปรแกรมตัวนี้เป็น Open source มีนักพัฒนาเข้ามาพัฒนาโปรแกรมตลอดเวลาทำให้ปัจจุบัน WordPress.org ใช้งานง่ายและช่วยให้คุณสร้าง เว็บไซต์ ที่สวยงามดูเป็นมืออาชีพด้วยตนเองด้วยเงินลงทุนเพียงไม่กี่พันบาท

วิธีสร้าง เว็บไซต์ ด้วยตนเอง

1. เช่าโฮสต์ (Host)

การเช่า โฮสต์ เปรียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือการเช่าพื้นที่เปล่าบนโลกออนไลน์เพื่อคุณจะได้ปลูกบ้าน (เว็บไซต์) ได้ โฺฮสต์ มีหลายระบบ เริ่มตั้งแต่ราคาถูกที่สุด คือ Shared host ราคา 3,000 – 8,000 บาทต่อปี ราคากลาง ๆ คือ VPS host ประสิทธิภาพในการรองรับข้อมูลและทราฟฟิกจะสูงขึ้นโดยความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ไม่ลดลง ราคาหลักหมื่นบาทต่อปี ส่วน Dedicated server คือ การเช่าเซิร์ฟเวอร์เดี่ยว ๆ ของตัวเอง ราคาหลายหมื่นบาทไปจนถึงหลักแสนบาทต่อปี คุณสามารถเช่าโฮสต์เป็น รายไตรมาส รายปี หรือ คราวละหลายปีก็ได้ ยิ่งเช่าคราวละนาน ๆ ราคาเฉลี่ยก็จะถูกลง

21 รายชื่อโฮสต์ยอดนิยม

  • HostGator นิยมสูงสุด
  • GoDaddy นิยมสูงสุด
  • Bluehost นิยมสูงสุด และแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น
  • A2Hosting
  • iPage
  • InMotion Hosting
  • HostFav
  • DreamHost
  • Interserver
  • Name Cheap
  • 1 & 1
  • Fasthosts
  • Hostinger
  • GreenGeeks
  • Justhost
  • SiteGround
  • Host1Plus
  • eUKhost
  • Arvixe
  • FatCow
  • Host Monster

รายละเอียดโฮสต์รายตัว ที่นี่

2. โดเมนเนม (Domain name)

การจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ สามารถจดทะเบียนแยกไว้ยังเว็บไซต์รับจดโดเมนเนม อาทิ Godaddy.com หรือ Name.com แล้วค่อยชี้โดเมนเนมนั้น ๆ ไปยังโฺฮสต์ภายหลังก็ได้ ซึ่งราคาจะถูกกว่าจะโดยตรงกับทางโฮสต์ที่เช่า แต่ถ้าไม่ต้องการทำงานหลายขั้นตอน คุณสามารถ เช่าโฮสต์และจดซื้อโดเมนผ่านโฮสต์นั้น ๆ เลยก็ได้

ค่าโดเมนเนมต้องจดซื้อพร้อมกับโดเมนไพรเวทซี่ หรือ โปรแกรมรักษาความลับของเจ้าของโดเมน ราคารวมเฉลี่ย 700 – 1,000 บาทต่อปีสำหรับทั้งสองอย่างรวมกัน

3. WordPress Installation

การติดตั้งโปรแกรม WordPress.org นั้นไม่ยุ่งยาก คุณสามารถติดตั้งโปรแกรมนี้ผ่านโฺฮสต์ที่คุณใช้บริการได้เลย จากนั้นคุณไปเลือกซื้อ Website template ที่ Themeforest.net ซึ่งมีเทมเพลทสวย ๆ ให้เลือกหลายแนว เพียงเท่านี้คุณก็จะได้เว็บไซต์สุดสวยหรูดูเป็นมืออาชีพเพื่อเสริมความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจของคุณ อีกทั้งยังใช้เป็นกระดานข่าวสารสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ

ขั้นตอน 1-3 ใช้เวลาทำเพียง 30 นาที และใช้งบประมาณ 5,000 – 8,000 บาท

วีธีทำเว็บไซต์ด้วย WordPress

ด้านล่างเป็นวีดีโอสอนทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ตั้งแต่เช่าโฮสต์ จดโดเมน และลงโปรแกรม WordPress ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เป็นคลิปตัวเต็มจากคอร์สเรียนออนไลน์ Blog Millionaire ทำ บล็อก อย่างไรให้ได้ล้าน

Facebook เจ้าพ่อแห่งโซเชียลมีเดีย

ถึงวันนี้คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มอีกแล้วว่า Facebook คืออะไร คนไทยใช้ Facebook เยอะมาก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการขายของตรง ๆ ผ่าน Facebook เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก อย่างไรก็ดีการขายของผ่าน Facebook ตรง ๆ ไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนในอดีต เนื่องจาก Facebook ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ Connect หรือ เชื่อมโยงผู้คนในแง่ความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่ง Mark Zuckerberg ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า “…friend and family first…”

Facebook business page จึงเป็นฟังชั่นที่เปิดขึ้นมาเพื่อ ผู้ประกอบการ ใช้ในการสร้างเพจสำหรับประชาสัมพันธ์ธุรกิจของคุณ Facebook business page สามารถบรรจุโปรไฟล์ธุรกิจของคุณได้ แต่มันเหมาะกว่าที่จะใช้ในการ Connect กับ Target audience หรือ กลุ่มเป้าหมาย ที่น่าจะสนใจสิ่งที่คุณ ขายหรือให้บริการอยู่ ผ่านการยิงโฆษณาแบบ ‘ตรงกลุ่ม’ หรือ Re-targering ad ของ Facebook ซึ่งเป็นฟังชั่นการโฆษณาพิเศษที่ Facebook สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายบน แพลทฟอร์มนี้ (และแน่นอนว่าคุณต้องจ่ายเงินให้เจ้าของแพลทฟอร์ม)

วิธีใช้ Facebook ประชาสัมพันธ์ธุรกิจโดยไม่ซื้อโฆษณา Facebook Ads

สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อน คือ คำว่าประชาสัมพันธ์ เป็นการทำให้คนรับรู้การมีตัวตนของคุณ ซึ่งแยกกันจาก ‘การขาย’ ถ้าคุณจะขายของคุณอาจต้องซื้อโฆษณาเพื่อประกาศขายสินค้า แต่ถ้าคุณจะประชาสัมพันธ์ วิธีการประชาสัมพันธ์มีหลายวิธี ทั้งแบบ ซื้อโฆษณา และ ไม่ซื้อโฆษณา ในกรณีนี้เราจะพูดถึง แบบไม่ซื้อโฆษณา

พลังของการบอกต่อ

ด้วยความเป็น โซเชียลมีเดีย และ เน็ตเวิร์ค การกระจายข้อมูลแบบ Word-of-mouth หรือแบบ ปากต่อปาก ในเวอร์ชั่นโลกออนไลน์ ข้อมูลที่เป็นที่สนใจหรืออยู่ในกระแสจึงมีโอกาสถูก พูดถึง และ ส่งต่อ ในอัตราเร่ง ข่าวที่เป็นที่สนใจอาจกระจายตัวเป็นพัน ๆ หรือ หมื่น ๆ แชร์ในข้ามคืน เข้าถึงสายตาผู้คนนับล้านภายใน 24-48 ชั่วโมงด้วยพลังของโซเชียลโดยที่คุณไม่ต้องซื้อโฆษณา

ดังนั้น Facebook จึงเหมาะสำหรับการแชร์เรื่องราวที่ Connect กับความสนใจกับกลุ่มเป้าหมายของคุณโดยไม่จำเป็นต้องขายของใด ๆ ให้คุณเน้นการวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณน่าจะสนใจหัวข้ออะไร สร้างเนื้อหาหัวข้อนั้น ๆ ลงบนเว็บไซต์ นำลิงค์เนื้อหาบนเว็บไซต์ไปแชร์ลงใน Facebook business page ของคุณและเครือข่ายคนรู้จักที่สามารถขอให้แชร์ได้

Content marketing เพื่อกรองผู้สนใจ

การเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นที่สนใจอย่างสม่ำเสมอ หรืออยู่ในกระแสพอดีจะช่วยให้พลังโซเชียลฯ ช่วยผลักดันเนื้อหาของคุณให้เดินทางไปไกลบนโลกออนไลน์ และในคนที่เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณก็จะเห็นภาพรวมทั้งหมดของเว็บไซต์ธุรกิจของคุณ เห็นว่าคุณเป็นใคร ดำเนินธุรกิจอะไร ขายอะไร และมีโอกาสผันตัวไปเป็นว่าที่ลูกค้าของคุณ

นอกจากนั้น คุณยังสามารถติด Facebook conversion pixel ลงในบทความนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้ยิงโฆษณาแบบ ตรงกลุ่มเป้าหมาย หรือ Re-targeting ads ตอนที่คุณจะขายของ และยังสามารถติดตั้งเครื่องมือทำ Lead generation ไม่ว่าจะเป็น Banners และ Popup ให้สมัครสมาชิกหรือแอดไลน์แอดต่าง ๆ เพื่อเก็บรายชื่อผู้สนใจที่เข้ามาในเว็บไซต์ และติดต่อผ่าน โทรศัพท์ อีเมล์ หรือ ไลน์ เพื่อเสนอขายสินค้าภายหลัง

วิธีนี้จะต่างจากการวิธีติดต่อแบบ Cold call เป็นการ ซื้อรายชื่อจากแหล่งขายข้อมูล แล้วติดต่อไปขายกลุ่มเป้าหมายโดยที่พวกเขาไม่ได้รู้ตัวมาก่อน แต่การติดต่อผ่านวิธีการทำ Lead generation ผู้มุ่งหวังเต็มใจให้วิธีติดต่อและพร้อมในระดับหนึ่งที่อาจจะได้รับการติดต่อเพื่อเสนอขายสินค้าและบริการ

MatchLink แอปพลิเคชั่นสำหรับโปรไฟล์ธุรกิจโดยเฉพาะ

MatchLink เป็น แอปพลิเคชั่นที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงธุรกิจเข้าไว้ด้วยกัน สนับสนุนโดย บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) หรือ BOL ผู้ให้บริการฐานข้อมูลนิติบุคคลรายแรก และรายเดียวที่มีข้อมูลครอบคลุมมากที่สุดมากกว่า 1.5 ล้านธุรกิจทั่วประเทศ เปิดให้เจ้าของธุรกิจสามารถเข้ามาสร้างโปรไฟล์ของตนบนแอปพลิเคชั่นนี้

โปรไฟล์ที่ถูกสร้างจะมีความน่าเชื่อถือ และช่วยให้ผู้ใช้บริการทุกฝ่ายได้รับความมั่นใจสูงสุดในการติดต่อธุรกิจบนแอปพลิเคชั่น เนื่องจาก Matchlink ถูกออกแบบมาให้มีคุณลักษณะคล้ายไดเรคตอรี่ธุรกิจ ผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านธุรกิจโดยเฉพาะ และต้องมีการยืนยันนิติบุคคลของผู้ใช้งาน นั่นจึงทำให้โปรไฟล์ของผู้ใช้งานแต่ละคนน่าเชื่อถือสูงนั่นเอง

3 ฟังชั่นสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ MatchLink

Business Page มีตัวตนบนโลกดิจิทัลแบบไร้ข้อจำกัดในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

สมาชิก MatchLink สามารถเคลมธุรกิจของตนเองในระบบฯ หรือสร้างธุรกิจใหม่และเคลมธุรกิจได้ทันที เพื่อได้รับสิทธิในการอัพเดทข้อมูลต่างๆ เช่น อัพโหลดภาพโลโก้ อัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ ข้อมูลสินค้า/บริการ ข้อมูลติดต่อเช่น ที่อยู่ แผนที่ เบอร์ติดต่อ และโซเชียลมีเดียบน Business Page ได้ทุกที่ทุกเวลา และหลังจากที่สมาชิกได้ทำการเคลมธุรกิจแล้ว นามบัตรของท่านจะถูกแสดงบนหน้าเพจธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อพูดคุยธุรกิจกับท่านได้โดยตรง สะดวกและไม่พลาดทุกโอกาสสำคัญ

อ่านวิธีใช้งานเพิ่มเติม ที่นี่

Business Search ค้นหาคู่ค้าที่ใช่ใน MatchLink

ค้นหาธุรกิจจากฐานข้อมูลนิติบุคคลทั่วประเทศได้มากกว่า 1.5 ล้านราย ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ครอบคลุมทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม ซึ่งสมาชิกสามารถค้นหาและเห็นข้อมูลจดทะเบียนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นข้อมูลธุรกิจที่สำคัญ เช่น เลขจดทะเบียนนิติบุคคล รายชื่อกรรมการ และข้อมูลการเงิน

อ่านวิธีใช้งานเพิ่มเติม ที่นี่

Digital Name Card นามบัตรดิจิทัลเพื่อการติดต่อที่สะดวกรวดเร็วในยุคดิจิทัล

นามบัตรดิจิทัลที่สร้างขึ้นได้อย่างง่ายดายบนแอปพลิเคชัน MatchLink เท่านั้น เพื่อการสร้างเน็ตเวิร์คทางธุรกิจที่สะดวกรวดเร็ว ติดต่อสื่อสารได้ถึงตัวและถูกต้อง เพราะสมาชิก MatchLink สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนนามบัตรดิจิทัลของตนเองได้ตลอดเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หมดปัญหาการพกนามบัตร หรือเก็บนามบัตรที่ยากลำบาก และเสี่ยงต่อการสูญหาย เพราะทุกการแลกนามบัตรผ่านแอพ MatchLink ข้อมูล contacts ของคู่ค้าจะอยู่ในแอพ ง่ายต่อการเรียกดูภายหลัง

อ่านวิธีใช้งานเพิ่มเติม ที่นี่

MatchLink Fully Customized Business Page

MatchLink Business Search

MatchLink Digital Namecard

 

LinkedIn โซเชียลมีเดียสำหรับผู้บริหารและคนทำงานมืออาชีพ

LinkedIn อาจไม่หวือหวาแต่ก็เป็นที่นิยมอย่างเงียบ ๆ ทั้งในต่างประเทศและในไทย เป็นช่องทางการสร้างโปรไฟล์สำหรับผู้บริหารและคนทำงาน นอกจากนั้นยังติด Google search engine เป็นอย่างดีอีกด้วย โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง และเจ้าของธุรกิจอเมริกานิยมใช้ LinkedIn เป็นอย่างมาก และโปรไฟล์ LinkedIn ของพวกเขามักติด Google Search engine ก่อนโปรไฟล์บน Facebook

LinkedIn เป็นพื้นที่ที่ใช้บอกว่า คุณเป็นใคร จากอดีตถึงปัจจุบันทำงานอะไร มีความเชี่ยวชาญอะไร และเพื่อนร่วมงานของเห็นด้วยว่าคุณเก่งเรื่องอะไรบ้าง — กล่าวคือ ถ้า Facebook คือโปรไฟล์ส่วนบุคคล และ MatchLink คือ โปรไฟล์ธุรกิจ และนามบัตรออนไลน์ของธุรกิจ LinkedIn ก็เปรียบกับโปรไฟล์ตำแหน่งหน้าที่การงานและเรซูเม่ออนไลน์ของคุณก็ว่าได้

4 แนวคิดสร้างโปรไฟล์ LinkedIn ให้น่าเชื่อถือ

1. รูปที่ใช่

รูปเฮฮาใช้ได้กับ Facebook แต่ไม่ใช่ที่ LinkedIn เพราะที่นี่ถูกออกแบบมาสำหรับเป็นเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คคนทำงานและอาจมีผู้บริหาร ผู้ว่าจ้าง และเจ้าของกิจการวนเวียนอยู่มากกว่าบน Facebook จงใช้รูปสุภาพ เช่น หน้าตรง หรือเอียงเล็กน้อย พื้นหลังสีเรียบ และอย่าลืมที่จะยิ้มและมองกล้อง

2. โปรไฟล์ที่แข็งแรง

สละเวลาสัก 1 วันให้กับการสร้างฐานข้อมูลประสบการณ์การทำงานของคุณบน LinedIn เพราะโปรไฟล์ที่โล่งโจ้งทำให้คุณดูไม่น่าเชื่อถือ หากต้องการได้รับ First impression ที่น่าประทับใจแต่แรกเห็นจากคนที่อาจสนใจร่วมงานกับคุณ จงใส่ข้อมูลต่าง ๆ ให้เต็มและแน่นไปทั่วทั้งหน้าโปรไฟล์

3. แสดงที่มาที่ไป

จงระบุประวัติการทำงานต่าง ๆ ของคุณจากอดีตถึงปัจจุบัน ใส่ชื่อบริษัทที่ผ่านมา และชื่อบริษัทหรือกิจการส่วนตัวในปัจจุบัน ความน่าเชื่อถือแต่แรกเห็นส่งผลต่อการตัดสินในเบื้องต้นที่ผู้อื่นมีต่อคุณที่สุด จงทำให้คนเชื่อมั่นที่จะติดต่อไปหาคุณจาก โปรไฟล์ที่แข็งแกร่งและเต็มไปด้วยข้อมูลที่ช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้

4. ให้เพื่อนช่วยเป็นพยาน

โปรไฟล์ของคุณจะสมบูรณ์เมื่อมีพยานรับรองความเชี่ยวชาญของคุณ และใน LinedIn มีฟังชั่นที่เรียกว่า Endorsement หรือ การรับรองความสามารถ ให้คนใกล้ตัวช่วย Endorse เพื่อรับรองว่าเขาเห็นว่าคุณเก่งในสิ่งที่คุณบอกว่าคุณเป็น เพื่อยกระดับความน่าเชื่อจากการรับรองของสังคม

และทั้งนี้คือ 4 วิธีสร้างโปรไฟล์ธุรกิจ ผ่าน 4 แพลทฟอร์มออนไลน์ ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงคนทั้งโลก