เจาะลึกวิธีสร้างแบรนด์และขยายฐานลูกค้าไปทั่วประเทศอย่างประหยัดด้วย Content Marketing ผ่าน Value Contents และ Long-Form Contents

3 ปีก่อน ผมเปิดเว็บไซต์ CEOblog ขึ้นมาโดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในด้าน Long-Form และ Valuable Contents ด้านธุรกิจอันดับต้น ๆ ของประเทศ ส่งผลให้วันนี้ได้รับคำชื่นชมในฐานะเว็บไซต์ตัวอย่างของแหล่งบทความคุณภาพจากผู้คนที่ติดตาม และผลลัพธ์ที่ได้ตามมาโดยปริยายคือ ‘โอกาสทางธุรกิจ

ผมได้รับการติดต่อให้ร่วมงานสัมมนาต่าง ๆ, สามารถเข้าถึงนักธุรกิจเก่ง ๆ, ได้ง่ายขึ้น, ได้พบหุ้นส่วน, และได้รับความเชื่อถือจากนายทุน เพราะพวกเขาได้อ่านข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์ อีกทั้งยังส่งผลให้สินค้าและบริการของผม ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ (อีเล็คทรอนิกส์), วีดีโอคอร์ส, และงานสัมมนา ได้รับการตอบรับอย่างดี เพราะคนได้รู้จักและเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ผมแล้วผ่านข้อมูลที่เขาอ่านบนเว็บไซต์

ข้อมูลเหล่านี้เรียกว่า Website contents หรือเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ โดย Contents ที่ผมเขียนเป็น free valuable contents หรือ เนื้อหาทีมีประโยชน์มาก ๆ ที่ผมให้ฟรี และบางชิ้นเป็น Long-form contents หรือ บทความยาว ที่มีเนื้อหาสูงถึงหลักหลายพันตัวอักษร พฤติกรรมทั้งหมดที่ทำลงไปมีชื่อเรียกการกระทำนี้ว่า Content marketing

Content Marketing คืออะไร?

Content marketing คือการผลิตเนื้อหาที่ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยจะอยู่ในรูปของ บทความตัวอักษร, บทความเสียง, วีดีโอคลิป, รูปภาพ, และอินโฟกราฟฟิก ฯลฯ ก็ได้ จากนั้นใช้ช่องทางที่มีเพื่อส่งมอบเนื้อหานั้นไปยังกลุ่มเป้าหมาย ในกรณีของโลกออนไลน์คือ เว็บไซต์, โซเชียลเน็ตเวิร์ค, เว็บบอร์ด, และอีเมล์ เป็นต้น

วัตถุประสงค์คือเพื่อใช้ Content ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายในการดึงดูดคนเหล่านั้นกลับมายังแหล่งกำเนิดของเนื้อหา ในกรณีนี้คือเว็บไซต์ของท่านนั่นเอง โดยเป้าหมายคือเพื่อผันผู้เยี่ยมชมเหล่านั้นเป็นลูกค้า ภาษาการตลาดเรียกว่า Traffic Conversion

  • ในกรณีที่เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ท่านต้องการคนเยี่ยมชมผันไปเป็น Customers
  • ในกรณีที่เป็นเว็บไซต์ที่ต้องการให้มีการลงทะเบียนหรือสมัครสมาชิกต่างๆ ท่านต้องการคนเยี่ยมชมผันไปเป็น Members หรือ Users
  • แต่บางเว็บไซต์ก็ต้องการพียงผู้เยี่ยมชมจำนวนมาก ๆ เพื่อนำยอดผู้เข้าเว็บไปเสนอขาย Sponsor อาทิ เว็บข่าว เป็นต้น

ทำไมผู้ประกอบการควรหันมาสร้าง Valuable และ Long-Form Contents

ปัจจุบันมีคนหันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น ทั้งผู้ประกอบการ SMEs เดิมที่หันมาเปิดเว็บไซต์และเฟซบุ๊คเพื่อโพสต์ประชาสัมพันธ์และขายสินค้า และยังต้องแข่งขันกับคนรุ่นใหม่ที่เริ่มหันหลังให้งานประจำและผันมาขายของออนไลน์โดยตรงโดยไม่มีหน้าร้าน

เมื่อคนขายของออนไลน์มากขึ้น ทำให้ปริมาณ Content หรือ เนื้อหา เพื่อการขายสินค้าและบริการล้นหลามเป็นประวัติกาลจนผู้สนใจแยกแยะความแตกต่างของผู้ขายแต่ละคนไม่ได้ เกิดความเบื่อหน่าย และปิดช่องทางการรับรู้ไปในที่สุด ดังนั้น Content Marketing อันเป็นศาสตร์ของการผลิตเนื้อหาเชิงการตลาดที่สร้างสรรค์ การผลิตเนื้อหาที่มีคุณค่าอันจะส่งผลต่อการเพิ่มยอดขายขยายฐานลูกค้าโดยไม่ต้องขายจึงมีบทบาทอย่างมาก

ลูกค้าตัดสินใจซื้อเพราะเชื่อในความเป็น Expert ของผู้ขาย

เมื่อลูกค้าเจอสินค้าบนเว็บไซต์ เขาจะยังไม่ตัดสินใจซื้อทันทีแต่จะมีการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทาง Google เป็นต้น เพื่ออ่านรีวิวเกี่ยวกับผู้ขายและตัวสินค้า ในทางกลับกัน หากท่านสามารถสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์ และให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ วิธีใช้งาน รวมไปถึงวิธีดูแลตัวลูกค้าเองลงบนเว็บไซต์โดยที่เขาไม่ต้องคลิ๊กออกไปหาข้อมูลที่อื่น ก็เท่ากับว่าคุณปิดการขายไปแล้วครึ่งทาง เพราะเมื่อคนอ่านข้อมูลที่มีประโยชน์บนเว็บไซต์ของท่านถึงจุดหนึ่ง เขาจะรู้สึกว่าท่านเป็น Expert ในธุรกิจที่ตัวเองทำและกล้าตัดสินใจซื้อจากท่านในที่สุด!

ยกตัวอย่างสมมุติให้เห็นภาพใหญ่

หากท่านเป็นเจ้าของเว็บไซต์ขายสมาร์ทโฟน การมีส่วนที่เป็นบทความที่มีประโยชน์และมีเนื้อหาแน่นในเรื่องการ รีวิวผลิตภัณฑ์แต่รายการ การบอกเล่าประสบการณ์และวิธีใช้งาน และการบอกเล่าข่าวสารทันสมัยในแวดวงของผลิตภัณฑ์ ในขณะที่คู่แข่งไม่มีเนื้อหาแบบท่านเลยนอกจากการโพสต์ขายสินค้าเพียงอย่างเดียว กรณีนี้ เว็บไซต์ของท่านจะโดดเด่นขึ้นมาทันตา

ต่างประเทศก็มีการเฝ้าศึกษาและพบว่าลูกค้าที่ซื้อของออนไลน์สมัยใหม่จะไม่ซื้อทันทีที่มาเจอเว็บไซต์ แต่จะหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับร้านค้าและตัวสินค้านั้น ๆ ถ้าเว็บไซต์ของท่านไม่มีข้อมูล เขาจะไปหาข้อมูลที่เว็บไซต์อื่น และหากไปเจอเว็บไซต์คู่แข่งที่ขายสินค้าเหมือท่าน แต่มีเนื้อหาที่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์จนตอบโจทย์ทุกอย่างที่เขาต้องการ ลูกค้าจะมองว่าเว็บไซต์นี้เป็นมืออาชีพกว่า และมีโอกาสตัดสินใจซื้อสินค้าจากเว็บไซต์คู่แข่งในที่สุด

อีกสาเหตุที่ลูกค้าไปเจอเว็บไซต์คู่แช่ง เพราะการเขียนบทความ Long-form และ Valuable contents จำนวนมากทำให้ถ้อยคำและประโยคสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ไปติด Google Search Engine นั่นเอง เมื่อลูกค้าไม่เจอข้อมูลบนเว็บแรก ก็จะออกไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Search Engine และไปเจอข้อมูลบนเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีบทความดังกล่าวนั้นเอง

กรณีศึกษาเว็บไซต์ Tee Spring ใช้ Long-Form และ Valuable Content สร้างแบรนด์

1605-01

Tee Spring เป็นเว็บไซต์ที่ผลิต และจัดส่งเสื้อยืด โดยเปิดให้คนที่ต้องการขายเสื้อยืดสามารถสมัครเข้ามาออกแบบลายเสื้อผ่านทาง Application ของเว็บไซต์ จากนั้นก็ตั้งราคา ตั้งเป้ายอดขาย และนำแคมเปญที่ตั้งเสร็จแล้วไปเปิดขายแบบ ‘พรีออเดอร์’ ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ตามความถนัดของผู้ขาย โดยมากคือผ่าน Facebook และ Online Community ต่างๆ ตามความถนัดของผู้ขาย เมื่อได้จำนวนขายตามเป้าจึงส่งข้อมูลให้ Tee Spring นำไปผลิตและจัดส่งให้ลูกค้าปลายทางโดย Tee Spring และ ผู้ขาย จะมีส่วนแบ่งแบบ Profit sharing

โมเดลธุรกิจ Tee Spring ช่วยให้คนที่อยากขายเสื้อยืดไม่ต้องลงทุนเฉพาะหน้าเป็นจำนวนมาก คนอยากขายเสื้อออนไลน์สามารถนำแบบเสื้อไปขายพรีออเดอร์ก่อน ในขณะ Tee Spring ผู้ผลิตก็มีออเดอร์และเงินสดไปผลิตสินค้าและจัดส่งตามจำนวนจริง

แต่โมเดลธุรกิจนี้มี Barrier of entry ต่ำมาก กล่าวคือใครมีทุนมีทีมก็ลอกโมเดล Tee Spring ได้เลย ซึ่งในตลาดก็มีอีกหลายเว็บที่ทำแบบเดียวกัน แต่ไม่ดังเท่า Tee Spring… เพราะอะไร? เหตุผลเดาไม่ยากนั่นคือ Tee Spring ทำ Valuable และ Long-Form Content จำนวนมาก

Tee Spring University มหากาพย์คลังบทความที่สร้างแบรนด์อย่างยอดเยี่ยม

เว็บไซต์นี้เปิดส่วนหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Tee Spring University เป็นมหากาพย์คลังบทความสอนการตลาดออนไลน์เพื่อช่วยให้คนสามารถขายเสื้อยืดได้สำเร็จ แบ่งเป็น 5 กลุ่มได้แก่ Find Your Audience, Design Your Product, Tell the World, Advance Training และ Success Story

แต่ละกลุ่มมีบทความย่อยกลุ่มละ 5-23 บทความที่สอนละเอียดในระดับที่หากนำมารวมกันจะเป็นตำราการตลาดออนไลน์หนึ่งเล่มที่อาจขายได้เงินเป็นล้านบาท แต่ทั้งหมดนี้ทางเว็บไซต์เขียนให้อ่านฟรี! — นี่คือการลงทุนกับการสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์ และมีคุณภาพสูงจนทำให้คนมอง Tee Spring เป็นผู้นำตลาดในธุรกิจนี้ เมื่อลูกค้าตัดสินว่าเจ้านี้คือตัวจริง เขาก็จะเลือกสนับสนุนเจ้านั้น ๆ ในที่สุดครับ

วิเคราะห์เชิงสถิติโดย Neil Patel กูรูด้าน SEO และ Content Marketing

Neil PatelNeil Patel เป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์เจ้าของ Crazy Egg และ Kiss Metrics และยังเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์สาย Search Engine Optimization และ Content Marketing ได้รวบรวมสถิติต่างเกี่ยวกับบทความยาวมานำเสนอไว้อย่างน่าสนใจ

Neil Patel นำสถิติจาก serpIQ analyzed มาขยายความต่อว่าจากกรณีศึกษา 10 อันดับบทความติด Search engine จาก 20,000 คำค้นหาที่นำมาทำกรณีศึกษาพบว่า บทความอันดับ 1 มีจำนวนคำโดยเฉลี่ย 2416 คำ และบทความติดอันดับ 10 มีจำนวนคำโดยเฉลี่ย 2032 คำ

มองโดยผิวเผินคนทั่วไปจะตีความว่า Google ชอบ ‘บทความยาว’

ข้อเท็จจริงคือ Google ไม่ได้มีความรู้สึกว่า ‘ชอบ หรือ ไม่ชอบ’ การแสดงผลของ Google เป็นเพียงผลลัพธ์สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภค กล่าวคือ มนุษย์เราเองนี่แหละที่ชอบ บทความยาว

บทความยาว มีเนื้อหาละเอียด ทำให้ผู้คนที่ต้องการเนื้อหาเชิงลึกและอ่านจบรู้สึกว่ามีประโยชน์และยินดีที่จะนำไปอ้างอิงต่อ ได้แก่การให้ Backlinks ลงในเว็บไซต์ เว็บบอร์ด และโซเชียลเน็ตเวิร์ค ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการจัดอันดับการค้นหาของ Google นั้นนอกจากอาศัย Keywords แล้วยังจำเป็นต้องมี Backlinks ธรรมชาติด้วย – การเขียนบทความคุณภาพสูงจึงเป็น ความ(ไม่)ลับ ที่ทำให้บทความของคุณได้ Backlinks ธรรมชาติที่ไม่ได้เกิดจากการตั้งใจสร้าง Backlinks ด้วยตัวเอง

4 วิธีวางแผนผลิตบทความ Valuable และ Long-Form Content ให้มีความต่อเนื่อง

ผมขอทำความเข้าใจก่อนว่า ‘บทความยาว’ จริง ๆ คือความตั้งใจเขียนบทความดี ๆ ที่มีเนื้อหาเชิงลึกและเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านนำไปใช้งานจริง มันจึงออกมายาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น! การเขียนบทความยาวจึงไม่ใช่การเขียนไปเรื่อยเปื่อยเพื่อให้ครบจำนวน 2,000 คำ

การสร้างบทความยาว ถือเป็นการสร้าง ‘สินทรัพย์’ บนโลกออนไลน์ บทความจะติด Search engine บทความจะได้รับการบอกต่อ แชร์ต่อ และดึงดูดผู้คนเข้ามายังเว็บไซต์ของท่านในระยะยาว ฉะนั้นการสร้างบทความยาวเป็นงานที่ใช้เวลา จงกำหนดเป้าหมายในการสร้างบทความของท่านให้ชัดเจนตั้งแต่แรก อย่าเขียนบทความไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเป้าหมาย

เป้าหมายหลัก ๆ ในการสร้างบทความ ได้แก่ เพื่อดึงดูดคนเข้าเว็บไซต์ เพื่อสร้างแบรนด์ เพื่อส่งคนไปยังสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดยอดขาย เป็นต้นครับ – ต่อไปนี้คือ 4 วิธีวางแผนผลิตบทความ Valuable และ Long-Form Content

1. กำหนด Theme ของเนื้อหา

Theme เนื้อหาจะเป็นตัวกำหนดและดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Target audience) ของเว็บไซต์ตลอดช่วงเวลานั้น ๆ ส่งผลโดยตรงต่อการส่งพวกเขาไปยังสินค้าและบริการที่คุณขายหรือกำลังจะนำออกมาขาย หากท่านไม่สร้าง Theme ที่ชัดเจน มีเนื้อหาที่กระโดดไปกระโดดมาข้ามอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะทำให้ Theme โดยรวมของเว็บไซต์ไร้ทิศทางที่ชัดเจน และไม่มีกลุ่มเป้าหมายที่ผันไปเป็นแฟนคลับมีพลังมากพอที่จะสนับสนุนธุรกิจของท่าน

ดังนั้นจงกำหนด Theme ของเนื้อหาว่าท่านจะเล่าเรื่องอะไร เรื่องสุขภาพ เจาะมุมไหนของสุขภาพเป็นหลัก และมุมไหนเป็นรอง หากเล่าเรื่องการบริหารการเงิน จะยกแนวทางใดเป็นหลัก การออม การลงทุน หรือการบริหารหนี้ เป็นต้น กล่าวคือ มีคีย์หลักหนึ่ง และคีย์รองอีกสองสามอย่าง และอยู่ใน Theme นั้นไปสัก 3-6 เดือนก่อนจะผันไปชู Theme อื่น เป็นต้น

2. วางหัวข้อให้จบ

เมื่อกำหนด Theme เนื้อหาในภาพใหญ่ได้แล้ว ต่อไปต้องวางหัวข้อเนื้อหาและจะเป็นการดีหากวางหัวข้อให้มากที่สุดหรือวางจนจบฤดูกาลนั้น ๆ เลยก็ได้ การวางหัวข้อเป็นการวางแผนบทความทั้งฤดูกาล เมื่อวางแผนจบคุณจะมีเข็มทิศที่ทรงพลังในการเดินตามแผนโดยไม่เสียสมาธิอันเกิดจากการคิดเนื้อหาไม่ออก อีกทั้งการวางหัวข้อจะช่วยให้ท่านสามารถกำหนด คีย์เวิร์ดเพื่อ SEO และกำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับการทำ Facebook ads รวมไปถึงการวางแผนทำ Inbound links เพื่อเชื่อมโยงบทความแต่ละอันในเว็บไซต์ให้โยงใยเป็นเส้นใยแมงมุมเพื่อรักษาคนให้อยู่ในเว็บไซต์ให้นานที่สุด

3. สร้างปฏิทินเขียนบทความ

การเขียนบทความยาวเป็นงานที่ใช้เวลาและสมาธิมาก หากท่านไม่ปักหลักทำวันนี้ ต่อให้ถึงพรุ่งนี้ มะรืนนี้ และวันต่อ ๆ ไปก็จะไม่ได้ทำ วิธีสร้างวินัยในการเขียนบทความคือการสร้างกำหนดการณ์เขียนบทความ ทำการล็อกเวลาอย่างน้อย 3-5 ชั่วโมงของวันนั้น ๆ แล้วลงมือเขียนบทความให้จบอย่างน้อย 1 บทความตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในข้อ 2

จงจำไว้เสมอว่าการสร้างบทความดี ๆ ให้เว็บไซต์เป็นงานประณีตและใช้เวลา ในช่วงแรกมันจะยังไม่เห็นผลอะไร แต่ในระยะยาวเมื่อสะสมเป็น 30-40 บทความขึ้นไปเรื่อย ๆ มันจะกลายเป็น สินทรัพย์ ที่ทำให้เว็บไซต์ของท่านมีคุณค่าและมูลค่ามากในอนาคต

4. วางกำหนดการโพสต์บนโซเชียลเน็ตเวิร์ค

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจไม่ได้เชี่ยวชาญการทำ SEO เท่ากับนักทำ SEO โดยอาชีพ ฉะนั้นวิธีประชาสัมพันธ์บทความที่ดีที่สุด ณ เวลานี้คือผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค อันได้แก่ เฟซบุ๊คเพจ (Facebook Page) เป็นหลัก ในช่วงแรกที่เริ่มเขียน ขอให้ใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งเขียนไปโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊คไป เมื่อท่านเขียนบทความเก็บไว้เป็นจำนวน 20 บทความขึ้นไปแล้ว จึงค่อยนำลิงค์บทความไปตั้งเวลาโพสต์บนเฟซบุ๊ค (Schedule Post)

การทำเช่นนี้ช่วยให้ท่านมีเวลาโฟกัสทีละอย่าง โฟกัสที่การสร้างบทความในเว็บไซต์ให้จบชุดใหญ่ก่อน จากนั้นพอนำบทความทั้งหมด 20-30 บทความไปตั้งเวลาโพสต์บนเฟซบุ๊ค ท่านจะมีบทความที่จะทยอยเผยแพร่อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 2 เดือน (สมมุติโพสต์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง) ท่านก็จะมีเวลาไปทำงานในด้านอื่น ๆ อย่างเต็มที่ครับ

ผลลัพธ์เชิงสถิติที่ผู้ประกอบการได้รับจากการทำ Content Marketing

  • Customer 68% ชอบอ่านบทความที่ไม่ใช่การขายของ จากแบรนด์ที่ตนเองติดตาม
  • Content marketing ประหยัดงบการตลาด 62% เทียบกับการตลาดแบบดั้งเดิม
  • Chief Content Officers 78% เห็นตรงกันว่า Content marketing คือเจ้าแห่งการตลาดในอนาคต

Infographic โดย Demand Metric

1605-02



และหากคุณชอบใน Content ที่ทาง CEO Blog ได้นำเสนอ ในเร็ว ๆ นี้ ทาง CEO Blog ของเรานั้น กำลังจะมีโปรเจค CEO Premium Content ซึ่งเป็น Content ด้านการค้าปลีกออนไลน์ แบบพรีเมี่ยม ที่หาอ่านไม่ได้บน Blog ปกติของ CEO Blog โดยจะเปิดรับสมัครสมาชิกพรีเมี่ยมในเร็ว ๆ นี้

หากคุณไม่อยากพลาด Content ระดับ Premium สามารถลงทะเบียนเพื่อรับแจ้งข่าวสารได้ที่นี่ก่อนใครเลยครับ รับรองได้เลยว่ามันเป็น Content ระดับพรีเมี่ยมในราคาที่คุ้มสุด ๆ อย่างแน่นอน >>> ลงทะเบียนรับข่าวสารที่นี่ก่อนใครceo premium content