Amazon ลุย ค้าส่งออนไลน์จริงจัง! โดยก่อนหน้านี้ Amazon เป็นยักษ์ค้าปลีกออนไลน์ หลังจากธุรกิจค้าปลีกโมเดิร์นเทรดครองตลาดอยู่เป็นเวลาหลายทศวรรษจนทำเอาพ่อค้าคนกลางรายย่อย หรือ ยี่ปั๊ว และ ซาปั๊ว ต้องตกที่นั่งลำบากเพราะ ผู้ผลิตอยากส่งตรงแก่โมเดิร์นเทรดมากกว่าเนื่องจากได้ยอดสั่งต่อคำสั่งซื้อจำนวนมาก
กระทั่งต่อมาเมื่อ ค้าปลีกออนไลน์ ต่าง ๆ เริ่มนิยมมากขึ้น ค้าปลีกโมเดิร์นเทรดก็ถูกชิงส่วนแบ่งและเริ่มมีผลประกอบการถดถอย หนึ่งในแม่ทัพสำคัญที่สร้างผลกระทบระดับโลกคือ Amazon
ในปี 2005 Amazon เข้าซื้อธุรกิจชื่อ SmallParts.com อย่างเงียบ ๆ และเปลี่ยนชื่อเป็น Amazon Supply ในปี 2012 ก่อนจะเปลี่ยนอีกครั้งเป็น Amazon Business ในปี 2015 พร้อมพัฒนาเพื่อให้เป็นเว็บไซค์ ค้าส่งออนไลน์ รายใหญ่ของสหรัฐฯ มุ่งขายกลุ่ม B2B โดยปัจจุบันมีลูกค้าองค์กรที่ลงทะเบียนเป็น ‘ผู้ซื้อ’ ในระบบมากกว่า 300,000 และมียอดขายทะลุ 1 พันล้านเหรียญต่อปีจากการรายงานของสำนักข่าว รอยเตอร์
ผลกระทบต่อผู้ค้าส่งแบบ B2B
ผู้บริหารบริษัท W.W. Grainger และ Fastenal ผู้ขายอะไหล่และชิ้นส่วนเกี่ยวกับงานก่อสร้างและงานวิศวกรรมยอมรับกับสำนักข่าว CNBC ว่าธุรกิจมีผลกำไรดีมานานหลายทศวรรษ จนกระทั่งระบบ Amazon Business เข้ามาและมีการชวนให้ผู้ผลิตต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการ ขายตรงแก่ผู้บริโภคในราคาถูกมาก ทำให้ยอดขายของผู้ค้าส่งที่เป็นคนกลางเริ่มถดถอยลง แต่ยังไม่ถึงกับวิกฤต
อย่างไรก็ดีระบบ Amazon Business จะมีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจจากบริษัทขนาดเล็กที่มีจำนวนสั่งไม่มากนัก และมีความยืดหยุ่นในกระบวนการจัดซื้อสูง แต่สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ๆ ที่ต้องการทั้ง ผลิตภัณฑ์ ความเชี่ยวชาญ และความสัมพันธ์กับผู้ค้าส่ง กรณีนี้ระบบ Amazon Business ก็จะยังไม่ตอบโจทย์
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจคนกลางต่าง ๆ ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ เพราะเมื่อได้ก็ตามที่ Amazon สามารถสร้างเครื่องมือที่ตอบโจทย์ทุกไซส์ธุรกิจได้เมื่อไร วันนั้นก็อาจถึงจุดจบของ อาชีพพ่อค้าคนกลาง
กล่าวโดยสรุป ธุรกิจใดไม่มี สินค้าเป็นของตัวเอง, ไม่มีลิขสิทธิ์, แพลทฟอร์ม, หรือ บริการที่ Specialize จริง ๆ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จะอยู่ยากขึ้นในวันที่ แพลทฟอร์มเหล่านี้สามารถเชื่อมโยง เจ้าของสินค้าและเจ้าของเงินได้โดยตรงด้วยราคาที่ถูก และไม่มีข้อจำกัดเรื่องยอดสั่งขั้นต่ำ