26 กรกฏาคม 2018 Airbus รายงานผลประกอบการไตรมาสสองสูงกว่าคาดการณ์ และยืนยันมั่นใจเป้ารายได้ทั้งปีน่าจะเป็นไปตามคาด เนื่องจากแก้ปัญหาปัญคอขวดการส่งมอบเครื่องบิน และความสามารถในการลดต้นทุนเครื่องบินรุ่นใหม่ ๆ อาทิ A350
ส่งผลให้ราคาหุ้น Airbus เพิ่มขึ้นกว่า 5% หลังจากที่ทรง ๆ มานาน ตลอดช่วงเวลาอยู่ระหว่างที่ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างธุรกิจโดยมีการปรับปรุงสายการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ตอบสนองความต้องการการเดินทางทางอากาศที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด 50 ปีที่ Airbus ก่อตั้งขึ้น
ในขณะที่การเปิดตัว A350 ได้รับความราบรื่นมากขึ้น และได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในด้านการบริหารต้นทุน และตั้งเป้าให้สามารถผลิตได้ 10 ลำต่อเดือนภายในปลายปี 2018 ในขณะที่เครื่องบินรุ่นเล็กกว่าอย่าง A350neo ยังคงสร้างปัญหาให้สายการผลิต
A350neo เป็นเครื่องบินเจ็ตขนาดกลางที่สร้างรายได้และทำกำไรให้บริษัทฯ เป็นอย่างดี โดยมีเป้าการส่งมอบ 800 ลำในปี 2018 และกำลังเผชิญความท้าทายในการทำงานเนื่องจากรอส่วนประกอบ Supplier ที่รับผิดชอบขิ้นส่วนบางรายผลิตและส่งมอบส่วนประกอบเครื่องบินไม่ทัน แม้ปัญหานี้เริ่มคลี่คลายและกำลังการผลิตของ Supplier ด้านชิ้นส่วนกำลังกลับมาสู่สภาวะปกติ แต่ Tom Enders, CEO ของ Airbus ก็ยืนยันว่า การส่งมอบเครื่องบิน 800 ลำไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ชิ้นส่วนประกอบจะมีครบ แต่การขนย้ายเครื่องบินจำนวนมากก็เป็นความท้าทายอันใหญ่หลวง
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2018 — Airbus ส่งมอบเครื่องบินไปแล้ว 303 ลำ กำไรจากการดำเนินงานในไตรมาสที่สองปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าไปสู่ 1.15 พันล้านยูโร (1.35 พันล้านเหรียญ) เนื่องยอดขายที่เพิ่มขึ้นมา 8 เปอร์เซ็นต์ หรือยอดขายจำนวน 14.85 พันล้านยูโร จากเดิมที่นักวิเคราะห์ของ Reuters คาดการณ์ว่ากำไรจากการดำเนินงานน่าจะอยู่ที่ 1.01 พันล้านยูโร เมื่อเทียบกับรายได้ 14.55 พันล้าน
ผลการดำเนินงานของ Airbus เกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากคู่แข่งของสหรัฐที่ Boeing รายงานกำไรและรายได้ที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่เปิดเผยถึงต้นทุนที่สูงขึ้นของโครงการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง KC-46 ที่ชะลอตัวจำนวน 426 ล้านเหรียญส่งผลให้โบอิ้งลดลง
Tom Enders, CEO ของ Airbus ยังกล่าวอีกว่า Airbus จะยังไม่ตัดสินใจว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น A350 เพื่อท้าชนกับคู่แข่งอย่าง Boeing ที่ประกาศเพิ่มแผนการผลิตเครื่องบินรุ่น 787 Dreamliner ที่เดือนละ 14 ลำ
ทั้งนี้ Tom Enders คาดการณ์ว่าสำหรับตลาดเครื่องบินขนาดเล็กที่มีโรงงานผลิตนอกยุโรป ได้แก่ที่จีนและสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะเห็นการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 50% ในปี 2019