ผู้ผ่านประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการรักษาอาการเจ็บป่วยทางสมอง อาทิ การกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง, เนื้องอกในสมอง, โรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน, โรคปลอกประสาทเสื่อม เป็นต้น ฯลฯ แม้จะผ่านการรักษามาได้ แต่มักมีผลกระทบข้างเคียงที่ชีวิตอาจไม่สมบูรณ์เหมือนเดิมตามมา หนึ่งในนั้น คือ โรค PBA
โรค PBA ย่อมาจาก Pseudobulbar affect; โรค PBA คือ อาการ หัวเราะ หรือ ร้องไห้ ที่ไม่สัมพันธ์กับอารมณ์จริงในขณะนั้น เกิดโดยฉับพลัน และความคุมไม่ได้ โดยในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 1 ล้านคน
โรค PBA วินิจฉัยด้วยตนเองค่อนข้างยากเพราะมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น โรคเศร้าซึม หรือ โรคไบโพลา หากคุณสงสัยว่าคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงเป็นโรค PBA ท่านสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นดังต่อไปนี้
6 สัญญาณเสี่ยงเป็นโรค PBA
1. อาการ หัวเราะ หรือ ร้องไห้ ต่อเนื่องยาวนานผิดปกติ
ผู้ป่วย PBA สามารถตอบสนองต่อเรื่องตลกและเรื่องเศร้าได้ตามปกติ แต่จะแสดงอาการที่รุนแรงและต่อเนื่องยาวนานกว่า แม้ผู้อื่นจะหยุดหัวเราะหรือร้องไห้ไปแล้ว แต่ผู้ป่วยจะยังแสดงอาการต่อไปอีกหลายนาที
2. แสดงอาการโดยไม่ได้อยู่ในอารมณ์ที่สมควรจะแสดง
เป็นข้อสังเกตที่เด่นชัดอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วย PBA ได้แก่ การ หัวเราะ หรือ ร้องไห้ ขึ้นโดยฉับพลันโดยไม่มีเหตุให้รู้สึกเช่นนั้น
3. แสดงอาการโดยสวยทางกับอารมณ์ที่ควรจะแสดง
เป็นอีกข้อสังเกตที่เด่นชัดเช่นกัน อาทิ หัวเราะให้กับเรื่องเศร้า และร้องไห้ให้กับเรื่องตลก ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม แต่ก็ควบคุมไม่ได้
4. อาการเกิดขึ้นอย่างไม่สามารถคาดการณ์ได้
กล่าวคือผู้ป่วยอาจอยู่ในสภาวะปกติแล้วจู่ ๆ ก็ หัวเราะ หรือ ร้องไห้ขึ้นมาอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ไม่เลือกเวลา สถานที่ และไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นเวลาได้
5. ยากที่จะยับยั้งอาการได้
เมื่อเกิดอาการแล้วยากจะหยุดยั้งได้ ต้องปล่อยให้แสดงอาการไปจนกว่าจะหายซึ่งเป็นเวลาหลายนาที
6. อาจมีการสลับอาการโดยฉับพลัน
บางครั้งอาจทั้ง หัวเราะและร้องไห้ สลับกันไปมาโดยควบคุมไม่ได้ เหล่านี้เพราะความผิดปกติภายในการทำงานของระบบประสาท
หากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดนี้ เขาอาจเสี่ยงเข้าข่ายเป็นโรค PBA หรือ Pseudobulbar affect โรค หัวเราะ/ร้องไห้ ไม่หยุด ให้อ่าน บทความ โรค PBA คืออะไร ที่นี่ เพื่อดูวิธี รักษา และ ดูแลผู้ป่วย PBA
อ่านเพิ่มเติม :
โจ๊กเกอร์ เป็นโรคอะไร : ทำความรู้จัก PBA โรคหัวเราะไม่หยุด
==========
Appendix : Healthline.com