5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Marketing ที่ต้องรีบจูนก่อนจะสายเกินแก้ไข

เหล่านี้คือ 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Marketing 

1. Digital Marketing ทำงานง่ายกว่า Traditional Marketing

สื่อจำนวนไม่น้อยประโคมแนวคิด Digital Marketing ง่ายกว่า Traditional Marketing ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะการตลาดก็คือการตลาด เพียงย้ายจากสื่อออฟไลน์มาสู่สื่อออนไลน์ แต่ความท้าทายในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การผลิตสื่อให้น่าสนใจ การสร้างแบรนด์ การสร้างเนื้อหา การออกแบบรูปภาพ คำพูด สีสัน Mood & Tone ของสื่อ ก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม

และด้วยความที่ต้นทุนการเข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ตนั้นต่ำมาก ทำตอนนี้ใครก็ได้ที่ไม่ใช่แค่องค์กร หรือเอเจนซี่ แต่รวมไปถึงรายย่อย และบุคคลทั่วไปก็สามารถเข้ามาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของตัวเองได้ทั้งสิ้น ทำให้ปริมาณของเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ตมีมหาศาลเกินที่ผู้กลุ่มเป้าหมายจะรับไหว นักการตลาดจึงต้องยิ่งทำงานหนักขึ้นเพื่อจะดึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายให้หยุดที่โฆษณาของตน

2. Digital Marketing ไม่มีต้นทุน

เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ถูกสื่อสารออกไปอย่างผิด ๆ – อินเตอร์เน็ตนั้นมีต้นทุนต่ำในการเข้าถึง และเริ่มต้นสร้างสื่อได้ง่าย และบางครั้งก็ฟรี เช่นการเปิด Facebook Page หรือการเปิดเว็บไซต์ด้วย Blogger.com ซึ่งฟรีก็จริง แต่การจะสร้างการรับรู้นั้นต้องอาศัยเครื่องมือ และเทคนิคการตลาดมากมายที่ล้วนมีค่าใช้จ่าย อาทิ

• การผลิต Digital Content
• การทำ Search Engine Marketing หรือ SEM
• การทำ Facebook Ads
• การทำระบบ Lead Generation และ Email Marketing
• การออกแบบ Logo และ Corporate Identity หรือ CI

เหล่านี้มีค่าใช้จ่าย และราคาของมันไม่น้อยกว่าหลักแสนต่อเดือนหากคุณทำจริงจังและครบวงจร

3. Digital Marketing ให้ผลลัพธ์ทันที

คนจำนวนไม่น้อยผิดหวังกับ Digital Marketing เพราะเข้าใจว่าจะได้ผลลัพธ์ทันที หรือภายใน 1-2 สัปดาห์

Warren Buffett บอกว่า

“No matter how great the talent or efforts, some things just take time. You can’t produce a baby in one month by getting nine women pregnant.”

ธุรกิจเป็นเรื่องของความอึด และการยืนระยะจนกว่าเวลา จังหวะ และโอกาสจะบรรจบกัน หรือที่ผมนิยมเรียกว่า Momentum การตลาดก็เช่นกัน

คนรู้จักคนหนึ่งทำอาชีพด้านการอบรม โดยที่ผ่านมาเธอใช้การตลาดแบบ Word of Mouth หรือ ปากต่อปาก ศัพท์อย่างเป็นทางการเรียกว่า Reference Marketing และได้ผลตอบรับที่ดี แต่เมื่อถึงครั้งแรกในชีวิตที่เธอลองหันมาทำ Digital Marketing เปิด Facebook Page เพียงเดือนเดียว ก็โพสต์ขายคอร์สสัมมนา และยิงโฆษณาทันที

สัมมนาครั้งนั้นเป็นสัมมนาฟรี แต่ปรากฏว่าไม่มีใครมาลงทะเบียนเรียนเลย เพราะอะไร เพราะ Momentum ยังไม่ได้ ไม่เคยทำ Digital Marketing มาก่อน ไม่ได้บิวต์กระแส คนยังไม่เกิดการรับรู้ ยังไม่ไว้ใจ —

นี่คือการที่คิดว่ามันง่าย ยิง Ads ก็จะได้ผล คิดผิดครับ Digital Marketing ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ใด ๆ เหนือ Traditional Marketing ที่จะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ภายในวันสองวัน หรือแม้แต่หนึ่งเดือน คุณต้องมีแผน ส่วนวแผนการที่เหมาะสมผมจะมีบอกในบทต่อ ๆ ไป

4. Digital Marketing เป็น Passive

คำว่า Passive หรือ Passive Income เป็นคำที่มีเสน่ห์ชวนหลงใหล ชวนคนเข้าใจผิดมานักต่อนัก คนจำนวนไม่น้อยรวมทั้งผมเคยคิดว่าธุรกิจและการตลาดออนไลน์คือ 100% Automate แค่ Setting ระบบแล้วก็ปล่อยวางมันก็จะทำงานทำเงินให้คุณโดยที่คุณไม่ต้องทำอะไร — ผิดครับ ถ้าคุณ Set ระบบดีมากจริง ๆ และมีกำลังจ้างคนเก่ง ๆ มาบริหารกิจการแทนคุณ คุณอาจจะมีความเป็น Passive ในระดับสูง แต่ก็ไม่อาจปล่อยปะละเลยที่จะเข้ามาดูแลได้

แต่หากคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่ยังดูแลหลาย ๆ ส่วนด้วยตัวเอง การตลาดออนไลน์จะเป็นอะไรที่ Active สุด ๆ เพราะคุณต้องวัดผลแบบวันต่อวัน

5. Digital Marketing ใช้ได้กับธุรกิจ B2C

คุณอาจจะเห็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ คนขายครีม คนขายอาหารเสริม ทำออนไลน์กันเยอะจนดูเหมือนจะเป็นการตลาดสำหรับ B2C แต่จริง ๆ แล้วธุรกิจ SME ธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจ B2B หรือ Business to Business ก็ใช้การตลาดออนไลน์ได้เช่นกัน

สำหรับ B2C ที่ทำแบบครบวงจร มันคือระบบ E-Commerce เต็มรูปแบบที่มีหน้าเว็บ มี Shopping Cart และระบบการชำระเงินออนไลน์ แต่สำหรับ B2B ที่สินค้าและบริการมีราคาสูง มีความซับซ้อนมากกว่าก็สามารถใช้การตลาดออนไลน์เพื่อ Educate กลุ่มเป้าหมาย และทำ Lead Generation เพื่อนำไปสู่กระบวนการทำนัดเข้าไปพบลูกค้า ซึ่งจะทำให้ฝ่ายขายคุยง่ายขึ้นกว่าการทำนัดแบบ Cold Call ในอดีต ซึ่งผมก็จะมีพูดเรื่อง Lead Generation ในบทถัด ๆ ไป

และนี่คือ 5 ความเข้าใจผิดหลัก ๆ เกี่ยวกับ Digital Marketing

อินเตอร์เน็ตช่วยให้คุณเริ่มต้นทำการตลาดได้ง่ายขึ้น แต่การจะประสบความสำเร็จนั้นยังคงต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และการวางแผนที่ดี ไม่ต่างจากการทำธุรกิจและการตลาดแบบ Traditional Marketing ถ้าคุณไม่ชะล่าใจ เข้าใจ และยอมรับข้อเท็จจริงเหล่านี้ คุณก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่เข้าใจผิดครับ

จูนความเข้าใจ Marketing คืออะไร?

Marketing หรือ การตลาด คือการค้นหาความต้องการของลูกค้า และตอบสนองความต้องการเพื่อสร้างความพึงพอใจ ตรงกันข้ามกับ Selling หรือ การขาย

อดีตอาจารย์ด้านการตลาดของมหาวิทยาลัย Harvard นามว่า Theodore Levitt ได้กล่าวว่า Selling หรือการขาย เป็นการอาศัย วิธีการ หรือ กุศโลบาย ในการเจรจาและนำเสนอ เพื่อทำให้คนนำเงินออกมาแลกกับสินค้าและบริการของคุณ โดยไม่ได้สนใจเรื่องคุณค่าในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ นั่นจึงเป็นที่มาว่า นักขายที่เก่ง จะขายอะไรก็ขายได้ โดยไม่ได้สัมพันธ์กับคุณภาพหรือราคาเสมอไป

แต่นั่นไม่ได้แปลว่า คุณจะทำสินค้าไม่ดีออกมาขาย เพราะในฝั่งของ Marketing ทำหน้าที่ค้นหาความต้องการของลูกค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการ ตอบโจทย์ ตอบสนอง Need สร้างคุณค่า และสร้างการรับรู้ กระบวนการเหล่านี้จะสนับสนุนให้กระบวนการขาย ง่ายขึ้น และเกิดคุณค่าต่อตลาดในระยะยาว ได้แก่ Brand, Brand Loyalty, Repeating Customer ฯ

แล้ว Digital Marketing ล่ะ?

การตลาดแบบดั้งเดิม หรือ Traditional Marketing สร้างการรับรู้ผ่านสื่อ ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร ป้ายตามทาง ป้ายบนตึก อีเวนต์ ฯลฯ —

ภายหลัง เมื่ออินเตอร์เน็ตแพร่หลายมากขึ้นจึงพัฒนามาเป็น Digital Marketing หรือหลายคนอาจเรียกว่า Online Marketing หรือ Internet Marketing ก็ได้

เป้าหมายยังคงเหมือนเดิมคือสื่อสารและสร้างการรับรู้ แต่เปลี่ยนจากสื่อ Offline มาเป็น Online ได้แก่

  • ป้ายแบนเนอร์ในเว็บไซต์ต่าง ๆ
  • Search Engine Marketing
  • Search Engine Optimization
  • Email Marketing
  • Social Media Marketing
  • Digital Content Marketing เช่น การจ้างลงบทความในเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง, การจ้าง Blogger และ Influencer ในการเขียนบทความ – เหล่านี้คือตัวอย่างของการทำ Digital Marketing ทั้งสิ้น

นอกจากนั้น มุมมองในการหาวิธีตอบสนองลูกค้าก็เปลี่ยนไป จากหลักการตลาดดั้งเดิมที่เราคุ้นเคยคือ 4P ได้แก่ Products, Price, Promotion, และ Place โดย Jerome McCarthy ที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี 1960 ก็มีแนวโน้มไปเป็น 4C โดย Robert Lauterborn ในปี 1990 ได้แก่

Customer Need

จากเดิมที่คิดว่าขายอะไรดี ขายอะไรรวย ไปสู่การค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า โดยอินเตอร์เน็ตช่วยให้แบรนด์สื่อสารและค้นหาความต้องการได้สะดวกขึ้น และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนอง Need เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยังไม่ได้รับการเติมเต็มได้จริง ๆ

Cost to Customer

ธุรกิจใหม่ใส่ใจต้นทุนที่ลูกค้าต้องแบกรับมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยลดต้นทุนสินค้าและบริการบางประเภท ทำให้ผลิตภัณฑ์บางชนิดคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลง

Communication

การสื่อสารการตลาดเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง เร็ว และประหยัด อาทิ Social media อย่าง Facebook และ Line@ และ Email marketing เป็นต้น

Convenience

ความสะดวกสบาย โดยสินค้าและบริการในปัจจุบัน และในหลาย ๆ อุตสาหกรรม สามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเดินทางมาซื้อหรือรับสินค้าเอง ทำให้ Places มีความจำเป็นน้อยลง

4C ทำการพลิกมุมมองจากเดิมที่เอาธุรกิจเป็นตัวตั้ง ก็กลายมาเป็นเอาลูกค้าเป็นตัวตั้ง หาจุดเล็กจุดน้อยที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง และสร้างสินค้าและบริการขึ้นมาเติมเต็ม การทำเช่นนี้ช่วยให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่แตกแขนงจากธุรกิจเดิม ซึ่งค่อนข้างเข้ากับเทคโนโลยีปัจจุบัน

สินค้าและบริการใหม่ ๆ ในปัจจุบันออกมาในรูปแบบของ Software, Application และ Digital Services ที่บ้างก็มีต้นทุนต่ำลง บ้างก็ไม่ต้องมีหน้าร้าน บ้างก็ไม่ต้องมี Physical products เป็นของตัวเอง แต่สามารถขยายกิจการไปได้ทั่วประเทศ หรือแม้แต่ทั่วโลก เป็นต้น


และหากคุณชอบใน Content ที่ทาง CEO Blog ได้นำเสนอ ในเร็ว ๆ นี้ ทาง CEO Blog ของเรานั้น กำลังจะมีโปรเจค CEO Premium Content ซึ่งเป็น Content ด้านการค้าปลีกออนไลน์ แบบพรีเมี่ยม ที่หาอ่านไม่ได้บน Blog ปกติของ CEO Blog โดยจะเปิดรับสมัครสมาชิกพรีเมี่ยมในเร็ว ๆ นี้

หากคุณไม่อยากพลาด Content ระดับ Premium สามารถลงทะเบียนเพื่อรับแจ้งข่าวสารได้ที่นี่ก่อนใครเลยครับ รับรองได้เลยว่ามันเป็น Content ระดับพรีเมี่ยมในราคาที่คุ้มสุด ๆ อย่างแน่นอน >>> ลงทะเบียนรับข่าวสารที่นี่ก่อนใครceo premium content