3 กรณีศึกษาคนสำเร็จจากศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ และลงทุน True Incube

ทำอย่างไร? ‘มีไอเดียใหญ่ แต่ไร้เงินทุน

นี่คือปัญหาอันดับต้น ๆ ของ คนมีฝันที่จะสร้างธุรกิจทั่วโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน; โดยในสมัยก่อนใครก็ตามที่มีไอเดียธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ก็แทบจะหมดโอกาสในการเริ่มต้นธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เพราะแหล่งเงินทุนหลัก ๆ ในสมัยก่อน คือ สถาบันการเงิน ปล่อยเงินกู้ให้นักธุรกิจนำไปใช้ขยายธุรกิจ โดยเงื่อนไขหลัก ๆ อาทิ ผู้กู้ต้องมีหลักทรัพย์, มีธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว ฯลฯ ซึ่งโดยมากจะเป็นกลุ่มธุรกิจ SME ขึ้นไป ในขณะที่ปัจจุบัน มีอีกกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีอิทธิพลในการขับเคลื่อนโลกนี้ระดับที่เรียกว่า Disruption หรือ ธุรกิจที่สร้างความเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ ธุรกิจกลุ่มนี้เรียกว่า Startup

จุดเริ่มต้นของ Startup มักมีที่มาคล้ายกัน อาทิ มีคนกลุ่มหนึ่งมองเห็นปัญหาบางอย่างในตลาด เกิดไอเดียสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ไขปัญหานั้น แต่ไอเดียนั้นใหม่มากและอาจมีความเสี่ยงสูง อาทิ

  • Paypal ระบบชำระเงินออนไลน์ Disrupt พฤติกรรมการรับและโอนเงินของมนุษย์
  • Facebook โซเชียลมีเดีย Disrupt การสื่อสาร ทำให้การสื่อสารถึงกันทั่วโลกกลายเป็นของฟรีและเร็ว
  • Uber แอพพลิเคชั่นเรียกรถบริการ Disrupt อุตสาหกรรม แท็กซี่ ทั่วโลก
  • Airbnb แอพพลิเคชั่นที่พักที่ เจ้าของบ้านและผู้เช่าสื่อสารตรงกันเอง Disrupt อุตสาหกรรม โรงแรม ทั่วโลก

ฯลฯ อีกมากมาย เหล่านี้เป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา และเป็นสิ่งที่ สถาบันการเงินแบบดั้งเดิมอาจไม่เข้าใจ และจึงเป็นที่มาของกลุ่มทุนใหม่ที่เรียกว่า Angel Investor, Venture Capital Firm, Accelerators, และ Incubators

Angel Investor คือ นักลงทุนบุคคลที่ชอบในไอเดียและทีมผู้ก่อตั้ง Startup นั้น ๆ จึงให้เงินลงทุนจำนวนหนึ่งเพื่อไปสร้างธุรกิจ ในขณะที่ Venture Capital Firm หรือ VC คือ องค์กรบริหารการลงทุนใน Startup — VC มีทุนจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะลงทุนใน Startup ที่แข็งแกร่งในระดับหนึ่ง ในขณะที่ Accelerators, และ Incubators คือ หน่วยงานที่มุ่ง สนับสนุน Startup ที่อยู่ในระยะเริ่มต้น

Accelerators มุ่งสนับสนุนนักธุรกิจ Startup ที่เริ่มต้นธุรกิจมาในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่โตพอที่จะไปหา VC Firm ในขณะที่ Incubators สนับสนุนนักธุรกิจ Startup ตั้งแต่ระดับ ‘ไอเดีย’ เพื่อให้ ไอเดียนั้นสามารถก่อรูปก่อร่างเป็นกิจการ และดูแลไปจนถึงจุดที่ประสบความสำเร็จ

Incubators ที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ ได้แก่ Idealab และในไทย ได้แก่ True Incube (ทรู อินคิวบ์)

3 กรณีศึกษาคนสำเร็จ True Incube (ทรู อินคิวบ์)

Cloudero

รูปภาพจาก : adslthailand.com

 

เกิดจากทีมผู้ก่อตั้งวัยรุ่นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พบว่า คนรุ่นใหม่วัยนักศึกษา มีความหลงใหลในการสร้างสรรค์ Content ผ่านโซเชียลมีเดีย อาทิ Instagram, Facebook, และ Twitter อย่างสม่ำเสมอจนเกิดการยอดผู้ติดตามจำนวนมาก จึงเกิดไอเดียว่าถ้าสามารถช่วยให้ Content creator เหล่านี้สามารถมีรายได้จากสิ่งที่รักก็คงดี

Cloudero นำเสนอไอเดียแพลตฟอร์มการตลาดผ่าน Micro Influencer โดยจะเชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม Content creator และ เจ้าของแบรนด์ (SME) เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นทางเลือกให้นักธุรกิจ SME ที่มีงบจำกัดสามารถเลือกประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการผ่าน Micro Influencer ซึ่งแม้จะถูกกว่าการจ้าง Celebrity แต่พลังความน่าเชื่อถือไม่ได้ด้อยกว่าแต่อย่างใด

ประสบการณ์ของ Cloudero ที่ True Incube นอกจากเงินรางวัลเป็นทุนหลักแสนแล้ว ยังได้รับการนำพาไปรู้จัก ผู้ให้คำแนะนำและพาร์ทเนอร์เก่ง ๆ เพื่อต่อยอดสู่การร่วมทีมขยายธุรกิจต่อไป โดยในอนาคตอันใกล้ Cloudero มีแผนที่จะเสนอทุนเพิ่ม และพัฒนาให้ แพลทฟอร์ม นี้เป็นระบบ Automation ที่ ๆ ทั้ง Micro Influencer และ เจ้าของแบรนด์ สามารถออเดอร์งานแบบอัตโตมัติผ่านระบบได้โดยตรง โดยต่างฝ่ายต่าง ชำระ และ รับ ค่าบริการตาม Engagement จริง

System Stone

รูปภาพจาก : systemstone.com


เกิดจากทีมผู้ก่อตั้งอดีตวิศวกร 4 คนที่เคยทำงานประจำในโรงงาน/บริษัท อุตสาหกรรม (ทำคนละที่กัน) พบปัญหาเรื่องความลื่นไหลในการทำงานของโปรแกรมซ่อมบำรุงกับเครื่องจักรในปัจจุบันยังไม่ดีพอ อาทิ โปรแกรมต้องทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ในขณะที่ตัวเครื่องจักรตั้งอยู่อีกจุดหนึ่งของโรงงาน รวมไปถึงโปรแกรมเหล่านี้มีราคาสูงหลายแสนบาทขึ้นไป

ทีมผู้ก่อตั้งจึงคิดค้น ‘แอพพลิเคชั่นซ่อมบำรุง’ ที่มีปรัชญาการทำงานหลัก คือ ทำงานผ่านสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว! และโครงการเสนอต่อ True Incube จนได้เงินลงทุนจำนวนหนึ่ง ส่งผลให้พวกเขาตัดสินใจลาออกจากงานมาพัฒนาแอพฯ นี้เต็มเวลาในนามบริษัท System Stone

ประสบการณ์ของ System Stone ที่ True Incube นอกจากเงินทุนที่ช่วยให้ก่อตั้งธุรกิจสำเร็จแล้ว ยังได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ การพาไปพบพันธมิตร และแนะนำลูกค้ารายใหญ่ โดยปัจจุบัน System Stone มีลูกค้า 100 โรงงาน มีวิศวกรที่ใช้ แอพพลิเคชั่น นี้กว่า 5000 คน รวมไปถึงโรงงานในเครือ CPF ก็ใช้ แอพพลิเคชั่น นี้เช่นกัน

ส่วนแนวทางขยายธุรกิจในอนาคต คือ การเพิ่ม Function และ Feature ใหม่ ๆ ที่ช่วย พยากรณ์เครื่องจักร และ บริหารสต็อกอะไหล่ เป็นต้น

QueQ

รูปภาพจาก : Krungsri.com


QueQ เป็นแอพพลิเคชั่นช่วยจองคิวร้านอาหารยอดนิยมที่มียอดผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 1.7 ล้าน บัญชี เปิดใช้บริการเมื่อ 4 ปีที่แล้วจากการเห็นปัญหาของการเสียเวลารอคิวตาม ร้านอาหาร และ ธนาคาร ของตัวผู้ร่วมก่อตั้งเอง — ผู้ร่วมก็ตั้งจึงพัฒนาแอพพลิเคชั่น QueQ ขึ้นมาและได้รับการตอบรับอย่างยอดเยี่ยมจากการที่เจาะโดน Pain point ของผู้คนทันที

ณ วันที่ QueQ มาพบ True Incube เป็นจุดที่ธุรกิจประสบความสำเร็จพอสมควร โดยเปิดให้บริการทั้งใน ไทย และ มาเลเซีย — การมาพบ True Incube ช่วยให้ QueQ ได้รับคำแนะนำในการขยายกิจการและเงินลงทุนช่วยเร่งขยายกิจการไปสู่ประเทศอื่น ๆ อาทิ ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน

แนวทางในอนาคตอันใกล้ของ QueQ ได้แก่ ขยายบริการไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ อาทิ โรงพยายาบาล และการสร้างระบบ Advertising network ภายในแอพพลิเคชั่น ที่แบรนด์สามารถซื้อโฆษณาอัตโนมัติผ่านแอพฯ ได้ด้วยตนเอง

True Incube (ทรู อินคิวบ์) คือ ใคร

True Incube คือ Startup Incubator หรือ ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ และลงทุน มีหนึ่งในสโลแกนสำคัญ: The Dot of TRUE Possibilities เปรียบกับการ เชื่อมต่อไอเดียที่ดีสู่ความเป็นไปได้อย่างแท้จริง

True Incube (ทรู อินคิวบ์) สนับสนุนสตาร์ทอัพทั้งในไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าธุรกิจของสตาร์ทอัพจะอยู่ใน Stage ไหน ก็มีโอกาสเข้าร่วมกับคอมมิวนิตี้ของ ทรู อินคิวบ์ และเติบโตไปด้วยกันได้ด้วยบริการแบบ One Stop Service ครบวงจร ได้แก่ :

  • Training หลักสูตรอบรมแบบเข้มข้น เวิร์คช้อป และโปรแกรมบ่มเพาะ ที่จะช่วยสร้างไอเดียและต่อยอดธุรกิจ
  • Mentorship และทีมที่ปรึกษา ที่พร้อมให้คำแนะนำในการทำธุรกิจอย่างใกล้ชิดและรอบด้าน
  • Startup Network & Alumni เครือข่ายสตาร์ทอัพในครอบครัว ทรู อินคิวบ์เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำธุรกิจจากสตาร์ทอัพรุ่นพี่ ช่วยต่อยอดธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน
  • Digital Platform & Market Test เชื่อมต่อกับ Infrastructure และ Digital Platform ของกลุ่มทรู อาทิCloud, ระบบ e-payment และ IoT พร้อมโอกาสทดลองนำสินค้าและบริการเข้าสู่ตลาด
  • Business Matching โอกาสต่อยอดธุรกิจกับองค์กรชั้นนำ และบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
  • Rewards & Funding เงินทุนสนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจผ่านโปรแกรมบ่มเพาะ และโอกาสได้รับการลงทุนจากกลุ่มทรูและพาร์ทเนอร์
  • True Incube Space @True Digital Park ที่นั่งทำงาน ประชุม สร้างเครือข่ายสตาร์ทอัพ ท่ามกลาง complete startup ecosystem พร้อมสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกครอบครัวทรู อินคิวบ์

4-I (โฟร์ไอ) พันธกิจ 4 ของ True Incube

สิ่งที่ ทรู อินคิวบ์ สนับสนุนนักธุรกิจสตาร์ทอัพมีมากมาย แต่สามารถรวบให้สั้นและจำง่ายภายใต้แนวคิด 4-I (โฟร์ไอ) หรือ พันธกิจ 4 ของ ทรู อินคิวบ์ ได้แก่ :

  • Inspire สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัยผ่านโครงการทรูแล็บ (True Lab) และส่งเสริมสนับสนุนให้สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ได้เริ่มต้นทำให้ความฝันเป็นจริง ผ่านการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นด้วยคำแนะนำของทีมที่ปรึกษา ตลอดจนความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อถ่ายเทองค์ความรู้และประสบการณ์ ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • Innovate ขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • Incubate บ่มเพาะสตาร์ทอัพที่มีไอเดียให้เกิดเป็น prototype พร้อมทั้งช่วยสตาร์ทอัพให้ขยายธุรกิจอย่างก้าวกระโดดด้วย Pre-incubation & ScaleUp program
  • Invest เปิดโอกาสให้เหล่าสตาร์ทอัพไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์โดย การลงทุนของกลุ่มทรูในด้านต่างๆ รวมถึงพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศที่มีเครือข่ายครอบคลุมมากกว่า 20 ประเทศใน 5 ทวีปหลักทั่วโลก

งานอีเวนต์ Startup Thailand คืออะไร?

งานอีเวนต์ Startup Thailand เป็นงานใหญ่ที่จัดขึ้นเพื่อ 4 สร้างพลวัตรให้วงการสตาร์ทอัพของประเทศไทย โดย True Incube ก็ร่วมงานนี้เช่นกัน

4 สร้างพลวัตรดังกล่าว ได้แก่

  • เป็นงาน Conference & Workshop โดยจัดให้มีการสัมมนา เสวนา และเวิร์คช็อปที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อให้เป็นความรู้แก่ผู้ร่วมงาน
  • เป็นงาน Networking & Business Matching กิจกรรมสร้างเครือข่ายและการต่อยอดทางธุรกิจ ผ่านการพบปะกันระหว่างนักลงทุนและคนทำสตาร์ทอัพ นำไปสู่การพูดคุย เจรจา ต่อรอง และร่วมงานในลำดับต่อไป
  • เป็นงาน Pitching & Hackathon จัดให้มีเวทีในการนำเสนอธุรกิจสตาร์ทอัพชิงเงินรางวัล และเป็นที่รู้จักอันนำสู่โอกาสในการได้พบเจอนายทุนใหญ่ต่อไป
  • เป็นศูนย์ Exhibition ธุรกิจสตาร์ทอัพ มีกิจกรรมแสดงนิทรรศการและผลงานผลิตภัณฑ์ หรือบริการของเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพ

งาน Startup Thailand ที่จัดครั้งล่าสุดในปี 2019

งาน Startup Thailand ปี 2019 มีชื่องานว่า Startup Nation จัดเมื่อวันที่ 23 – 27 กรกฏาคม 2562 โดยวันที่ 23 กรกฏาคม จัดที่ NIA สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, 24 กรกฏาคม จัดที่ KX Knowldege Exchange สถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่, Hangar Co-Working Space, DTAC Accelerate สถานีรถไฟฟ้า MRT สามย่าน — วันที่ 26 และ 27 จัดที่ True Digital Park สถานีรถไฟฟ้า BTS ปุณณวิถี

#TrueIncubeXST2019
#TrueIncube
#StartupThailand