โลกเกือบแตก! นักวิทยาศาสตร์พบ ‘อุกกาบาตมรณะ’ เพิ่งเฉียดโลกโดยไม่มีการแจ้งเตือน

วันที่ 25 กรกฏาคม 2019 อุกาบาตมรณะ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 130.15 เมตร วิ่งเฉียดโลกในระยะห่างเพียง 72,420 กิโลเมตร หรือ เทียบเท่าระยะทางประมาณ 20% ของโลกและดวงจันทร์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องว่า ‘ใกล้มากจนเฉียดวันสิ้นโลก’ (Armageddon)

Michael Brown ทีมนักดาราศาตร์จากออสเตรเลียให้สัมภาษณ์ต่อสื่อของ Business Insider ว่า อุกกาบาต ลูกนี้มีชื่อว่า 2019 OK เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 130.15 เมตร (427 ฟุต) เดินทางด้วยความเร็ว 86,904 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง และ เฉียดผ่านโลกไปโดยไม่มีใครรู้ตัว

จะเกิดอะไรขึ้นหาก อุกกาบาต 2019 OK ชนโลก

นักวิทยาศาสตร์ให้ชื่อเล่นกลุ่มอุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ‘หลักสิบเมตร’ ไปจนถึงหลัก ‘ร้อยเมตร’ ว่า City Killer หรือ ‘ตัวพังเมือง’

ก่อนอื่นขอย้อนไปยังเหตุการณ์ Tunguska event ที่ รัสเซีย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1908 — อุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 – 190 เมตร (มีการแตกกระจายหลังผ่านชั้นบรรยากาศโลกเสียก่อน) และเกิดระเบิดกลางอากาศ แรงระเบิดในตอนนั้นปล่อยพลังงานขนาด 30 เมกาตัน หรือ เทียบเท่าระเบิด ‘ปรมาณูในเหตุการณ์ที่ฮิโรชิม่า’ ประมาณ 3500 – 3800 ลูกรวมกัน และมีรายงานว่าแรงสะเทือนเดินทางไปไกลถึงประเทศอังกฤษ

ในกรณีที่อุกกาบาต 2019 OK ขนาด 130.15 เมตร ทั้งลูกปะทะพื้นดินสำเร็จจริง ๆ จะเกิดแรงระเบิดมหาศาลยิ่งกว่า อาจทำให้เมืองนั้น ๆ หายไปจากแผนที่โลก และผลพวงจากแรงระเบิดจะตามมาอีกมากมาย อาทิ ฝุ่นควัน ละอองพิษ คลื่นความร้อน อัฟเตอร์ช็อก ฯลฯ จะแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่องยาวนาน

from Outer Space GIFs via Gfycat

การป้องกันอุกกาบาตชนโลกของ NASA

เมื่อปี 2005 สภาคองเกรส มีคำสั่งให้ NASA รับผิดชอบการตรวจสอบ ‘Near-Earth Objects’ หรือ NEO ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 140 เมตรขึ้นไป ให้ได้อย่างน้อย 90% ของทั้งหมดภายในปี 2020 แต่ ณ ปี 2019 นี้ NASA ค้นพบไปเพียง 1 ใน 3 ของที่ทาง สภาฯ ต้องการ เนื่องจากเทคโนโลกกล้องตรวจจับในปัจจุบันยังทำได้เพียงต้องอาศัยจังหวะในการ ส่องกล้องไปพบอุกกาบาตที่สะท้อนกับแสงของดวงอาทิตย์พอดี จึงจะมองเห็น

ส่วนวิธีจัดการกับ อุกกาบาต มี 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ กรณี City Killer หรือ ตัวพังเมือง จะใช้วิธียิงจรวดเบี่ยงเส้นทางการเดินทางของมันให้พ้นโลก และ กรณี Earth Killer หรือ ตัวพังโลก ที่มีขนาดหลายกิโลเมตรขึ้นไป จะใช้วิธีส่งยานอวกาศไปตามประกบและจูงให้ออกจากเส้นทางที่จะมาชนกับโลก

ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เห็นว่า วิธีที่ 2 ทำได้ยาก เนื่องจากประการแรกต้องตรวจเจออุกกาบาตล่วงหน้าเป็นปี ๆ จึงจะสามารถเตรียมงานได้อย่างแม่นยำและทันกาล ซึ่งเทคโนโลยีการค้นหาอุกกาบาตในปัจจุบันยังไม่ก้าวหน้าพอตามที่กล่าวไป

—–

Source:
Business Insider
Army Technology
Wikipedia