Blo-Blow Dry Bar ธุรกิจร้านเสริมสวยแบบลีนๆ เสริมสวยเฉพาะทางและขยายตัวแบบแฟรนไชน์

CEOblog-1510001

ธุรกิจร้านทำผมเคยเป็นหนึ่งในธุรกิจและอาชีพในฝันอันดับต้นๆของคนไทย ทำให้ช่วงหนึ่งมีการแข่งขันสูง คนเปิดร้านทำผมเยอะ แต่คนสำเร็จมีน้อย การแข่งขันสูง ยอดรายได้ไม่ดึงดูดใจเมื่อเทียบกับความเหนื่อย อีกทั้ง Scale-up ยาก เพราะขยายสาขาก็ต้องลงทุนเพิ่ม ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น คนงานเพิ่มขึ้น การควบคุมฝีมือและคุณภาพก็ไม่ได้อยู่ในสายตาเจ้าของ ฯลฯ ความจุกจิกเหล่านี้ทำให้ธุรกิจลดเสน่ห์ลงไปในปัจจุบัน

แต่ก็ใช่ว่าจะถึงทางตันของธุรกิจร้านทำผม เพราะความสำเร็จของธุรกิจคือการปรับเปลี่ยน Business model ไปตามยุคสมัย

เมื่อธุรกิจเก่าแก่อย่างร้านทำผมมีคนทำกันเยอะ แต่คนรักศิลปะการทำผมที่หาความแตกต่างและเข้าไปเติมเต็มส่วนที่ยังว่างอยู่ของตลาดได้ ย่อมสามารถพบความสำเร็จบนพื้นที่ของตัวเองได้เช่นกัน

Blo Blow Dry Bar กับแนวคิด ‘ทำผมคุณภาพ Catwalk ในราคาเบาๆ’

Blo Blow Dry Bar เป็นธุรกิจร้านทำผมที่แตกต่างจากร้านทำผมอื่นๆ คือให้บริการเฉพาะ Wash and Dry เป้าหมายคือทำให้ผมสวยในชั่วโมงเร่งด่วน คุณภาพดีหรือ Cat walk quality และอยู่ทรงตลอดทั้งวันในราคาสบายๆ

การตัดฟังชั่นอื่นๆ ออกไปจากธุรกิจและโฟกัสที่ความเป็นมืออาชีพในเรื่องของการสระและเซ็ทผมสวย ทำให้ Blo Blow Dry Bar ได้รับการบอกต่อในเรื่องความชำนาญในด้านนี้เป็นหลัก ผู้หญิงทำงานที่เพียงต้องการทำผมเพียงอย่างเดียวจึงตัดสินใจไปร้านนี้ได้ไม่ยากหากนึกอยากจะทำผมสวยๆสำหรับออกงาน

นอกจากความชำนาญในเซ็ทผมแห้งแล้ว ทีมงานยังสามารถให้คำแนะนำในการดูแลรักษาและวิธีเก็บทรงผมเพื่อนำไปใช้ต่อในวันถัดๆไป กล่าวคือเป็นทั้งช่างและที่ปรึกษาให้ลูกค้าในเวลาเดียวกัน

กลุ่มลูกค้าของร้านมีตั้งแต่ผู้บริหารหญิง เลขา และ Professional ในสายอาชีพต่างๆ อาทิ ทนายความหญิง เป็นต้น

ลูกค้าบางคนใช้บริการร้านแบบวันเว้นวันก็มี

จุดเริ่มต้นของ Blo Blow Dry Bar

ayจริงๆ ร้านนี้ดำเนินกิจการโดยผู้ก่อตั้งเดิมตั้งแต่ปี 2007 โดยตั้งใจทำให้เป็นร้านทำผมแบบ Wash and Dry only โดยมี 3 สาขา

ต่อมาในปี 2008 นักธุรกิจนาม Ari Yakobson กำลังมองหาธุรกิจร้านทำผมที่จะเข้าไปลงทุนและได้มาผมกับร้านนี้เข้าซึ่งตอนแรกเขามองว่ามันไม่น่าจะทำเงินได้ดี แต่เมื่อดูบัญชีรายได้แล้วเขารู้สึกประหลาดใจกับยอดขายที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับความเรียบง่ายของธุรกิจ – เขาจึงคิดต่อว่าหากอัดเงินทุนลงไปสักหน่อยมันคงจะพัฒนาเป็นธุรกิจที่ Scale-up ได้ดี และตัดสินใจซื้อต่อกิจการมาจากเจ้าของเดิมในปีนั้นเอง

นางเอก ‘ไอออนแมน’ ร่วมลงทุน

ตัว Ari Yakobson ได้บริหารกิจการร่วมกับภรรยาเป็นเวลาหลายปีและขยายออกไปจาก 3 สาขาสู่ 50 สาขากระทั่งปี 2014 ดาราสาว Gwyneth Paltrow เจ้าของบทนางเอกภาพยนตร์ Iron Man สนใจและได้เข้ามาร่วมลงทุนกับธุรกิจนี้

ไม่เป็นที่เปิดเผยยอดเงินลงทุน รู้เพียงว่าการมาของ Gwyneth Paltrow ได้ยกระดับธุรกิจรอบด้าน โดยเฉพาะในด้าน แบรนด์ และ การตลาด

Gwyneth Paltrow นำความรู้และทรัพยากรด้านการตกแต่งภายในเข้ามาปรับโฉมร้าน และนำศาสตร์ Online marketing และ Branding เข้ามาเพื่อทำให้ร้านมีตัวตนบนโลกออนไลน์ขยายฐานแฟนคลับและยอดขายให้กว้างไกลออกไป

ในปี 2015-2016 บรรดาผู้ก่อตั้งจึงมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะเล็งขยายสาขาเพิ่มอีกประมาณ 15-20 สาขา

วิธีการขยายสาขาของ Blo Blow Dry Bar

เจ้าของ Blo Blow Dry Bar เชื่อว่า ‘ไม่มีใครแคร์ธุรกิจของคุณไปกว่าตัวเจ้าของ’ แทนที่จะขยายสาขาแล้วจ้างพนักงานมาดูแลตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา เขาเลือกที่จะผันธุรกิจเข้าระบบแฟรนไชน์

คนที่มาซื้อแฟรนไชน์มีสถานะเป็นเจ้าของ เจ้าของต้องเป็นคนที่หลงใหลการทำผม และที่สำคัญเจ้าของต้องอยู่บริหารและดูแลสาขาของตนเอง และนั่นคือสิ่งที่ทีมผู้ก่อตั้ง Blo เชื่อว่าจะเป็นวิธีขยายเครือข่ายของร้านที่ดีที่สุด

Ari Yakobson และผู้ก่อตั้งมีทัศนคติบางที่ตรงกันคือ พวกเขาไม่ต้องการขยายเครือข่ายแฟรนไชน์อย่างรวดเร็ว แต่ต้องการขยายทีละน้อยแต่มีคุณภาพ โดยคนคุณภาพที่อยากทำธุรกิจจริงๆ อาทิ ผู้บริหารมากประสบการณ์ที่พร้อมจะออกมาทำธุรกิจส่วนตัวเป็นต้น

Ari Yakobson บอกว่าเขาแทบไม่ต้องไปออก Event หรือลงโฆษณาอะไรเลย แต่ก็มีคนเก่งๆ เข้ามาติดต่อขอซื้อแฟรนไชน์อย่างต่อเนื่อง เหล่านี้มาจากปากต่อปากเป็นอันดับหนึ่ง

ddd

fb

Brand ที่แข็งแกร่งสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนและยากจะมีคู่แข่ง

ตอนที่ Ari Yakobson เข้าซื้อกิจการใหม่ๆ ตลาดก็เต็มไปด้วยคำพูดแง่ลบว่ากิจการร้านทำผมกำลังจะหมดอนาคต เติบโตลำบาก ฯลฯ แต่กาลเวลาพิสูจน์ว่าไม่เสมอไป โดยเฉพาะคนที่ปรับตัวและสามารถให้ช่องว่างของตลาดเข้าไปเติมเต็ม  

และแน่นอน… เมื่อธุรกิจได้รับความนิยมก็จะมีคนก็อปปี้โมเดลธุรกิจไปทำตาม แต่กลยุทธ์ที่เจ้าของ Blo Blow Dry Bar ได้วางไว้นั้นก็ถือว่าล้อมกรอบหน้าใหม่เข้ามาได้พอสมควร ไม่ว่าจะเป็น Branding ที่แข็งแกร่งโดยได้แม่เหล็กอย่าง Gwyneth Paltrow มาเป็นเจ้าของร่วมและเป็น Brand ambassador ให้

รวมไปถึงระบบแฟรนไชน์ที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายพันธมิตรกระจายตัวตามมุมเมืองต่างๆ ใครที่คิดจะเข้ามาทำธุรกิจนี้ก็ต้องเหนื่อยและเสี่ยงมาก นอกเสียจากว่าจะหันมาจับมือและซื้อแฟรนไชน์ไปร่วมพัฒนากันจะดีกว่า!

[hr]