10 วิธีเขียนบทความอย่างเป็นระบบ

writing-2การเขียนบทความถ้าไม่คิดอะไรมากคุณก็เขียนไปเรื่อยๆ เขียนตามอารมณ์แบบไดอารี่ก็ไม่เสียหาย เพราะ Blog มีจุดเริ่มต้นมาจากบันทึกชีวิตส่วนตัวหรือ Personal Journal แต่หากจะพัฒนามาสู่ความเป็น Professional Blog การเขียนบทความจำเป็นต้องมีรูปแบบ การจัดวางโครงสร้างและองค์ประกอบของ Blog ให้เป็นระบบ มีระเบียบ ดึงดูด ชวนให้อยู่ต่อ และ Search Engine Friendly ผมมี 10 วิธีเขียนบทความอย่างเป็นระบบ โดยเว็บไซต์ Water My Blog อธิบายไว้ภายใต้ชื่อหัวข้อ Tips for 10 Types of Blog Posts เป็นภาษาอังกฤษน่าสนใจมาก บางอย่างเรารู้แล้ว บางอย่างเรายังไม่รู้ ก็นำมาบรรจุไว้เป็นสรุปแบบกระชับฉับไวเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กันได้ทันที

1. The List

เป็นรูปแบบการเขียนบทความที่นิยมมากในหมู่ Blogger อาชีพที่ Blog เกี่ยวกับ Niche ในสาขาต่างๆของตนเอง การเขียนบทความแบบ Listing จะเป็นการสร้างหัวข้อนำเนื้อหาและไล่ลำดับความเข้มข้นของกระบวนการในแต่ละข้อให้ผู้อ่านติดตามอย่างใจจดใจจ่อจากข้อแรกถึงข้อสุดท้าย เช่น…

10 คำถามสัมภาษณ์งานสุดโหดและวิธีตอบอย่างชาญฉลาด
5 วิธีลดน้ำหนักปลอดภัยไม่ต้องพึ่งยา
4 วิธีทำเงินออนไลน์ต้นทุนต่ำผลตอบแทนสูงด้วย Blog
3 แหล่งสถานที่ท่องเที่ยวห้ามพลาดเมื่อไปถึงฮ่องกง

แล้วคุณก็ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่คุณมีนั้นไล่เรียงเป็นข้อๆไป ซึ่งผู้อ่านจะได้ประโยชน์อย่างเป็นระบบระเบียบ และชื่อของบทความยังมีความเป็น Search engine friendly อีกด้วย กล่าวคือคนที่มีปัญหาเรื่องความอ้วนก็มีแนวโน้มที่จะคีย์หาคำว่า วิธีลดน้ำหนัก+แบบไม่ต้องใช้ยา เป็นต้น

2. In the News

เป็นรูปแบบการเขียนบทความแบบเกาะติดสถานการณ์และข่าวสาร โดยเฉพาะ Blog ด้านเทคโนโลยี การเงินการลงทุน สุขภาพและความงาม ฯลฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและคนอ่านมักต้องการความทันต่อเหตุการณ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ ตัว Blogger ใน Niche นั้นๆต้องทันเหตุการณ์และไว เมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องกรองให้ดีว่าชัวร์หรือมั่วนิ่มป้องกันหน้าแตก หากคอนเฟิร์มว่าอัพเดทของแวดวงถูกต้องก็ทำบทความเจาะลึกติดกระแสมาโชว์แฟนๆให้ traffic ระเบิดกันไปเลย ความไว ทันเหตุการณ์และวิเคราะห์ข่าวเป็นช่วยให้คุณเป็น Blogger ที่มีความเป็นมืออาชีพ

3. Getting Personal

อันนี้ไม่ได้หมายถึงเขียนเรื่องส่วนตัวไร้สาระวันนี้ฉันกินข้าวที่ไหน ใส่ชุดสีอะไร ขับรถปาดหน้าใครมา แต่หมายถึงการแชร์ประสบการณ์ทำงานใน Niche นั้นๆของตน เล่าถึงที่มาที่ไป จุดกำเนิดแนวคิด การลงมือทำและเล่าถึงอุปสรรคและความยากลำบากต่างๆที่เจอะเจอจนกระทั่งฝ่ามันมาได้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกว่าคุณเป็นผู้มีประสบการณ์จริงจังและเป็นกันเองสัมผัสเข้าถึงได้ราวกับนั่งคุนอยู่ตรงหน้า การเปิดโอกาสให้แฟน Blog เข้าถึงได้ในระดับหนึ่งจะทำให้เขารู้สึกว่าคุณมีตัวตนและ Blog คุณมีชีวิตชีวา ไม่ใช่หน้าจอไซเบอร์ที่แห้งแล้ง

4. How To

อีกรูปแบบการเขียนบทความที่นิยมไม่แพ้ข้อแรกเพราะบทความ How to คือโอเอซิสในทะเลทราย คนที่ประสบปัญหาบางอย่างกำลังควานหาความช่วยเหลือไปทั่วอินเตอร์เน็ตและหาก How to ของคุณตรงกับปัญหาของเขาและช่วยเขาได้ คนเหล่านั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็น Royalty fan ของคุณได้และมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าและบริการจาก Blog คุณในอนาคต (ถ้ามี)

บทความแบบ How to เป็นการกลั่นกรองความรู้เฉพาะทางในตัวคุณมาเรียบเรียงเป็นใจความเพื่ออธิบายถึงปัญหาและวิธีแก้ปัญหาหรือวิธีจัดการสิ่งนั้นๆให้สำเร็จได้ด้วยตัว (ของผู้อ่าน) เอง อย่างตอนที่ผมมีปัญหาเรื่องการ motivate ตัวเอง พอเจอ blog ของคนที่ให้คำแนะนำโดนใจผมก็ bookmark ไว้ตามด้วยการอ่านเรื่องอื่นๆและภายหลังก็ได้สั่งซื้อ eBook กับคนนั้นมาถึงสองเล่มเป็นต้น

5. Review

เป็นการวิเคราะห์ วิพากษ์ นำเสนอแนวคิดของเราที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นในขณะนั้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจดำเนินการขั้นต่อไปของผู้ที่สนใจสิ่งๆเดียวกันกับที่เรานำมา Review การเขียนบทความลักษณะนี้นิยมในหมู่ Blogger ที่ทำ Affiliated Marketing เพราะจะต้องนำสินค้าและบริการของผู้อื่นมาขาย จึงต้องทำบทความ Review กันมากมายและเป็นกิจจะลักษณะกันเลยทีเดียว เพื่อที่จะประชาสัมพันธ์และโน้มน้าวให้คนมากซื้อ ซึ่งหากคุณเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการเองคุณก็สามารถทำบทความ Review นี้ได้ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

6. Q & A

บทความประเภทถามและตอบ เป็นแนวที่เห็นไม่บ่อยแต่เป็นแนวที่น่าสนใจ โดยการอาศัยไปสัมภาษณ์กับบุคคลสำคัญ คนในประเด็น หรือคนใน Niche ใดๆที่ประสบความสำเร็จ การถามตอบในหัวข้อที่เหมาะสมจะดึงดูดผู้อ่านได้มาก เพราะคนส่วนมากล้วนอยากเรียนรู้แนวทางความสำเร็จจากผู้อื่นซึ่งบทความแนว Q & A ตอบโจทย์ประเด็นนี้ได้ดี ในทางกลับกัน ถ้าคุณจะทำ Q & A ของตัวเองก็ได้หรือโดยเอาประเด็นที่ได้ยินหรือถูกถามบ่อยมาจัดทำบทความถามและตอบขึ้นมาแบบม้วนเดียวจบก็ไม่ผิดกติกาเช่นกัน

7. Video

บทความที่เป็น Video Clip เล่าด้วยภาพ เป็นแนวที่คนไทยทำน้อย อาจจะด้วยทำยาก แต่ถ้าทำได้และตั้งใจทำมันจะทำให้ Blog คุณมีความเป็น professional ขั้นเทพ Blogger อาชีพแทบทุกคนในอเมริกาล้วนต้องมีบทความ Video Clip ใน Blog ด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพากลุ่มบทความประเภท Training ต่างๆ ซึ่งการหยิบยกประเด็นสำคัญที่มีเนื้อหาเข้มข้นมานำเสนอเป็น Video Clip ภาพรายละเอียดสูงทำให้เกิดความประทับใจและ Royalty ของแฟนคลับ

8. Trending และ 9. About us

สองข้อนี้เจ้าของบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษเขียนไว้สั้นๆ และผมมองว่ามันคล้ายกับแนว In the News และ Q&A ตามลำดับ ผมจึงไม่ขอกล่าวถึงและให้นำไปประยุกต์กันตามอัตภาพ

10. Follow up

ประเภทสุดท้ายและเป็นแนวที่ผมชอบ เพราะมันสร้างกระแสการติดตามได้ดี บทความประเภท Follow เป็นการผูกเนื้อหาให้ยาวแล้วนำมาซอยเป็นตอนๆ แต่ละตอนจะพัฒนาความเข้มข้นของกระบวนทำงานตามลำดับ หากทำให้ดี ทำให้น่าสนใจ ผู้อ่านจะติดตาม แต่ข้อเสียคือคุณอาจเบื่อเสียเองและไม่เขียนภาคต่อให้ต่อเนื่องพอ หรือทิ้งช่วงนานเกินไปจนผู้อ่านขาดจากกระแส ฉะนั้นวางแผนให้ดี เขียนเตรียมไว้ให้จบจะดีกว่าแล้วค่อยทยอยจัดตารางการเผยแพร่ บทความประเภท Follow up ยังเป็นเทคนิคการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการตัวใหม่ของคุณด้วย เป็นการเกริ่นนำ อัพเดทกระบวนการ และ launch นำเสนอขายในตอนจบ สร้างความคุ้นเคยตลอดเส้นทาง

ทั้งหมดนี้เป็น 10 วิธีเขียนบทความอย่างเป็นระบบ  ซึ่งประเภทที่ผมชอบมากที่สุดคือ The List, Getting Personal, How to และ Follow up แล้วคุณล่ะชอบอันไหนใน 10 วิธีนี้