งานวิจัยเผย วิกฤตคน Gen Z เสพโซเชียลฯ จนป่วย โรคซึมเศร้าพุ่ง ฆ่าตัวตายเพิ่ม 76%

Centers for Disease Control and Prevention หรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา พบตัวเลขอาการ ‘ป่วยทางจิตใจ’ และ ‘การฆ่าตัวตาย’ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มคน Gen Z หรือผู้เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1995 – 2015 หรือ เทียบอายุจะอยู่ระหว่าง 4 – 24 ปี โดยกลุ่มผู้ป่วยเผยว่าพวกเขาเสพติดโซเชียลมีเดียอย่างหนัก

Centers for Disease Control and Prevention สรุปตัวเลขในภาพรวมดังต่อไปนี้ :

  • อัตราการฆ่าตัวตายของบุคคลอายุระหว่าง 10 – 24 ปี ในปี 2017 เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับปี 2007
  • อัตราการฆ่าตัวตายของบุคคลอายุระหว่าง 15 – 19 ปี ในปี 2017 เพิ่มขึ้น 76% เมื่อเทียบกับปี 2007
  • ปี 2007 – 2013 อัตราการฆ่าตัวของวัยรุ่น เติบโต 3% ต่อปี
  • ปี 2013 – 2017 อัตราการฆ่าตัวของวัยรุ่น เติบโต 7% ต่อปี
รูปภาพจาก Business Insider (URL : https://www.businessinsider.com/cdc-teenage-gen-z-american-suicide-epidemic)

Pew Research Center ทำการศึกษาและพบว่า โซเชียลมีเดีย เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กและวัยรุ่นเติบโตมาพร้อมกับความป่วยทางจิตใจ ได้แก่ ความเหงา โดดเดี่ยวอ้างว้าง วิตกกังวล ฯลฯ และพัฒนาไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด

โดยในปี 2007 พบว่าวัยรุ่นที่ยอมรับว่ามีประสบการณ์ของโรคซึมเศร้ามีประมาณ 8% ในขณะที่ปี 2017 ตัวเลขโตขึ้นมาเป็น 13% วัยรุ่นเหล่านี้ยังเสี่ยงต่อการ ดื่มสุรา เสพติดยา และฆ่าตัวตาย

วัยรุ่น Gen Z กลุ่มตัวอย่างยังเผยต่อผู้เกี่ยวข้องอีกว่า สมาร์ทโฟน และ โซเชียลมีเดีย คือหนึ่งในสิ่งแรกที่พวกเขาจำความได้ หรือ เรียกว่าเกิดมาก็รู้จักโซเชียลมีเดียก่อนสิ่งใด ทำให้พวกเขาเข้าไม่ถึงกิจกรรมดั้งเดิม อาทิ การไปเที่ยว การพบเจอเพื่อน ๆ ในชีวิตจริง รวมไปถึงการอ่านหนังสือเล่ม และพัฒนาไปสู่ ความโดดเดี่ยว อ้างว้าง ไม่มั่นใจในตัวเอง และซึมเศร้าในที่สุด



======

Appendix :

https ://www.businessinsider.com/cdc-teenage-gen-z-american-suicide-epidemic

https ://www.cdc.gov/nchs/data/databriefs/db352-h.pdf

https ://www.pewresearch.org/fact-tank/2019/07/12/a-growing-number-of-american-teenagers-particularly-girls-are-facing-depression/