ส่อง 11 ประเทศ แก้ปัญหาระยะยาวด้านมลพิษอากาศในเมืองใหญ่อย่างไร

ปัญหามลพิษอาการในประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครฯ เข้าสู่ระดับวิกฤตอีกครั้งเมื่อระดับฝุ่นละอองแตะระดับ PM 2.5 ซึ่งเป็นระดับอันตรายมากและอาจส่งผลถึงชีวิต

ปัญหามลพิษในอากาศมีสาเหตุสำคัญจาก อุตสาหกรรมโรงงาน และ ยานพานะ รองลงมา คือ สิ่งมีชีวิต อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมไฟฟ้า โดย Oxford รายงานว่าในยุโรปมีคนเสียชีวิตถึง 10,000 คนต่อปีจากการสูดอากาศเป็นพิษเหล่านี้เข้าไป

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก หมอแล็บแพนด้า

กล่าวคือ ปัญหามลพิษ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและบางประเทศรุนแรงกว่าในไทย ซึ่งผู้นำแต่ละประเทศกำลังเร่งแก้ปัญหากันอย่างจริงจังและต่อไปนี้ คือ แนวทางแก้ปัญหามลพิษในระยะยาวจาก 11 ประเทศ

1. Madrid – Spain ห้าม รถยนต์เก่าวิ่งบนถนน

 

แก้ปัญหาโดยการออกกฏหมายห้ามรถยนต์ที่ใช้แกสที่ผลิตก่อนปี ค.ศ. 2000 และรถยนต์ดีเซลที่ผลิตก่อนปี ค.ศ. 2006 นำมาวิ่งบนถนนในบางพื้นที่ที่ถูกกำหนด โดยพื้นที่ต้องห้ามเหล่านี้อาจมีการขยายเขตต้องห้ามออกไปเรื่อย ๆ ผลจากการบังคับใช้กฏหมายในช่วงแรกส่งผลให้รถยนต์หายไปจากพื้นที่ที่เคยมีการจราจรหนาแน่นทันทีถึง 70%

2. Paris – France ออกคำสั่ง ‘วันปลอดรถยนต์

 

Anne Hidalgo นายกเทศมนตรี ออกกฏหมายห้ามรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี ค.ศ. 1997 ออกวิ่งในพื้นที่ที่กำหนด และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็น วันปลอดรถยนต์ ห้ามรถยนต์วิ่งในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวง นอกจากนั้นยังวางแผนที่จะพัฒนาให้ Paris กลายเป็นเมืองรถยนต์ไฟฟ้า

3. New York – USA ห้าม รถยนต์วิ่งใน Central Park

 

หลังจากประสบความสำเร็จในการสร้าง ทางจักรยาน ในย่าน Times Square, Herald Square, และ Madison Square Park คราวนี้ก็ถึงคราวของ Central Park แห่งเมือง New York ซึ่งสถานที่นี้มีคนหมุนเวียนจำนวน 42 ล้านคนต่อปี และเตรียมจะขยาย ทางจักรยาน เพิ่มอีกหลายจุดในอนาคต

4. Oslo – Norway แบนรถยนต์ทั้งหมด ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงภายในปี ค.ศ. 2020

 

นายกเทศมนตรีของ Oslo เมืองหลวงแห่งประเทศนอร์เวย์เริ่มจำกัดจำนวนรถยนต์เชื้อเพลิงลงทีละน้อย และตั้งเป้าว่าภายในปี ค.ศ. 2020 จะต้องไม่มีรถยนต์เชื้อเพลิงวิ่งในเขตใจกลางเมืองหลวง พร้อมตั้งเป้าว่าเมืองหลวงจะต้องปลอดมลพิษ หรือ Carbon-Neutral Zone ภายในปี ค.ศ. 2030 

5. London – UK เก็บเงิน ค่าขับรถยนต์เข้าเขตชุมชน

 

ลอนดอน เมืองหลวงของประเทศอังกฤษกำหนดพื้นที่ อภิสิทธิ์สำหรับจักรยาน กว่าครึ่งของตัวเมือง พร้อมเก็บค่าผ่านทางสำหรับคนที่พยายามขับรถยนต์เข้ามาในเขตดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึง รถยนต์ส่วนบุคคล และรถบริการสาธารณะ ส่งผลให้ปริมาณรถยนต์ในเขตชุมชนของลอนดอนลดลงถึง 30%

6. Copenhagen – Denmark ห้ามประกอบกิจการจำหน่ายรถยนต์เชื้อเพลิง !! 

 

Copenhagen ประสบความสำเร็จในการเป็นหนึ่งในเมืองที่อากาศบริสุทธิ์ที่สุดในยุโรป ด้วยความเอาจริงของผู้นำและความร่วมมือของประชาชน — ประเทศเดนมาร์กเตรียมสั่งห้ามการประกอบการจำหน่ายรถยนต์เชื้อเพลิง และจะปฏิรูปประเทศสู่รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2035 และสนับสนุนทางสำหรับจักรยาน โดยปัจจุบัน ประชากรเมืองหลวงกว่าครึ่งเดินทางด้วย จักรยาน!

7. Brussels – Belgium ให้ใช้ระบบขนส่งมวลชนของรัฐ ฟรี!

 

Brussels กำหนดค่าปรับจำนวน 400 เหรียญฯ สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์เชื้อเพลิงเข้ามาในเขตต้องห้าม และติดตั้งกล้องวงจรปิดรอบพื้นที่เพื่อดักจับคนฝ่าฝืน นอกจากนั้นยังมีนโยบายให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนของรัฐ อาทิ รถใต้ดิน และ รถประจำทาง ฟรี ในวันที่อัตรามลพิษในอากาศพุ่งสูง นอกจากนั้น Brussel เป็นอีกเมืองที่เตรียมห้ามใช้รถยนต์ดีเซลทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030

8. Rome และ Milan – Italy ห้าม วิ่งรถยนต์ดีเซลภายในปี ค.ศ. 2024 และ 2030

 

มลพิษของเมืองใหญ่ในอิตาลีนับว่าอยู่ในระดับวิกฤตและทางการพบว่าอากาศที่เป็นพิษอาจส่งผลต่อการสึกหรอของโบราณสถานเก่าแก่ของกรุงโรมอีกด้วย ทั้ง 2 เมืองนี้มีการออกกฏหมายห้ามวิ่งรถยนต์ในพื้นที่และวันเวลาที่กำหนด โดย Rome มีแผนที่จะห้ามรถยนต์ดีเซลทั้งหมดวิ่งในเมืองภายในปี 2024 และ Milan ภายในปี 2030

9.Athens – Greece ห้าม รถยนต์ดีเซลวิ่งในเมืองภายในปี ค.ศ. 2025

 

ทางการ Athens เริ่มออกกฏบังคับรถยนต์ดีเซลป้ายทะเบียนลงท้ายด้วยเลขคู่ห้ามออกวิ่งในวันคู่ และเลขคี่ห้ามออกวิ่งในวันคี่ ตามมาด้วยแผนห้ามรถยนต์ดีเซลทั้งหมดวิ่งในเขตชุมชนของเมืองหลวงภายในปี 2025

10 Frankfurt และ Berlin – Germany ถูกศาลสั่ง แบนรถยนต์ดีเซล 60,000 และ 200,000 คัน ภายใน 1 ปี!!

 

ศาลสหรัฐฯ มีคำสั่งเมื่อเดือน กันยายน 2018 ให้เยอรมันทำการแบนรถยนต์ดีเซลรุ่นเก่าจำนวน 60,000 คัน ตามติดมาด้วยกรุง Berlin ถูกสั่งให้แบนรถยนต์ดีเซลกว่า 200,000 คันภายใน 1 ปีหลังได้รับคำสั่ง และนับเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่ถูก สหภาพยุโรป ส่งขึ้นศาลในข้อหาสร้างมลพิษสูงเกินไป

11. Amsterdam – Netherlands เมืองปลอดรถยนต์ เชื้อเพลิงภายในปี ค.ศ. 2030

Netherlands เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประสบความสำเร็จในการรณรงค์ให้คนใช้จักรยาน โดยตั้งเป้าว่าจะให้เมืองใหญ่ปลอดรถยนต์เชื้อเพลิงภายในปี ค.ศ. 2030 อีกทั้งทุ่มงบประมาณอีกกว่า 397 ล้านเหรียญ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แก่การคมนาคมด้วยจักรยาน

แผนการแก้ปัญหาในประเทศอื่น ๆ

ข้อมูลจาก เว็บไซต์ The Standard

——–

Source: https://www.businessinsider.com/cities-going-car-free-ban-2018-12