กรณีศึกษา ช่อง Preston ทำเงินมากกว่า 400 ล้านบาทต่อปี จากการเล่นเกมส์ Minecraft ให้คนดูบน Youtube

หนึ่งในแนวทางทำวีดีโอที่เป็นที่นิยมบน ยูทูป (Youtube) คือ วีดีโอแนว ‘เกมส์คาสต์ติ้ง’ (Game casting) โดยเจ้าของวีดีโอจะมานั่งเล่นและพากย์เกมส์ให้ดู สาเหตุที่นิยมเพราะ ข้อแรก เติมเต็มความฝัน ที่จะได้เล่นเกมส์ทั้งวันทั้งคืน (และมีรายได้ไปพร้อมกัน) และ ข้อสอง เป็นประเภทวีดีโอที่มีโอกาสได้รับ Watch time หรือ ระยะเวลาในการดูนาน อันส่งผลสูงสุดต่อการทำเงินบนยูทูป เพราะวิธีสร้างรายได้จำนวนมากบนยูทูป ต้องประกอบด้วย จำนวนผู้ติดตาม + ยอดวิว + วอท์ชไทม์ นั่นเอง

อย่างไรก็ดี เมื่อแนว เกมส์คาสต์ติ้ง เป็นที่นิยมและทำเงินได้มาก ย่อมตามมาด้วยคู่แข่งจำนวนมาก และค่าเฉลี่ยของคนสำเร็จก็ลดน้อยลงตามลำดับ และวันนี้มี กรณีของช่อง เกมส์คาสต์ติ้ง ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็น ยูทูปเบอร์ อันดับ 6 ของโลก มีรายได้ 14 ล้านดอลลาร์ หรือ 420 ล้านบาท ในปี 2019 ที่ผ่านมา เขาทำได้อย่างไร CEOblog จะเล่าให้ฟัง



ประวัติโดยสังเขป

เจ้าของช่อง Preston มีชื่อเต็มว่า Preston Arsement (เพรสตัน อาร์สเมนต์) เกิดปี 1994 และเริ่มทำช่องยูทูปในปี 2009 หรือ ตอนเขามีอายุได้ 15 ปีเท่านั้น

เพรสตัน อาร์สเมนต์ ก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไป คือ เปิดช่องยูทูปเพื่อบันทึกตัวเองเล่นวีดีโอเกมส์เพื่อความสนุกโดยไม่ได้คิดที่จะทำเป็นธุรกิจแต่อย่างใด เมื่อทำด้วยความสนุกและเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง (คือการเล่นเกมส์) เนื้อหาจึงออกมาเป็นธรรมชาติ สร้างสรรค์ และบันเทิง ก่อให้เกิดฐานผู้ติดตามเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ ยูทูป เปิดโอกาสให้เขาสร้างรายได้จาก ‘ระบบโฆษณาอัตโนมัติ’ Google display ad network หรือ GDN หรือในแวดวงยูทูปเรียกว่า ยูทูปแอดเซนส์ (Youtube Adsense)

แนวคิดการทำยูทูปของ Preston

ในปี 2011 หรือ อีกสองปีต่อมา นักพัฒนาเกมส์ ชาวสวีเดน นามว่า มาร์คัส เพอร์สัน (Markus Persson) ได้พัฒนาเกมส์ที่มีชื่อ ไมน์คราฟต์ (Minecraft) ซึ่งถูกซื้อโดย บริษัท ไมโคซอฟต์ ในปี 2014

 

เกมส์ ไมน์คราฟต์ ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่วัยรุ่นรวมถึงตัว เพรสตัน อาร์สเมนต์ เองก็หลงใหลเกมส์นี้อย่างงอมแงมจนเขาอุทิศพื้นที่ให้กับช่อง Preston เพื่อเล่นเกมส์ ไมน์คราฟต์ เป็นเนื้อหาหลัก ส่งผลให้ช่องของเขากลายเป็นช่อง ไมน์คราฟต์ โดยปริยาย

ความชัดเจน ส่งผลต่อการเติบโตของช่อง

ยูทูปเบอร์บางคนอาจทำช่องสารพัดประเภทเนื้อหาจน ให้ขาดแนวทางทาง ที่ชัดเจน ส่งผลให้กลุ่มผู้ชมกระจัดกระจาย ในขณะที่ช่อง Preston จับนิช ไมน์คราฟต์ อย่างเข้มข้น จึงดึงดูดกลุ่มหมายที่หลงใหลการนั่งดูการคาสต์เกมส์ ไมน์คราฟต์ โดยเฉพาะ หลั่งไหลมาที่ช่อง Preston จำนวนมากโดย ณ เดือน ธันวาคม 2019 เขามีผู้ติดตามสูงถึง 11 ล้าน Subscribers

เมื่อช่องเริ่มเติบโตและมีรายได้จำนวนมากจากทั้ง ระบบโฆษณาของกูเกิ้ล และ จากสปอนเซอร์ เพรสตัน อาร์สเมนต์ จึงตัดสินใจดรอปเรียน และพัฒนาอาชีพ ยูทูปเบอร์ ให้เป็นธุรกิจจริงจัง ในปี 2013 โดยตอนนั้นเขามีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น

เพรสตัน อาร์สเมนต์ และทัศนคติทะลุขีดจำกัดของ ยูทูปเบอร์

ขีดจำกัดของ ยูทูปเบอร์ โดยทั่วไป คือ การวางบทบาทตัวเองเป็น แบรนด์บุคคล หรือ Personal brand ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเองตั้งแต่ ออกแบบ ถ่ายทำ ตัดต่อ ทำคลิป และคิดว่า วันนี้ พรุ่งนี้ และ มะรืนนี้ “ฉันจะทำคลิปอะไรดี” และในที่สุดก็เกิดอาการ ‘เบิร์นเอาต์’ หรือ เหนื่อยจนหมดไฟ และเลิกทำไปในที่สุด

แต่ เพรสตัน อาร์สเมนต์ มีทัศนคติที่ทะลุขีดจำกัดนี้ไป โดยเขามองตัวเองเป็น ‘Media business’ หรือ ผู้ประกอบการสื่อ ซึ่งอาจเปรียบกับ บริษัท Workpoint ของ คุณปัญญา นิรันดร์กุล โดยตัว คุณปัญญา เองเป็นผู้ดำเนินรายการอยู่เบื้องหน้า แต่งานเบื้องหลังมีทีมงานดูแลทั้งหมด รวมไปถึงการ ขยายรายการใหม่ ๆ โดยการให้คนอื่นมาดำเนินรายการแทนตัวแกทั้งหมด

เพรสตัน อาร์สเมนต์ ดำเนินรายการบนยูทูปบนหลักคิดเดียวกับ Workpoint — กล่าวคือ เขามองตัวเองเป็น Media business หรือ ผู้ประกอบการสื่อ มีการว่าจ้างทีมงานมาดูแลส่วนต่าง ๆ และใช้ ยูทูป เป็นช่องทางการเผยแพร่สื่อ (แทนโทรทัศน์ในอดีต)

ทัศนคติและการทำงานแบบนี้ส่งผลให้ เพรสตัน เติบโตอย่างรวดเร็วและสามารถผลิตช่องยูทูปใหม่ ๆ ออกมาได้ถึง 6 ช่อง! และมี Host หรือ ผู้ดำเนินรายการหลัก ถึง 4 คน แยกไปทำงานในช่องต่าง ๆ ในเครือ

เมื่อมีทีมงานเช่นนี้ เพรสตัน จึงไม่ประสบปัญหา หมดไอเดีย และ ไม่เบิร์นเอาต์ ในจากการทำงานคนเดียวนั่นเอง

สร้างโลก ไมน์คราฟต์ ของตัวเองขึ้นมาใหม่

คุณสมบัติพิเศษของเกมส์ ไมน์คราฟต์ คือ ผู้เล่นสามารถสร้างโลก ไมน์คราฟต์ ขึ้นมาใหม่ในระบบเซิร์ฟเวอร์ของเขา ด้วยเหตุนี้ เพรสตัน ได้สร้างทีมนักออกแบบและพัฒนา เพื่อสร้างโลกไมน์คราฟต์ ภายใต้แบรนด์ เพรสตัน ซึงจะหาดูได้ที่ช่องในเครือของเขาเท่านั้น ทำให้กลายเป็นอีกหนึ่ง ปัจจัย สำคัญที่ทำให้ช่องมีความแตกต่างจากช่อง คาสต์เกมส์ อื่น ๆ

โมเดลรายได้ของ Preston

เพรสตัน อาร์สเมนต์ ไม่ได้อาศัยรายได้จาก ระบบโฆษณากูเกิ้ลแอดเซนส์ และ สปอนเซอร์ เป็นหลัก แต่มีการพัฒนาสินค้าของตัวเองขึ้นมาและมีการขายผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ได้แก่

ร้าน PrestonsStylez ขายเสื้อผ้าและของใช้แบรนด์ Preston ใช้ระบบอีคอมเมิร์ซของ Shopify ในการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์

ร้าน RoyallyB เป็นแบรนด์ของผู้ดำเนินรายการในเครือ Preston ชื่อว่า Brianna เน้นขายเสื้อเป็นหลัก ใช้ระบบอีคอมเมิร์ซของ Shopify ในการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์

ร้าน PrestonPlayz on Amazon เป็นร้านค้าออนไลน์บนเว็บไซต์ แอมาซอน

โดย เพรสตัน อาร์สเมนต์ ใช้ ยูทูป เป็นสื่อการตลาดในการประชาสัมพันธ์สินค้า และเมื่อรวมรายได้ทุกช่องทางส่งผลให้เขาสร้างรายได้ 14 ล้านดอลลาร์ ในปี 2019 และก้าวขึ้นเป็น ยูทูปเบอร์ ทำเงินอันดับ 6 ของโลก

สรุป สถิติช่องยูทูปในเครือ Preston ณ เดือน ธันวาคม 2019

ช่อง Preston จำนวนผู้ติดตาม 11 ล้านคน

ช่อง PrestonPlayz จำนวนผู้ติดตาม 3.44 ล้านคน

ช่อง PrestonMobile จำนวนผู้ติดตาม 1.98 ล้านคน

ช่อง TBNR Frags จำนวนผู้ติดตาม 5.2 ล้านคน

ช่อง Brianna จำนวนผู้ติดตาม 2.07 ล้านคน

ช่อง KeyleyPlayz จำนวนผู้ติดตาม 250,000 คน

ช่อง PrestonCosmic จำนวนผู้ติดตาม 187,000 คน

———-

แจกฟรี จำนวนจำกัด! อีบุ๊ค Youtube Influencers จัดเต็ม เนื้อ ๆ เน้น ๆ 10 กรณีศึกษาและเคล็ดลับ จาก 10 ยูทูบเบอร์ต่างประเทศ ที่ทำให้พวกเขามีรายได้ ‘เดือนละหลักล้านบาท’ จากยูทูบ ให้คุณไปอ่านแบบรวดเดียวจบ!

คลิกที่นี่ เพื่อรับอีบุ๊คทาง Facebook Inbox ของคุณทันที

———-



ข้อมูลอ้างอิง

https:// www.businessinsider.com/youtube-creator-preston-arsement-business-and-revenue-streams-2019-8

https:// www.forbes.com/sites/maddieberg/2019/12/18/the-highest-paid-youtube-stars-of-2019-the-kids-are-killing-it/#5a4d4e2b38cd

https:// youtube.fandom.com/wiki/Preston

https:// en.wikipedia.org/wiki/Minecraft